Month: July 2020

How startups are braving the Covid-19 pandemic

Posted on by admin_beacon_2024

In the time of Covid-19, not all startups were created equal. We have seen some startup founders going through some of their worst nightmares, while some others are having the time of their lives. In this article, based on our experience, we want to examine the impact of Covid-19 to the startup community and paint pictures of how these startups are reacting to the situation.

Adapted from Roland Berger’s Covid Impact Matrix, 2020

One way to assess the impact of COVID-19 to startups is through examining the pandemic’s effect on short term liquidity of startups, and the long term profitability (which correlates with the market size of that particular startup’s playing field). This model is adapted from Roland Berger’s Covid Impact Matrix. We then try to map the technology industry by sector into four startup groups: Shining star, Trapped Tiger, Slow Sore, and Panicking Patient, with a definition of long-term as five years.

Model adapted from Roland Berger, analysis by Beacon VC

Shining Star: This group is marked by its strong growth potential in both the short term and long term. Startups in this space are characterized by the ability to create and capture value completely online and ease and/or urgency of adoption. Covid-19 has driven real demand for solutions in this space, accelerated adoption, and trained consumers to be accustomed to using these virtual solutions. The startups that are included in this group are Healthtech, eCommerce, Online Enterprise Productivity Tools (such as ERP and Software-as-a-Service, or SaaS which can cover anything from accounting, CRM, to property management) Online Media & Entertainment, Insurtech, and e-Payment. Unlike other groups, they have the luxury to focus on perfecting, not fixing, their businesses, and riding the wave during the time of Covid-19.

Boost marketing spend to acquire new users: Responding to the growing demand pie in these industries, many startups were seen to have increased marketing spending to obtain new users. We have witnessed different eCommerce giving out very attractive first-time user incentives. This move is endorsed by many researchers suggesting that increasing marketing spend – instead of decreasing, is a dominant strategy in times of economic uncertainty, if the company can afford it.

Nocnoc user acquisition: first-timer discount

Invest to develop new offerings: As lockdown forces the mass from Gen Alpha to Baby Boomers to migrate to online platforms (many wouldn’t have migrated otherwise), several Shining Stars have spotted new business opportunities or new potential use cases for their products that they can capitalize or build loyalty upon. For these startups, they have the privilege to innovate on new offerings without having to worry so much about cash flow. Houseparty, a much loved social networking app that enables group video chatting, for instance, launched a new feature that allows friends to ‘co-watch live events with their friends’ (from sport events to comedy shows).

Integrate new payment mediums to support digital payment of the non-cardholder:  Online payments have traditionally been done through credit card, and a good portion of the now digitally adapted population has no access to them. According to the Thailand payment research by JP Morgan in 2019, Thailand’s credit card per capita is as low as 0.29, and debit card per capita is 0.77. As the Thai population migrated online, startups who have the time and resources are now exploring ways to integrate new online payment methods to facilitate payment from non-credit cardholders (usually students and non-urban population). The alternative payment channel includes payment through mobile operators (credited to monthly billing), cash cards, integration with mobile banking apps, and e-wallets.

Although the Shining Stars are thriving in this new market condition, many have reported difficulties in fundraising. This is because Covid-19 has made networking with investors difficult and many investors are very preoccupied with supporting their own portfolio companies.


Trapped Tiger: This group is poised to ride the wave of the longer-term market growth but currently trapped by short-term illiquidity and/or temporary sales slump. This is because the startups in this space offer complementary value products or services whose values are created offline (such as mobility or B2B logistics), or the demand for their products or services is highly elastic (such as wealthtech). Their main agenda is to outlive the Covid pandemic and prepare themselves for the upcoming bullish market.

Freeze or reduce expenses: As revenue halts, their net burn rate accelerates. Founders are faced with a tough trade-off between how far they want to cut costs (or resources) to keep burn rate under control, and how much resources to preserve so that they can get back on track once the market recovers. We usually witness headcount freeze, pay cut measures (many founders take steeper cuts than their team to keep morale high), reduction of employee benefits, and decrease in marketing spending. Many have moved from aggressive marketing spending (to acquire customers – which is what the Shining Stars are focusing) to defensive marketing spending (to just make their offering stay relevant in the customer’s head).

Finetune existing offerings and prepare for the next big launch: If their cash position allows it, some Trapped Tigers reported that they are optimizing their platforms, developing new features, or redesigning the user experience to be more on point. Many also have plans to formally launch an upgraded version of their offerings to create a strong rebound momentum for their business once the crisis is over.

Explore creative use cases for excess supply/capability: Many startups are also working creatively to capitalize on their excess supply resulting from diminished demand. Zoomcar, a self-driving car rental platform, for instance, has been working to shift the excess car in their system for B2B, medical emergency, and last-mile logistic use.


Slow Sore: The Slow Sores are usually B2B enterprise solutions that have locked down short to medium-term SaaS contracts with large corporates. This is why these companies will likely be able to sustain cash flow in the near future. The solution generally comes in the form of back-end efficiency enabler, data infrastructure, and management tools (such as Enterprise IT and Construction-tech). Nevertheless, to onboard these solutions, the corporates would normally have to go through lengthy configuration and system migration, where the startups would then charge ample implementation fees. We can expect that the Slow Sorer will have a hard time making new sales as corporations will try to preserve cash, diminishing sales potential and profitability in the longer run.

Retain and assist existing clients: Startups are devoting time to retain its original customers through feedback-based product improvements. Startups with longer runways also have considered deferring payment schedules to give breathing room for their clients to sort things out first. Amazon Web Service (AWS) has been running a program to give cloud credits or fee deferrals to small companies who are affected by Covid, helping them to continue operation and delay potential job slash.

AWS gave its small business clients $5,000 credit on cloud service

Reprioritize company’s efforts: Companies are also re-prioritizing their potential clients based on which clients will thrive under the new normal, and shift sales and innovation effort to better suit those growing clients. Many construction-techs are turning their attention to the B2G construction segment, which was once overlooked due to its bureaucratic and traditional approach to business. The reason is that, with the private sector’s growth outlook remaining stagnant, government spending on infrastructure will likely be the only prominent source of industry growth.

Focus on streamlining the onboarding process: Noticing that troublesome and expensive onboarding process is among the key barriers to adoption, many startups are now trying to pursue growth by making the onboard easier and cheaper for their clients. This could mean offering a more standardized solution, a self-guided onboarding wizard, and elimination of implementation fees to target small and medium enterprises.


Panicking Patient: The Panicking Patient group is affected by Covid-19 in every worst way. These startups are behind the industries that are heavily involved with offline activities (such as Traveltech and Eventtech). The light at the end of the tunnel (that comes in the form of Covid-19 vaccines, treatment, or virus mutation to a much weaker strain) for this group still seems far away at the time of writing this article (many expects that the pandemic wouldn’t get resolved for at least another 2 – 3 quarters). These companies are in a big battle for their survival and need to pivot or at least diversify fast.

Extend the company’s cash runway: Like the Trapped Tigers, we have witnessed several expense reduction efforts by the Panicking Patient. Companies are returning office space and adopting the 100% WFH model. Steep pay cuts accompanied by reduced workdays and staff reduction are becoming prevalent. Indonesia-based Traveloka laid off 10% of its employee in April, while Bangkok-based Agoda slashed up to 25% of its workforce in May. Many are also borrowing cash from future revenue by offering prepaid vouchers or unlimited future passes. This example is also evident in the traditional travel industry, in which airlines and spas are selling heavily discounted vouchers to get cash for the survival of their businesses.

Pivot to other businesses: Because it is unclear when the situation will be back to normal, some startups choose to pivot to related business(es). Eventpop or Airbnb, for instance, chose to pivot to the online experience space, offering exclusive online events to its customers from dough making lessons to online meditation events. Some startups went to a more extreme route and completely shifted their businesses. Flying Elephant Production, an Irish startup focusing on exhibition and event setups, pivoting to selling desks made from the excess plywood they have in inventory.

Example of online events offered on Eventpop website

Closing thoughts:

In this difficult time, we hope this piece will spark some food for thought for you and your organization, no matter what roles you play in the ecosystem – founders, investors, corporate partners, or a mere observer. The pandemic forces us into the lifestyle and working mode that we thought would never be possible. Similar to us seeing new joys in the new normal, businesses and startups will see new rooms to thrive. Like what the US President John F. Kennedy once put, “when written in Chinese, the word ‘crisis’ is composed of two characters. One represents danger and the other represents opportunity.”


Author: Woraphot Kingkawkantong (Ping)
Editors: Wanwares BoonkongVitavin Ittipanuvat
Covid Impact Framework: Roland Berger

Other interesting reads:

EdTech คืออะไร? ตัวอย่าง EdTech Startup ในไทยที่น่าจับตามอง

Posted on by admin_beacon_2024

ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อนำมาผนวกเข้ากับระบบการศึกษา จึงพัฒนากลายเป็นสื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถสนับสนุนผู้เรียนได้มากกว่า หรือเรียกสั้น ๆ ว่า EdTech

นวัตกรรมเพื่อช่วยการศึกษาของ EdTech ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น นำไปสู่การต่อยอดทั้งในระดับองค์กรในการพัฒนาทักษะใหม่แก่พนักงาน และในระดับสถาบันการศึกษาที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องผ่านวิธีการใหม่ ๆ

จึงเป็นอีกหนึ่ง Tech Startup ที่บรรดานักลงทุนต่างให้ความสนใจ

มาทำความรู้จักกับ EdTech โดยละเอียด พร้อมตัวอย่างของ EdTech Startup ในประเทศไทย

 

EdTech เทคโนโลยีด้านการศึกษา

 

EdTech (Education Technology) คือ เทคโนโลยีด้านการศึกษา ที่สร้างความแตกต่างจากการเรียนรู้ในแบบเดิม ๆ ให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่หมาะสมกับผู้เรียนทุกช่วงวัย โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน โดยมี resource ที่เหมาะสม

 

EdTech กับความสำคัญของการศึกษาระดับเยาวชน

แม้ว่าการเรียนในห้องเรียนแบบปัจจุบันจะยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเยาวชน แต่การเข้ามาของ EdTech จะเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยตอบโจทย์โซลูชั่นการเรียนรู้ในการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ช่วยเพิ่มคุณภาพของเนื้อหา มีเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนการสอน และสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ที่ทำให้เห็นผลลัพท์ของผู้เรียนชัดเจนยิ่งขึ้น

เยาวชนต้องให้ความสำคัญและใส่ใจด้านการเรียนรู้ แต่ด้วยความแตกต่างของพื้นฐานเด็กแต่ละคน ประกอบกับพฤติกรรมของเยาวชนยุคใหม่ที่เรียนค่อนข้างหนัก อาจทำให้เกิดปัญหาเหนื่อยล้าในการเรียนได้ ซึ่ง EdTech Startup หลาย ๆ รายก็ได้สร้าง Solution ออกมาเพื่อแก้ไขกับปัญหาเหล่านี้

ตัวอย่างเช่น Kahoot! EdTech Startup ในรูปแบบ Game-Based Learning ที่เปลี่ยนแปลงโลกการเรียนรู้ โดยสอดแทรกเนื้อหาบทเรียนลงไปในรูปแบบเกม ซึ่งผู้เรียนจะต้องไขปริศนาโดยใช้เนื้อหาบทเรียนไปด้วยขณะเล่น ให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ด้วยตัวเอง

การใช้เกมเป็นสื่อในการเรียนรู้ เป็นการยกระดับการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เล่นรู้สึกสนุกและได้ความรู้ ทั้งยังเป็นการปลูกฝัง Growth Mindset ให้เยาวชนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนในอนาคตอีกด้วย

EdTech กับการศึกษาของผู้เรียนวัยทำงาน

นอกจากเพิ่มประสิทธิภาพด้านการศึกษาให้กับเยาวชนแล้ว EdTech ยังส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของช่วงวัยอื่นอีกด้วย เช่น กลุ่มคนวัยทำงาน ที่ต้องการจะพัฒนาทักษะและความสามารถของตัวเอง ซึ่งปัจจุบันก็มี EdTech Startup หลายรายที่เป็นแหล่งความรู้ใหม่ ๆ

ขอยกตัวอย่าง Coursera, edX และ Udemy ที่เป็นแหล่งรวบรวมหลักสูตรออนไลน์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกเอาไว้มากมาย เช่น Oxford หรือ Cambridge โดยเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าเรียนจากที่ไหนก็ได้ทั่วทุกมุมโลก

นอกจากนี้ยังมีหลายองค์กรที่ได้นำ EdTech มาประยุกต์เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในองค์กรอีกเป็นจำนวนมาก

 

ความสนใจของนักลงทุนที่มีต่อ EdTech

 

ในระยะแรกที่ EdTech อยู่ในช่วงเริ่มต้น มีนักลงทุนจำนวนไม่มากเท่านั้นที่ให้ความสนใจ แต่จากผลกระทบของ COVID-19 ทำให้ EdTech กลายมาเป็นอีกหนึ่งธุรกิจ Tech Startup ที่มาแรงมาก ๆ เลยทีเดียว

วิกฤตนี้ทำให้เกิดการ Lockdown คนทั่วโลกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ผู้คนไม่สามารถออกจากบ้านได้ และเยาวชนจำนวนมากต้องเรียนรู้ผ่าน online platform วิกฤตดังกล่าวจึงเป็นตัวเร่งให้เกิดการปรับตัวเรียนรู้ ซึ่ง EdTech ตอบโจทย์ความท้าทายในยามวิกฤตในการช่วยเติมเต็มโอกาสทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี

การผนวกเข้ากับ digital platform ของ EdTech ที่สามารถเรียนรู้จากที่ไหนก็ได้ มีระบบ AI ที่คอยประมวลรูปแบบการศึกษาให้เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งยังสามารถวัดผลลัพท์ที่ออกมาได้อย่างชัดเจน ตอบโจทย์ทั้งตัวผู้เรียนและผู้สอน

เมื่อได้สัมผัสกับประสบการณ์ในการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ ทำให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของ EdTech มากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้ และเห็นความสำคัญว่าจะเป็นประโยชน์กับระบบการศึกษาทั่วโลกในการพัฒนารูปแบบการศึกษาได้อย่างก้าวกระโดดต่อไปในอนาคต ไม่ใช่เพียงในช่วงวิกฤตนี้เท่านั้น

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้นักลงทุนหลายรายจับตามอง EdTech มากยิ่งขึ้น

หน่วยงานวิจัยด้านการศึกษา HolonIQ ได้ทำกราฟสถิติการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการศึกษา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 – 2019 จะเห็นได้ว่ามีการลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีล่าสุดก็มีจำนวนมากถึง 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ($7 Billion Dollar)

Image Source HolonIQ

นอกจากนี้ HolonIQ ยังคาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ. 2030 จะมีเม็ดเงินเคลื่อนไหวในตลาดเกี่ยวกับการศึกษามากถึง 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ($10 Trillion Dollar) เลยทีเดียว

Image Source HolonIQ

เทคโนโลยีด้านการศึกษานั้นแตกต่างจากการทำธุรกิจเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ไม่ได้เน้นไปที่พื้นฐานของกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยแก้ปัญหาของสังคม ซึ่งก็มีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ยินดีให้การสนับสนุนนวัตกรรมที่ทำให้อนาคตของสังคมนั้นดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ไอเดียของนวัตกรรมนั้นจะต้องน่าสนใจ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของความสามารถในการทำกำไร และแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดในปัจจุบันได้จริง จึงจะสามารถดึงดูดใจของนักลงทุนได้

 

EdTech Startup ที่น่าจับตามองในไทย

 

มาลองดู EdTech Startup ในประเทศไทย กับแนวทางการทำธุรกิจ และการปรับตัวของพวกเขา

OpenDurian

OpenDurian “เปิด-ดู-เรียน” เป็น EdTech Startup ในรูปแบบของ platform บทเรียนออนไลน์ที่คำนึงถึงความสำเร็จทางการศึกษาของผู้เรียน

โดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเอาไว้มากมาย วิเคราะห์ความเหมาะสมสำหรับแผนการเรียนการสอนต่าง ๆ คัดกรองเนื้อหา และระยะเวลาเรียนที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้เรียน

ไอเดียของ OpenDurian เริ่มต้นมาจากการที่อยากจะเปลี่ยนแนวทางการศึกษาในประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น จึงจุดประกายไอเดียในการสร้าง platform เพื่อพัฒนาการศึกษาและมาช่วยให้เด็กนักเรียนสามารถเตรียมตัวสอบได้ดียิ่งขึ้น โดยเลือกทำในรูปแบบ online เพื่อให้นักเรียนเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก เรียนกี่โมงก็ได้

ในระหว่างการพัฒนา ได้เผชิญกับอุปสรรคและปัญหามากมาย แต่ก็สามารถพลิกความล้มเหลว สร้างจุดแข็งของ platform ตัวเองด้วยแบบเรียนที่มีคุณภาพ ตรงจุดและตอบโจทย์กลุ่มนักเรียนที่เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย

จึงทำให้ OpenDurian ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากการบอกต่อแบบปากต่อปากของกลุ่มนักเรียน ทำให้รายได้ของ OpenDurian นั้นสูงเกินความคาดหมายถึงหลักล้านบาทตั้งแต่ในปีแรก

insKru

insKru เป็น EdTech Startup คอมมูนิตี้ครู เพื่อแบ่งปันไอเดียด้านการเรียนการสอนของสำหรับวิชาชีพครู

โดยรวมไอเดียต่าง ๆ ที่ร่วมแชร์จากครูทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแผนการสอน สื่อการสอน ชีทแบบฝึกหัด เทคนิคการสอน ไอเดียสำหรับใช้ในห้องเรียน รวมไปถึงสอบถามปัญหาเพื่อขอความช่วยเหลือต่าง ๆ

จุดเริ่มต้นของ insKru เกิดจากการที่ผู้ก่อตั้งมองว่า ในประเทศไทยนั้นมีครูที่สอนเก่ง สอนสนุก พร้อมที่จะแบ่งปันไอเดียอยู่มากมาย แต่ไม่มีพื้นที่ให้แบ่งปัน และในขณะเดียวกันก็ยังมีครูอีกจำนวนมากที่อยากสอนให้ออกมาดี แต่ติดที่ไม่มีไอเดีย

ผู้ก่อตั้งจึงอยากให้มี platform ที่สามารถเชื่อมต่อครูเหล่านี้ให้เข้ามาร่วมแชร์ไอเดียและประสบการณ์ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาที่พบเจอ สร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน ด้วยแนวคิดที่ว่า “เรื่องราวดี ๆ ไม่จำกัดอยู่แค่ห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง แต่ส่งต่อไปสู่ห้องเรียนทั่วประเทศ”

insKru ไม่ได้เจาะกลุ่มเป้าหมายที่ผู้เรียน แต่เป็นครูผู้สอน จึงทำให้มีผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกันให้ความสนใจกันอย่างมากมาย มีไอเดียที่ร่วมส่งต่อกันมากกว่า 1,000 ไอเดีย ถูกนำไปใช้กว่า 10,000 ห้องเรียนทั่วประเทศ กลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ที่ช่วยผลักดันครูไทยให้มีศักยภาพในการสอนเด็กได้ดียิ่งขึ้น

 

Summary

 

EdTech ได้แสดงศักยภาพของตัวเองให้เห็นในช่วงปีที่ผ่านมา มีสัญญาณของการเติบโตในอนาคตให้เห็นอยู่มากมาย นอกจากความสำเร็จในแง่ธุรกิจแล้วยังช่วยเหลือสังคมในการพัฒนา เติมเต็มการเรียนรู้แบบ Lifelong Learning ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่มีให้เห็นในสังคม จึงมีผู้ที่พร้อมให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมาก

หากคุณมองเห็นโอกาสที่จะพัฒนาอนาคตของการเรียนรู้ อย่ารอช้ารีบลงมือทำ เพราะนวัตกรรมของคุณ อาจเป็นกำลังสำคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนในปัจจุบัน สร้างเยาวชน และบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อคุณภาพสังคมที่ดียิ่งกว่าในอนาคต

5 วิธีคิดสำหรับผู้นำและเจ้าของกิจการในยุค Digital Disruption

Posted on by admin_beacon_2024

การทำธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับ Digital Disruption ที่เข้ามาท้าทายในการปรับตัวหรือทรานส์ฟอร์มองค์กรในแต่ละอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทันก็อาจจะถูกแทนที่ด้วยธุรกิจใหม่ได้

โมเดลธุรกิจในยุค Digital Disruption นั้นก้าวไปไวมาก และมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบกับทุกๆ กิจการ นี่จึงเป็นโจทย์ของ “ผู้นำธุรกิจ” ที่จะต้องหาทางออก หันมาวิเคราะห์สถานการณ์ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เพื่อให้ธุรกิจของตัวเองอยู่รอดในการแข่งขันนี้

 

ความสำคัญของ Digital Disruption ต่อโลกธุรกิจ

 

Digital Disruption เป็นการเปลี่ยนแปลงธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) มาเป็นหลักในการพัฒนา เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในโลกธุรกิจให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อย่าง Big Data, Blockchain, AI, Cloud Storage และอื่นๆ โดยนำมาพัฒนาร่วมกับวิสัยทัศน์ของแต่ละองค์กร รวมเข้ากับความต้องการของลูกค้าในเวลานั้น จึงจะเกิดเป็นการ Digital Disruption ได้

ปัจจุบันมีธุรกิจจำนวนมากที่ไม่สามารถปรับตัวตามเทคโนโลยีได้ทัน และถูกธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทนิตยสารต่างๆ ที่ทยอยปิดตัวลง จากการ Disrupt ของ Social Platform ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอ่านบทความหรือติดตามข่าวสารบนช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น

Digital Disruption จึงเป็นเหมือนคลื่นลูกใหม่แห่งการทำธุรกิจในอนาคต และได้สร้างโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ขึ้นมามากมาย

มาดูตัวอย่างของโมเดลธุรกิจ Digital Disruption ที่ได้รับความนิยม เช่น

เปลี่ยนจากการซื้อขาดเป็นจ่ายรายเดือนแบบ Subscription

ปกติเรามักจะคุ้นชินกับการจ่ายเงินซื้อครั้งเดียวเพื่อถือสิทธิขาดในสินค้านั้นๆ แต่สินค้าบางประเภท เช่น ภาพยนตร์หรือเพลง ผู้บริโภคอาจรู้สึกว่ามีราคาค่อนข้างสูง ไม่คุ้มค่าหากซื้อมารับชมหรือฟังเพียงไม่กี่ครั้ง บางคนจึงไม่อยากจ่ายเงินซื้อสินค้าดังกล่าวถ้าหากมีทางเลือกที่ดีกว่า

จึงเกิดระบบ Subscription ที่ให้ผู้ใช้บริการเป็นสมาชิกแบบรายเดือนเพื่อใช้งานได้แบบไม่จำกัด เช่น Netflix, Apple Music, Spotify

แต่นอกจากสื่อบันเทิงเหล่านี้แล้ว ธุรกิจอุปโภคบริโภคก็เริ่มหันมาใช้โมเดลเหล่านี้ เช่น “Dollar Shave Club” ซึ่งทำ Business Model ที่แตกต่างและทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสินค้าง่ายขึ้น ด้วยการให้บริการในรูปแบบ Subscription ในสหรัฐฯ โดยส่งสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์สำหรับโกนหนวด โฟมล้างหน้า และยาสีฟันทุกๆ 2 เดือนให้ลูกค้าที่ Subscribe ไว้

นอกจากนี้ ร้านอาหารชื่อดังอย่าง “KFC” ยังเริ่มใช้ระบบ Subscription ในบางประเทศ เพื่อรับไก่ทอดในแต่ละเดือนอีกด้วย

Freemium Model ที่จะเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานเมื่อจ่ายเงิน

Freemium เกิดจากการรวมกันระหว่าง Free และ Premium ที่ให้คุณใช้บริการได้ฟรีๆ แต่จะเริ่มเก็บเงินเมื่อคุณต้องการใช้ฟังก์ชันที่มากขึ้น อย่างเช่นบริการ Cloud Storage ต่างๆ อย่าง Google Drive, iCloud, Dropbox

จากตัวอย่างที่กล่าวไปข้างต้น แม้จะเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก แต่ก็มีบางธุรกิจที่ล้มหายตายจากไปเพราะ Digital Disruption นี้เช่นเดียวกัน ได้แก่ สินค้าประเภท Thumb Drive ที่มีการใช้งานลดลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากมีบริการ Cloud Storage หรือธุรกิจร้านเช่าวีดีโอที่ทยอยปิดตัวตั้งแต่การมาของ Netflix

อย่าปล่อยให้กิจการของคุณต้องเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เลือนหายไป มาดู 5 วิธีคิดสำหรับผู้นำองค์กร และเจ้าของกิจการที่จะช่วยให้คุณสามารถก้าวทันยุค Digital Disruption และชี้นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

1. คำนึงถึงผู้บริโภคก่อนผลกำไร

 

พื้นฐานของการทำธุรกิจแน่นอนว่าต้องคำนึงถึงการสร้างรายได้เพื่อผลกำไร แต่การมองไปที่ผลกำไรเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถที่จะทำให้คุณอยู่รอดในยุค Digital Disruption นี้ได้

Disruptive Challenge (ผู้เข้าแข่งขันทางธุรกิจ) หลายธุรกิจเริ่มปรับมุมมองใหม่ หันมาให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากขึ้น โดยมองให้เห็นถึงความต้องการและสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

โดยเริ่มต้นจากการมองไปที่ความต้องการของลูกค้าหรือปัญหาของสังคม และเปลี่ยนมันเป็นโอกาสทางธุรกิจ โดยธุรกิจที่มองเห็นโอกาสเหล่านี้ก่อน จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่า และได้เปรียบในการแข่งขันนี้มากกว่า

ยกตัวอย่างกรณีของแอปพลิเคชัน “U Drink I Drive” ที่มองเห็นปัญหาของผู้ที่ไปดื่มสังสรรค์ยามค่ำคืน แต่กังวลว่าหากขับรถกลับบ้านเองก็อาจเกิดอันตรายจากการเมาแล้วขับได้ จึงเกิดเป็นแอปพลิเคชันที่แก้ไข pain point ดังกล่าว โดยมีบริการพนักงานขับรถที่เชี่ยวชาญในการนำส่งทั้งรถและผู้ใช้บริการถึงที่หมายอย่างปลอดภัย

การเข้าใจในผู้บริโภคมากขึ้น ก็เท่ากับว่าความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิสัยทัศน์ของผู้นำที่มองเห็นโอกาสเหล่านี้ได้ก่อน จะเป็นสิ่งที่จะชี้นำองค์กรของคุณให้ก้าวหน้าเหนือคู่แข่งอยู่เสมอ

2. ขับเคลื่อนความคิดด้วยตรรกะและเหตุผล

 

คุณสมบัติพื้นฐานของผู้นำที่ดี จะต้องไม่ยึดสัญชาตญาณหรืออารมณ์เป็นหลัก แต่ใช้ตรรกะและเหตุผลในการวิเคราะห์ผลลัพธ์

บ่อยครั้งที่ผู้นำจะต้องทำหน้าที่ในการตัดสินใจ หรือแก้ไขปัญหาต่างๆ คิดวิเคราะห์และประเมินสิ่งนั้นๆ ด้วยเหตุผล เพื่อให้เห็นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา แยกแยะและระบุถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละรูปแบบได้

วิธีนี้จะทำให้สามารถเชื่อมโยงภาพใหญ่ขององค์กรเข้าไว้ด้วยกัน มองเห็นคำตอบที่ดีที่สุดในทุกสถานการณ์ และเลือกนำมาใช้เพื่อไปสู่จุดหมายได้อย่างถูกต้อง

 

3. มองออกไปข้างหน้า เปลี่ยนตัวเองให้ก้าวนำโลก

 

ต้องเข้าใจและตระหนักรู้ว่า การแข่งขันทางธุรกิจในยุค Digital Disruption นั้นมีความท้าทายใหม่ๆ ให้คุณได้เผชิญอยู่เสมอ ความสำเร็จเดิมที่คุณเคยสร้างไว้ อาจไม่ใช่ทางออกเดิมที่จะทำให้คุณอยู่รอด เพราะฉะนั้นผู้นำที่ดีจะต้องหาคำตอบใหม่ๆ มาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

การมีบทบาทของ Social Media นั้นทำให้โลกขยับไปเร็วขึ้น เทคโนโลยีใหม่ๆ ถูกอัพเดทวันต่อวัน ผู้นำที่ดีต้องกล้าที่จะยอมรับและปรับตัว มีวิสัยทัศน์ที่มองเห็นความเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะเปลี่ยนกลยุทธ์เดิมๆ และเปิดใจที่จะต้องเริ่มเรียนรู้และทดลองใช้กลยุทธ์ใหม่เสมอ

ในการพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนได้ท่ามกลางโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วิสัยทัศน์ของผู้นำที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง มองเห็นทางออกในการปรับตัวที่ถูกต้อง จะสามารถนำพาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จและโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด

4. พนักงานทุกคนคือส่วนสำคัญ

 

พนักงานขององค์กรเป็นเหมือนอีกหนึ่งตัววัดผลประสิทธิภาพกิจการของคุณ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าองค์กรจำเป็นจะต้องรับพนักงานใหม่ที่เก่งเข้ามาเพิ่ม แต่เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรมีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันให้มีทักษะการทำงานที่ดีขึ้น

หากต้องการสนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือก้าวทันเทคโนโลยี องค์กรจะต้องสร้างแรงกระตุ้น และแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน เพื่อให้พวกเขาปรับเปลี่ยนแนวคิดและอยากพัฒนาตนเองให้พร้อมที่จะก้าวหน้าไปกับองค์กรในอนาคต

ไม่แน่ว่า ศักยภาพที่ถูกพัฒนาขึ้นของพนักงาน อาจจะกลายเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้องค์กรได้เห็นถึงมุมมองใหม่ๆ ที่แตกต่าง และกลายเป็นส่วนสำคัญที่จะพัฒนาให้องค์กรเติบโตยิ่งขึ้นในอนาคตก็เป็นได้

 

5. ความล้มเหลวคือกุญแจสู่ความสำเร็จ

 

ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเลือกหนทางที่ถูกต้องได้ในครั้งแรก ความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่ได้เผชิญนั้นไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่เป็นบทเรียนสำคัญที่จะสอนบางสิ่งบางอย่างเสมอ เพื่อทำให้คุณเข้มแข็งและก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจกว่าเดิม

ในโลกของการทำธุรกิจนั้น นอกจากจะต้องรู้ “จุดแข็ง” ของตัวเองแล้ว การมองเห็น “จุดอ่อน” ก็เป็นกุญแจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรได้เช่นกัน เพราะการที่องค์กรรู้ว่าจุดอ่อนของตัวเองคืออะไร จะทำให้มองเห็นหนทางในการปรับปรุงแก้ไขได้รวดเร็ว ตรงจุด มีประสิทธิภาพ และเสริมศักยภาพขององค์กรให้มากขึ้นอีกด้วย

 

Summary

 

Digital Disruption ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวหากรู้จักการปรับตัวและรับมือ โดยแนวคิดทั้ง 5 ที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น สามารถใช้เป็นแนวทางที่นำไปปรับใช้ภายในองค์กร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการรับมือกับยุค Digital Disruption