Month: November 2018

Beacon VC invests in ASEAN’s leading cross-border payments fintech InstaReM

Posted on by admin_beacon_2024
  • InstaReM, Southeast Asia’s leading digital cross-border payments company, has announced the first close of its US$ 45 million Series C round, at over US$ 20 million.
  • The first close is led by high profile new investors MDI Venture Capital (the venture capital arm of Telkom) and Beacon Venture Capital (the venture capital arm of KASIKORNBANK).
  • InstaReM’s Series C round (to be completed in January 2019) will be used to drive growth in new markets, and to support the launch of a new consumer and enterprise product in 2019.

InstaReM, Southeast Asia’s leading digital cross-border payments company, has announced one of the most significant Series C funding rounds for a fintech in Southeast Asian history. The company’s rapid growth has secured a first close of more than US$ 20 million led by new investors MDI Ventures (the VC arm of Indonesia’s Telkom), and Beacon Venture Capital (the VC arm of Thailand’s KASIKORNBANK) and supported by existing investors, Vertex Ventures, GSR Ventures, Rocket Internet and SBI-FMO Fund.

The Series C round of US$ 45 million, which takes the digital remittance fintech’s overall funding to over US$ 63 million, is expected to close by January 2019, in advance of its expected IPO in 2021.

This Series C round will accelerate growth in InstaReM’s existing markets and enable it to enter new markets in Japan and Indonesia, where it is expected to receive licenses by the end of this year. This round will also enable InstaReM to launch a new consumer and enterprise product in 2019 for which the company has aggressive plans.

InstaReM’s next-generation payments platform leverages the latest technology to help its individual and enterprise customers send money to their destinations quicker and at a lower cost than its competitors. With regulatory licenses and approvals in Singapore, Australia, India, Europe, United States, Hong Kong, Canada and Malaysia, and its extensive global banking partnerships, InstaReM is able to reach to over 3.21 billion consumer and business customers across 55+ countries worldwide. InstaReM already powers payments for three of the top ten Southeast Asian banks.

Prajit Nanu, Co-founder & CEO of InstaReM said: “The promise we’ve made to our customers, from day one, is that we’ll always be transparent, and we’ll forever give them the best value we can to help them #DoMore with their money. No matter where they are in the world, and no matter if they’re a business or an individual sending money overseas, it’s been our mission to be their champion. That’s why we were one of the first Asian remittance providers to move outside of Asia, and that’s another reason why we’ve been able to secure this historic round of funding. In less than 4 years, we have become the payment backbone for emerging markets for banks and other global financial institutions.”

Thanapong Na Ranong, Managing Director of Beacon Venture Capital (Beacon VC) added: “We have been following InstaReM for some time, and are impressed with the way the company has been expanding globally, and scaling up its operations. As KASIKORNBANK becomes the digital bank of choice for customers, we have a strong commitment to working closely with category leaders in each sector and constantly improving our customer experience.”

InstaReM is a member of RippleNet, Ripple’s global network of banks and other financial institutions, and has recently bagged the Blockchain Innovator Award by Ripple, for its innovations in the payments space.

Starting its operations in Australia in 2015, today, InstaReM has presence across 40 countries/regions including Australia, Singapore, Hong Kong, United States, Canada, Malaysia, India and Europe. InstaReM has created a unique payment mesh in Asia, which is being leveraged by financial institutions, SMEs and individuals to make fast low-cost cross-border payments.


Also in:

Tech in Asia (English), e27 (English), DealstreetAsia (English), TechCrunch (English),  Business Insider (English), The Straits Times (English), The Business Times (English), Techsauce (Thai), Money & Banking (Thai), Positioning (Thai)

ทำไมวงการสตาร์ทอัพไทยยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ ?

Posted on by admin_beacon_2024

แม้วงการสตาร์ทอัพในไทยจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เคียงข้างไปกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม หรืออินโดนีเซีย แต่ยังขาดแรงสนับสนุน การให้ความรู้ และโอกาส นอกเหนือจากนั้นวงการสตาร์ทอัพไทยยังขาดอะไรอีกบ้างในปัจจุบันถ้าอยากจะมุ่งสู่การทำ MVP (Minimum Viable Product) ให้สำเร็จ หรือเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

คุณสุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ผู้ดูแลโครงการ KATALYST จะมาร่วมแบ่งปันมุมมองตรงนี้ให้เราฟังกัน

คุณสุปรีชา มองว่า ปัญหาเบื้องต้นนั้นเกิดจากระบบการศึกษาของไทย หากเราลองเปรียบเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาคจะพบว่าธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีคนที่เรียนหรือมาจากกลุ่มวิทยาศาสตร์สูงถึง 90% เช่น ประเทศจีนที่กำลังพัฒนาตัวกลุ่มคนที่เป็นสายวิทยาศาสตร์ขึ้นมาเยอะ ตรงกันข้าม กับบ้านเราที่ความต้องการเฉพาะด้านนี้มีมาก แต่จำนวนคนที่จบมาไม่เพียงพอ หรือเรียกง่ายๆ ว่า ยังขาด “ทรัพยากรบุคคล” ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง

“ตอนนี้เราประสบปัญหา 3 เรื่องด้วยกัน หนึ่งคือ คนที่จบในวิทยาศาสตร์น้อย สองคือ จบมาแล้วแต่ความรู้ที่สอนในมหาวิทยาลัยไม่ค่อยตรงกับสิ่งที่ธุรกิจต้องการใช้ บางโปรแกรมที่เขาเขียนกัน ไม่ทันสมัย และปัญหาที่สาม คือบ้านเราพอเรียนวิทยาศาสตร์ ก็เน้นวิทยาศาสตร์เท่านั้นเลย โปรแกรมเมอร์ไม่รู้เลยว่าทำธุรกิจอย่างไร ฉะนั้นพอจบมาทำ FinTech นะ ต้องทำโปรแกรมเกี่ยวกับการเงิน แต่ไม่มีความรู้เรื่องการเงินเลย แล้วจะทำ Fintech ได้ยังไง”

ซึ่งจุดนี้ คุณสุปรีชามองว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำสตาร์ทอัพ ที่จำเป็นต้องมีทั้งบุคลากรฝั่งวิทยาศาสตร์และการตลาด คนที่เข้าใจทั้งฝั่งธุรกิจและการเงิน ความหลากหลายของทีม จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมกันได้มากกว่าคนที่ถนัดงานด้านเดียวกันหมด อีกทั้งประเทศไทยยังขาดแคลนเรื่องระบบ Ecosystem เช่น ระบบกฎหมายที่ยังไม่เอื้อ หรือบางคนบอกว่าเป็นเรื่องเงินทุน ซึ่งเป็นปัจจัยรอง เพราะถ้าไอเดียดี เงินทุนจะมาเอง ทว่าจุดอ่อนสตาร์ทอัพไทย คือ หลายคนยังมองแค่ Local Market ในขณะที่ทั่วโลก มุ่งเป้าไปมองแบบ Global Market ทุกอย่างที่คิดต้องเป็นสิ่งที่ทำประโยชน์ให้แก่คนทั้งโลกได้ เช่น ประเทศจีน ที่แม้จะมีตลาดในประเทศระดับพันล้าน ก็ไม่ได้เน้น Product ที่ตอบสนองแค่คนในประเทศ แต่พยายามทดลองให้กว้างขึ้น เริ่มต้นจากประเทศเขตอาเซียน เพื่อเตรียมไปสู่สนามระดับโลก

“อีกเรื่องที่ต้องสอน คือ Pitching หลายครั้งผมมองเด็กไทยในเวทีระดับโลก เขา Pitch เก่ง ชนะหมด เพราะเราเป็นประเทศที่มีจินตนาการ มีความคิดด้านนวัตกรรมที่สูง แต่สุดท้ายในทางปฏิบัติไปต่อไม่ได้ เพราะไม่มีโรงเรียนสตาร์ทอัพที่สอนให้ทำอย่างถูกต้อง ไม่มีคนลงไปช่วยสนับสนุนให้มันเกิด”

“เราอยากหาเนื้อคู่ให้เขา” คุณสุปรีชากล่าว เนื่องจากมองว่า KATALYST จะสามารถเป็นสะพานเชื่อมโยงให้สตาร์ทอัพที่ต้องการเติบโตได้มีโอกาสพบพันธมิตร คู่คิดและโอกาสใหม่ๆ ในการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ และเป็นตัวกลางให้เกิดการทำงานที่สร้าง Solution ให้แก่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ ลูกค้าของธนาคาร หรือกลุ่มผู้บริโภคปลายทาง ได้รับผลประโยชน์สูงสุด

กสิกรไทย จับมือ แกร็บ ดันไทยเดินหน้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล

Posted on by admin_beacon_2024

ธนาคารกสิกรไทย และ แกร็บ ผู้นำแพลตฟอร์มออนไลน์-ทู-ออฟไลน์ (O2O) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศความร่วมมือผลักดันให้เกิด ‘ดิจิทัล ไลฟ์สไตล์ อีโคซิสเต็ม’ (Digital Lifestyle Ecosystem) โดยใช้ศักยภาพความเป็นผู้นำด้านดิจิทัล แบงกิ้ง ของธนาคารกสิกรไทย ในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน เพื่อร่วมสร้างประสบการณ์ใหม่ ของการใช้บริการแกร็บอย่างไม่มีสะดุด โดยเชื่อมโยงผู้คนที่ใช้บริการทั้งระบบ ได้แก่ ลูกค้าที่ใช้บริการ, ผู้ขับขี่, ร้านค้า และตัวแทนของแกร็บ ความร่วมมือดังกล่าวประกอบด้วย บริการทางการเงินแกร็บเพย์ บาย เคแบงก์ แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่เตรียมเปิดตัวในปีหน้า รวมถึงขยายการให้บริการทางการเงินอื่นๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทย ยังได้ร่วมลงทุนในแกร็บเป็นมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เปิดเผยว่า “แกร็บมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ การนำนวัตกรรมมาช่วยยกระดับประเทศไทยไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนสมาร์ทโฟนที่เกิดจากความร่วมมือดังกล่าว จะทำให้คนไทยเข้าถึงระบบการชำระเงินระบบดิจิทัลที่สะดวกและปลอดภัยได้มากขึ้น สิ่งนี้เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะทำให้แกร็บ เป็นซูเปอร์แอพสำหรับทุกวัน (Everyday Super App) ที่ตอบสนองความต้องการในแต่ละวันของลูกค้าให้ดีที่สุด”

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า “ทิศทางธุรกิจในระดับภูมิภาคของธนาคารกสิกรไทย คือ มุ่งขยายธุรกิจไปยังตลาดกลุ่มประเทศอาเซียน +3 ซึ่งเป็นตลาดที่มีโอกาสนำศักยภาพดิจิทัล เทคโนโลยีมาใช้ผ่านช่องทางดิจิทัลและบริการต่างๆ บนสมาร์ทโฟน โดยธนาคารได้วางกลยุทธ์ในการร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำในแต่ละธุรกิจ ด้วยคอนเซปต์ “Better Together” ด้วยการผสานจุดแข็งของแต่ละฝ่าย เพื่อร่วมกันนำเสนอบริการที่ดีที่สุดให้กับการใช้ชีวิตของลูกค้าในทุกๆ วัน”

“ความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทย และแกร็บ ทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ในการร่วมกันพัฒนานวัตกรรมให้กับอุตสาหกรรมและภูมิภาคที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ธนาคารยินดีที่ได้ร่วมทำงานกับแกร็บในการปรับเปลี่ยนประสบการณ์ของลูกค้าทั้งวงจรของการให้บริการไปสู่ “ดิจิทัล ไลฟ์สไตล์ อีโคซิสเต็ม” (Digital Lifestyle Ecosystem) เต็มรูปแบบ ทั้งผู้ใช้บริการแกร็บ ผู้ขับรถ และร้านค้า รวมถึงการยกระดับระบบขนส่งและจัดส่งที่ปลอดภัย มีราคาที่เหมาะสม ให้กับผู้ใช้บริการแกร็บหลายล้านราย ตลอดจนผู้ใช้บริการรับส่งอาหารและพัสดุ ผู้ใช้บริการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน และบริการทางการเงินต่างๆ ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายในการเป็นดิจิทัล แบงกิ้งที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค ซึ่งการร่วมกันพัฒนากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนสมาร์ทโฟนและการลงทุนในแกร็บ จะทำให้ธนาคารสามารถนำศักยภาพของแกร็บมาทำให้เกิดประโยชน์กับร้านค้าและลูกค้าของธนาคารที่อยู่ในประเทศไทย โดยการลงทุนของธนาคารผ่านบริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (Beacon VC) ในครั้งนี้ถือเป็นการร่วมทุนครั้งแรกกับบริษัทต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจหลักอยู่นอกประเทศไทย ซึ่งมีความสำคัญอยู่ที่ฐานจำนวนผู้ใช้ทั่วอาเซียนของแกร็บที่มีโอกาสเติบโตเทียบเท่ากับสถาบันการเงินชั้นนำ โดยธนาคารจะร่วมกันกับแกร็บในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่จะส่งเสริมศักยภาพของธนาคารให้ก้าวไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้”

ในความร่วมมือดังกล่าว ครอบคลุมการพัฒนาแอปพลิเคชันการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน และบริการทางการเงินต่าง ๆ ร่วมกัน

  1. แกร็บเพย์ บาย เคแบงก์ (GrabPay by KBank) เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนสมาร์ทโฟน (Mobile Wallet) ที่จะทำให้ลูกค้าแกร็บชำระเงินค่าเดินทางและค่าบริการรับส่งของ ตลอดจนสามารถโอนเงินให้กับเพื่อนหรือครอบครัวใช้สำหรับซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ รวมทั้งใช้จ่ายผ่านคิวอาร์โค้ดในร้านอาหารหรือร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งเป็นผลจากบริการพร้อมเพย์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชําระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Scheme) ทำให้ร้านค้าสามารถใช้บริการ “แกร็บเพย์ บาย เคแบงก์” ได้ทันทีที่เปิดให้บริการ
  2. การพัฒนาให้แอปพลิเคชันเคพลัสและแกร็บให้ใช้งานร่วมกันได้ ทำให้ลูกค้าใช้บริการตลอดวงจรการให้บริการของทั้งธนาคารกสิกรไทยและแกร็บได้อย่างราบรื่น
  3. นำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าที่อยู่ในวงจรการให้บริการของธนาคารกสิกรไทยและแกร็บ โดยธนาคารกสิกรไทยและแกร็บ ร่วมกันนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าของตนเอง เช่น การเสนอสินเชื่อกสิกรไทยให้ผู้ขับรถแกร็บสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น การนำเสนอบริการ “แกร็บ ฟอร์ บิสซิเนส” (Grab for Business) ให้กับลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคารกสิกรไทย เพื่อช่วยบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการเดินทางของบริษัท ตลอดจนการสื่อสารสร้างการรับรู้แบรนด์และเข้าถึงลูกค้าผ่านบริการโฆษณาของแกร็บ

“ในปีพ.ศ. 2561 แกร็บ ไฟแนนเชียล ได้ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำแพลตฟอร์มฟินเทคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้ต่อเดือน (Monthly Active Users) และมูลค่าการใช้จ่ายรวม (Total Payments Volume) การร่วมมือทางธุรกิจในครั้งนี้จะทำให้แกร็บ ไฟแนนเชียลเป็นแพลตฟอร์มแรกบนสมาร์ทโฟนที่ได้รับใบอนุญาตในการเปิดให้บริการระบบชำระเงินใน 6 ประเทศอาเซียน รวมถึงตอกย้ำความแข็งแกร่งในกลยุทธ์การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ จากการที่แกร็บเปิดแพลตฟอร์มนี้เอง ทำให้มีธุรกิจด้านการเงินชั้นนำจำนวนมากที่ต้องการร่วมมือกับแกร็บเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น” มร. รูเบน ไหล ผู้อำนวยการจัดการอาวุโส แกร็บไฟแนนเชียล กล่าว

KASIKORNBANK partners with Grab to join the largest fintech ecosystem in Southeast Asia

Posted on by admin_beacon_2024
  • Partnership introduces GrabPay by KBank, a co-branded mobile payment application, and a suite of other financial solutions in Thailand
  • Announcement makes Grab Financial the first mobile wallet and financial services platform available in all ASEAN-6 markets, just 6 months after its launch
  • KBank makes a strategic investment as part of Grab’s ongoing fundraising round

Grab, Southeast Asia’s leading online-to-offline (O2O) platform, and KASIKORNBANK (KBank), Thailand’s leading financial conglomerate, today announced a strategic partnership to introduce GrabPay by KBank, a co-branded mobile payment application, as well as a suite of other financial solutions in Thailand.

With this partnership, Grab Financial marks the expansion of its mobile wallet to all ASEAN-6 countries – Singapore, Malaysia, Indonesia, Vietnam, Philippines, and Thailand, cementing itself as the region’s number one fintech player.

“In 2018, Grab Financial has established itself as Southeast Asia’s leading fintech platform, both in terms of Monthly Active Users (MAU) and Total Payments Volume (TPV). This partnership makes Grab Financial the first mobile payments platform to launch e-money-licensed payments services across ASEAN-6 and underlines the strength of our partnership-based strategy. By opening up our platform, we have attracted many of the leading players in the financial services industry and driven exponential growth for our business,” said Reuben Lai, Senior Managing Director, Grab Financial.

Patchara Samalapa, President, KASIKORNBANK says, “KASIKORNBANK has bold ambitions of becoming the digital bank of choice in the region. We look forward to developing innovative financial products together, which will put KBank in a position to tap into the rapidly growing digital economy across the region.”

The partnership comes with a strategic investment from KBank in Grab, and is part of Grab’s ongoing fundraising round, which includes Toyota Motor Corporation, Microsoft Corp., Booking Holdings, Hyundai Motor Group, Oppenheimer Funds, and other leading global investors. The investment is a first for KBank in an international company with a core business outside of Thailand, calling to attention the size of the opportunity Grab’s ASEAN-wide user base offers, even to leading financial institutions.

According to Bank of Thailand, 68% of all transactions in Thailand are carried out in cash, which costs the Thai economy millions of Baht each year. The strategic partnership will make it easier for consumers and entrepreneurs across Thailand to adopt cashless transactions in a number of ways.

First, KBank and Grab will jointly launch the ‘GrabPay by KBank’ mobile wallet in the Grab app which is targeted to launch as soon as early 2019. This will allow Grab customers to pay for transport and delivery services, transfer funds to friends and family, purchase products and services online, and make QR-code payments in restaurants and shops across Thailand. Thanks to PromptPay, Thailand’s national e-payments scheme, all QR-enabled merchants in Thailand will be able to immediately accept ‘GrabPay by KBank’ upon activation.

Second, beyond the wallet, features from KBank’s “K PLUS” app and the Grab app will be integrated across both apps starting in 2019. This will enable users to benefit from seamless services across the KBank and Grab ecosystem. Finally, KBank and Grab will also work together to jointly offer products to their customer base, including loans to help merchants grow their business and access to Grab for Business to improve corporate transport expense management as well as increase brand awareness and engagement through Grab’s advertising solution.

Since launching the Grab Financial Group in March 2018, Grab’s fintech ecosystem has seen incredible growth:

  • March 2018: Launch of Grab Financial, through a joint venture with Credit Saison to offer credit to Southeast Asia’s unbanked and a partnership with Chubb to offer in-app insurance solutions
  • May 2018: Announcement of strategic partnership with Maybank, Southeast Asia’s fourth largest bank by assets to drive acceptance of GrabPay in Malaysia
  • June 2018: Launch of GrabPay wallet in Malaysia
  • June 2018: Strategic partnership with OVO, the leading mobile wallet in Indonesia, to enable OVO payments services on the Grab app in Indonesia
  • September 2018: Announcement of strategic partnership with Moca, a leading digital payments service in Vietnam to launch the ‘GrabPay by Moca’ wallet
  • September 2018: Announcement of Bangko Sentral Ng Pilipinas awarding the e-money license for the Philippines to Grab
  • October 2018: Announcement of strategic partnership with Mastercard to launch prepaid cards for Southeast Asia’s unbanked and underbanked population

“We approach the challenge of cashless payments from a consumer perspective. Users don’t want a separate e-wallet for every type of purchase. By opening up our platform to leading financial institutions, we ensure our users can go beyond the Grab platform and pay for all types of services, from streetside stalls to e-commerce, online services and financial services increasingly as well,” concluded Reuben Lai, Senior Managing Director, Grab Financial.


Also in:

Tech in Asia (English), e27 (English), DealstreetAsia (English), KrASIA (English),  TechCrunch (English), Reuters (English), The Straits Times (English), The Business Times (English), Singapore Business Review (English), Channel NewsAsia (English), Bangkok Post (English), Techsauce (Thai), Prachachat (Thai), bangkokbiznews (Thai), Money & Banking (Thai)