Month: March 2021

Beacon VC invests in BUILK, leading construction tech, to strengthen the Thai construction platform

Posted on by admin_beacon_2024

BUILK – a Thai tech startup – has announced that it recently completed Series B fundraising from Beacon VC, the venture capital arm of KASIKORNBANK PLC (KBank), with three other strategic investors. Through the VC funding, BUILK aims to strengthen its technology and financial services to enhance Thai companies’ construction material management process and propel the Thai construction industry towards the digital era. This innovation is hoped to benefit the construction supply chain, property developers, contractors, manufacturers, and distributors of construction materials, thus aiding BUILK in profit generation and preparing the company to go public thereafter.

Builk One Group Ltd. (BUILK) is a Thai tech startup that provides business management and online construction material trading platform for construction companies. Despite the impact of the COVID-19 pandemic and the Thai economic slowdown, the construction industry still shows bright prospects thanks to the capital injection from the public sector, especially into megaprojects and national infrastructure projects. However, many contractors lack the opportunity to access technology and funding sources, impairing these contractors’ ability to improve their business efficiency from cost and time management to quality aspects.

For over 11 years that Builk One Group has developed and offered a digital business management platform for the construction industry, it had helped more than 3,500 companies in the industry to digitize their work process through Builk One Group’s software as a service (SaaS) offering and workflow-integrated marketplace models. BUILK generated a sales turnover of more than 500 million Baht last year, and it plans to expand its presence within ASEAN in the foreseeable future.

Mr. Patai Padungtin, CEO and Founder of Builk One Group Co. Ltd., said that the company had developed the BUILK Platform to help Thai construction entrepreneurs operate more effectively, giving them improved access to funding or financial products. These goals align with Beacon Venture Capital’s vision to bring in digital innovation together with KBank’s financial capabilities to help contractors operate their businesses more systematically, eliminate redundancies, and improve access to capital. Moreover, Builk One Group has developed a technology for construction sites to enhance operational efficiency and reduce errors. This technology will also help contractors add value to their services, strengthen customer confidence, and create more significant interaction and communication between different stakeholders.

Mr. Thanapong Na Ranong, Managing Director of Beacon Venture Capital, KBank’s venture capital arm who looks to invest in startups that have strong ability to innovate, commented that that Beacon VC is interested in the domestic construction industry because it still has a lot of opportunities to be digitized. Despite changes in the Thai construction industry along with challenges stemming from the recent disruption of new construction businesses and an unexpected pandemic, which has hurt the economy and private construction business, the construction industry remains imperative to Thailand’s development and growth. Thus, KBank has joined with Builk One Group to establish new guidelines towards the development of financial products and new forms of financial services in offering loans to construction firms that have the capacity and potential for growth, but cannot access funding sources to support their operations. To this end, technology is being used to enhance business capacity, develop a work system and increase the chance of getting construction projects.

This strategic cooperation between Beacon Venture Capital Co., Ltd. and Builk One Group Co., Ltd. also benefits from an alliance with three major business partners whose combined strengths help bring this shared vision closer to fruition. They are AddVentures by SCG, Cre-Ful Co., Ltd., and Rosewood Capital Co., Ltd., all of which bring their long-standing expertise in construction work to support technological development within this industry, in terms of technical knowledge and work systems. New technology will be utilized to solve real-life issues experienced by Thai contractors in fast and convenient ways that further reduce expenses. Moreover, this collaborative effort is expected to introduce further innovations and in-depth data analyses previously unseen in Thailand.

About Builk One Group

Builk One Group Co.,Ltd was established in 2005 and has expanded as tech startup since 2009, founding Builk Asia Co.,Ltd, with the mission to progressively shift the construction industry to become fully, digitally transformed. The team designed and developed many Software-as-a-Service (SaaS) for the construction industry, such as Pojjaman2 (the fully cloud-based ERP system for large construction enterprises), and BUILK.COM (the first free cost control software for SME contractors in  Asia). With the mission to improve the construction industry by increasing efficiency in work and reducing the risk to the business, Builk One Group has brought knowledge, technology, creativity, and new business models to the industry. As a result, all solutions were developed for entrepreneurs in the whole construction supply chain, such as YELLO (the data-driven online construction materials store, offering price checks and purchase services), JUBILI by BUILK (the B2B customer relationship management), PLOY by BUILK (the customer relationship management for real estate), Kwanjai by BUILK (the commercial maintenance system), and BUILK360 (the brand-new virtual construction site tour). Previously, Builk One Group was funded by Thai corporate venture capital funds (CVC), which were Moonshot Venture Capital and AddVentures by SCG.

About Beacon Venture Capital

Founded in 2017, Beacon VC is a wholly-owned corporate venture capital fund of Kasikornbank PLC. Beacon VC focuses on strategic investments in early to growth-stage technology startups covering not only financial technology (fintech) but also consumer internet and enterprise technology. Currently, Beacon VC has a fund size of $135 million and has invested in several technology startups such as FlowAccount, Eventpop, Jitta, Grab, Nium and Aspire.

Contact:                       

Builk
Krittiyaporn Pota
Partnership Development
Email: [email protected]
Tel: +66 85-139-9374

Beacon Venture Capital
Suparat Opasyanont
Business Development Manager
Email: [email protected]
Tel: +66 88-223-1225

5 ประโยชน์ของระบบ AI กับการประยุกต์ใช้ในธุรกิจ

Posted on by admin_beacon_2024

ในปัจจุบันระบบ AI เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยจากการคาดการณ์พบว่า ในปี ค.ศ. 2027 มูลค่าตลาด AI จะเพิ่มขึ้นถึง 267 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 8 แสนล้านบาท โดยในบทความนี้ KATALYST จะพาคุณลงลึกเรื่อง AI ว่ามีประโยชน์อย่างไรในการทำธุรกิจ

 

ทำความเข้าใจ AI เบื้องต้น

AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ คือ เทคโนโลยีด้านระบบการประมวลผลที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูล ทั้งเรียนรู้ชุดคำสั่งและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของ AI ทำให้สามารถนำมาต่อยอดและพัฒนาธุรกิจ ทั้งในด้านการบริหารจัดการและการตลาดได้

สำหรับรูปแบบการทำงานของ AI มีการเชื่อมโยงองค์ประกอบซ้อนกันหลายอย่างทั้ง Machine Learning และ Deep Learning โดยแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดดังนี้

  • Machine Learning คือ การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยใช้ข้อมูลเป็นสื่อการเรียนรู้ ซึ่งจะเน้นไปที่การจดจำลักษณะเด่นเพื่อจำแนกความแตกต่างของข้อมูลเป็นหลัก
  • Deep Learning คือ การเรียนรู้ของระบบคอมพิวเตอร์ผ่านการจำลองรูปแบบการประมวลผลของสมองมนุษย์ โดยใช้โครงข่ายคล้ายกับเซลล์ประสาทในการกรองข้อมูลเชิงลึก ซึ่งสามารถคาดการณ์และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้อีกด้วย

โดยองค์ประกอบของ AI ยังสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามรูปแบบของกระบวนการนำ AI มาใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น

  • Natural Language Processing: NLP คือ การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและประมวลผลภาษามนุษย์ ทั้งรูปแบบตัวอักษรและเสียงพูด โดยตัวอย่างการใช้ NLP ในธุรกิจ เช่น Siri ของ Apple หรือ Alexa ของ Amazon เป็นต้น
  • Computer Vision คือ การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพื่อจำแนกความแตกต่าง อย่างตำแหน่งที่ตั้งหรือลักษณะของวัตถุในภาพ โดยตัวอย่างธุรกิจที่นำ Computer Vision มาปรับใช้ เช่น Waymo ที่สร้างรถบรรทุกอัจฉริยะไร้คนขับเพื่อขนส่งสินค้าของบริษัท Google เป็นต้น
  • Robotics คือ การออกแบบและพัฒนาเครื่องกลหรือหุ่นยนต์ให้สามารถตอบโจทย์การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างการใช้ Robotics ในธุรกิจ เช่น หุ่นยนต์ในสายการผลิตอุตสาหกรรม และ Drone สำหรับขนส่งสินค้า เป็นต้น
  • Expert System คือ การสร้างความชำนาญเฉพาะทางให้กับระบบคอมพิวเตอร์ โดยป้อนข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญให้กับระบบ เพื่อให้ AI สามารถทำงานแทนผู้เชี่ยวชาญได้ เช่น ระบบซื้อขายหุ้น หรือ ระบบวินิจฉัยโรค เป็นต้น

5 ประโยชน์ของ AI กับการใช้งานในทางธุรกิจ

 

1. AI ช่วยให้การทำ Personalized Marketing แม่นยำมากขึ้น

การทำ Personalized Marketing คือ การทำการตลาดที่ออกแบบเฉพาะบุคคล จากประสบการณ์ของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย และด้วยคุณสมบัติของ AI ในการประมวลผลและคาดการณ์ข้อมูล ทำให้การทำการตลาดแบบ Personalized Marketing นั้นแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างการใช้ AI ในการทำ Personalized Marketing จะเห็นได้จาก Starbucks โดย Startbucks นั้นเริ่มใช้ AI เพื่อเสนอส่วนลดให้กับสมาชิกผ่าน E-mail โดยสินค้าที่มีส่วนลดจะเป็นเมนูที่ใกล้เคียงกับเมนูที่ลูกค้าสั่งประจำ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความชอบของลูกค้า ซึ่งการส่งส่วนลดในเมนูที่ลูกค้าชอบ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าที่ Starbucks

2. สำรวจพฤติกรรมลูกค้าผ่านระบบ Facial Recognition

Facial Recognition เป็นหนึ่งในประโยชน์ของ AI โดยระบบดังกล่าวคือ ความสามารถในด้าน Computer Vision ซึ่งสามารถจดจำใบหน้าของมนุษย์ หรือจำแนกและสำรวจตำแหน่งของสิ่งของภายในพื้นที่ได้ โดยการนำ Facial Recognition มาปรับใช้ในธุรกิจ ช่วยให้การสำรวจพฤติกรรมของลูกค้านั้นแม่นยำมากขึ้น จะเห็นได้จากกรณีศึกษาของ Walmart ที่เปลี่ยนร้านค้าธรรมดา ให้เป็นร้านค้าแห่งอนาคตด้วย AI

Walmart นำ AI เข้ามาใช้ในการจัดการร้านค้า โดยเฉพาะระบบ Facial Recognition ซึ่งระบบดังกล่าวทำงานโดยการจดจำใบหน้าลูกค้า จากนั้นจึงติดตามพฤติกรรมของลูกค้าภายในร้าน เช่น เมื่อลูกค้าหยิบขนมปังออกจากชั้นวางจนหมด ระบบจะแจ้งเตือนพนักงานให้มาเติมขนมปังบนชั้นวาง ซึ่งช่วยลดการเสียโอกาสในการขายสินค้า ในกรณีที่สินค้าหมด เป็นต้น

 

3. Robotics อนาคตแห่งการขนส่งสินค้า

การใช้งาน Robotics หรือหุ่นยนต์ในธุรกิจนั้นมีมานานแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคการผลิตเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันการใช้งานหุ่นยนต์มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ผ่านการป้อนคำสั่งในส่วนของ Machine Learning โดยเฉพาะในด้านขนส่งสินค้า (Delivery Robot) ซึ่งมีหลายแบรนด์เริ่มต้นใช้งานจริงแล้วอย่าง JD.Com

โดยในกรณีของ JD.Com สิ่งที่น่าสนใจคือ พวกเขาเป็นธุรกิจ E-Commerce เจ้าใหญ่ในประเทศจีน ซึ่งการขนส่งสินค้าบางครั้งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากภูมิประเทศที่ไม่อำนวย ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่งที่นานขึ้น ดังนั้นการใช้โดรนขนส่งสินค้าจึงเป็นทางออกของปัญหาดังกล่าว ซึ่งช่วยลดระยะเวลาจากเดิม 2 ชั่วโมงให้เหลือเพียงแค่ 20 นาที เท่านั้น

 

4. AI ตัวช่วยจัดการปัญหาคลังสินค้า

ในบางธุรกิจที่มีสินค้าในคลังจำนวนมาก อาจจะไม่รู้ว่าสินค้าไหนมีประสิทธิภาพ หรือสินค้าไหนที่ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น AI จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการปัญหาคลังสินค้า ด้วยระบบการวิเคราะห์ข้อมูล คลังสินค้า ซึ่งทาง H&M ได้นำ AI มาแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายมากกว่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1 หมื่น 2 พันล้านบาท

H&M ประสบปัญหาด้านคลังสินค้า เนื่องจากพวกเขามักมีสินค้าที่ขายไม่ออกจนทำให้ต้องนำสินค้ามาลดราคาเพื่อระบายสินค้าออก ซึ่งจากการใช้ AI วิเคราะห์จึงพบว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สินค้าขายไม่ออก คือ พวกเขามีกลยุทธ์ในการวางสินค้าที่คล้ายคลึงกัน 4,288 สาขาทั่วโลก

หลังจากทราบปัญหาดังกล่าว H&M จึงใช้ระบบ AI ในการทำ Localization ผ่านการ วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละสาขา เพื่อจัดวางสินค้าให้ตรงตามความต้องลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น ร้าน H&M สาขา Stockholm พบว่าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และสินค้าที่ราคาแพงมักขายได้มากกว่าสินค้าราคาถูก ซึ่งการพบ Insignt ของลูกค้าจะช่วยลดปัญหาสินค้าไม่ตอบโจทย์ลูกค้าในที่สุด

 

5. AI กับการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้า

การวิจัยและพัฒนาสินค้า (Research and Development) เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน โดย AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัย เพื่อนำไปพัฒนาให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยหนึ่งในตัวอย่างการพัฒนาสินค้าด้วย AI ที่น่าสนใจมาจากแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Coca Cola

Coca Cola ใช้ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า และนำข้อมูลมาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าในที่สุด โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจาก AI คือ Cherry Sprite ซึ่งข้อมูลในการผลิตสินค้า ได้มาจากการวิเคราะห์พฤติกรรมของวัยรุ่นในการกดน้ำดื่ม ซึ่งลูกค้ามักจะผสมรสชาติน้ำดื่มเอง โดย AI ได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และคาดการณ์ส่วนผสม จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ Cherry Sprite ในที่สุด

 

Summary

ประโยชน์ของ AI ในการทำธุรกิจมีหลายด้าน ทั้งในด้านการทำการตลาด ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจพฤติกรรมลูกค้ามากยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งใช้ AI เพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาภายในร้าน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับธุรกิจ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีเทคโนโลยีอีกมากที่ช่วยพัฒนาธุรกิจอย่าง Blockchian และ Big Data ที่พร้อมเป็นส่วนเติมเต็มให้ธุรกิจพัฒนาอย่างยั่งยืน

Entrepreneurship พัฒนาแนวคิดแบบผู้ประกอบการ ฉบับ Startup

Posted on by admin_beacon_2024

สำหรับคุณแล้ว การจะเป็นผู้บริหารธุรกิจที่ดีได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?

ในบทความนี้เราจะพูดถึงหนึ่งในคุณสมบัติที่จะช่วยนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จที่มีขื่อว่า Entrepreneurship สิ่งนี้คืออะไร? และเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจอย่างไร? หาคำตอบได้ที่นี่!

 

Entrepreneurship สำคัญอย่างไรต่อการทำธุรกิจ

Entrepreneurship คือ ความเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งแสดงออกผ่านแนวความคิดและการกระทำของแต่ละบุคคล โดยคนที่มีความเป็นผู้ประกอบการมักจะมี Entrepreneurial Mindset หรือแนวคิดของผู้ประกอบการอยู่ภายในตัว

แล้วแนวคิดของผู้ประกอบการมีลักษณะอย่างไร?

  • มี Leadership สูง เป็นผู้นำในการตัดสินใจได้อย่างดีเยี่ยม
  • มองภาพรวมธุรกิจได้รอบด้าน มีแผนการรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเสมอ
  • มีความกล้าในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
  • มองเห็นโอกาสในการต่อยอดในการสร้างธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม “คนที่มี Entrepreneurship ไม่จำเป็นต้องเป็นนักธุรกิจธุรกิจเสมอไป ใครๆ ก็สามารถมีได้แม้ไม่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง” ยกตัวอย่างเช่นพนักงานบริษัท ถ้าหากมีแนวคิดดังกล่าวก็สามารถแก้ไขปัญหา สร้างคุณค่าให้กับองค์กร และกลายเป็นคนที่มีคุณภาพภายในองค์กรนั้นๆ ได้เช่นเดียวกัน

 

ตัวอย่าง Entrepreneurship จาก 3 Founder แห่ง AirBnB

Nathan BlecharczykBrian Chesky และ Joe Gebbia สามผู้ก่อตั้ง AirBnB คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการมี Entrepreneurship อยู่ในตัว และนำมาปรับใช้จนสามารถสร้างธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกได้ โดยพวกเขาหาโอกาสและพัฒนาไอเดียจากรูปแบบธุรกิจบริการที่พักอาศัยอย่างโรงแรม สู่การเปลี่ยนพื้นที่ว่างภายในห้องพักให้สามารถทำเงินได้ด้วยตัวเอง

เดิมทีธุรกิจห้องพักมักจะอยู่ในรูปแบบของโรงแรม หรืออพาร์ทเมนต์ แต่พวกเขาสามารถมองเห็นโอกาสในการเปิดให้นำพื้นที่ว่าง หรือห้องว่างมาเพื่อเป็นที่พักอาศัยได้ ผ่าน Platform ของพวกเขา

ซึ่งในปัจจุบัน AirBnB มี Host กว่า 4,000,000 รายที่เปิดให้บริการที่พักภายใน Platform

AirBnB จึงสามารถเริ่มธุรกิจโรงแรมของตัวเองได้ โดยแทบจะไม่ต้องลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ด้วยตัวเอง เพียงแค่มองหาโอกาส ใช้ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์กับลูกค้าเท่านั้น

เรามาดูตัวอย่างการใช้ Entrepreneurship เพื่อบริหารธุรกิจจาก Founder ทั้ง 3 นี้กัน

  • จุดเริ่มต้นของธุรกิจที่เริ่มต้นมาจากมุมมองที่แตกต่าง

จุดเริ่มต้นของ AirBnB เริ่มต้นจากปัญหาที่ Brian Chesky และ Joe Gebbia นั้นประสบปัญหาด้านค่าเช่าที่พักในปี 2007 จึงทำการแบ่งพื้นที่ภายในบ้านพักของตัวเองเพื่อเปิดให้คนอื่นมาเช่าพักเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายหมุนเวียน

หลังจากที่มีคนมาเช่า พวกเขากลับได้ไอเดีย และชักชวน Nathan Blecharczyk เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ และต่อยอดมันขึ้นมาจนกลายเป็น AirBnB ขึ้น

แต่หนทางสู่ความสำเร็จนั้น กลับไม่ได้เรียบง่ายเหมือนไอเดียที่วางไว้

การเปิดตัวในปี 2008 ผลตอบรับของ AirBnB ไม่ได้ดีตามคาด ด้วยอคติจากนักลงทุนที่ว่า “ทำไมถึงต้องยอมให้คนแปลกหน้าเข้ามาพักภายในบ้านของตัวเอง”

จนกระทั่งไอเดียของพวกเขาก็เข้าตา Paul Graham ผู้ก่อตั้ง Y Combinator ทำให้พวกเขาสามารถระดมทุนจำนวนมหาศาล และกลายเป็น AirBnB อย่างที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้

Note: Y Combinator คือ Startup Accerelator ที่คอยให้สนับสนุนเพื่อ “เร่ง” อัตราการเติบโตและเพิ่มมูลค่าธุรกิจ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ที่ทำให้ Dropbox และ AirBnB ประสบความสำเร็จในทุกวันนี้

  • มองเห็นภาพรวมธุรกิจได้รอบด้าน และมีแผนการรองรับความเสี่ยง

อย่างที่หลายๆ คนทราบกันดี ในช่วงปีที่ผ่านมาการระบาดของ COVID-19 นั้นได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปยังธุรกิจท่องเที่ยว และการโรงแรม ซึ่งรวมถึง AirBnB ด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ Brian Chesky จึงตัดสินใจปรับ Service ของแอปพลิเคชันให้ตอบโจทย์กับสถานการณ์มากขึ้น โดยการให้บริการ Online Experience เช่น ท่องเที่ยวปารีส ชมคอนเสิร์ต หรือแม้แต่การเรียนทำอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งหมด

ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 สามารถกลับมาทำกำไรได้ หลังจากที่ขาดทุนมาตลอดทั้งปี

รวมไปถึงการตัดสินใจนำ AirBnB เข้าสู่ IPO ท่ามกลางภาวะวิกฤตทั้งที่ใครๆ ก็บอกว่าเสี่ยง แต่ Brian Chesky กลับประเมินว่า หากสามารถฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้ จะสามารถกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดดได้อีกครั้ง

ผลจากการตัดสินใจเข้า IPO นี้ ทำให้หุ้นของ AirBnB ราคาขึ้นกว่า 2 เท่าภายในวันแรกที่เปิดตัว (ราคาเดิมอยู่ที่ 68 ดอลลาร์ ปิดตลาดในวันแรกที่ราคา 144.71 ดอลลาร์ หรือประมาณ 4,452 บาท) และได้รับการจัดอันดับให้เป็นหุ้นในกลุ่มชั้นเยี่ยม

ปัจจุบันมีนักลงทุนได้ทำการประเมินว่า ภายในปี 2024 มูลค่ากิจการของ AirBnB จะสามารถแซงหน้ากิจการโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Marriott International ที่ปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาทได้

นี่คือสิ่งที่สะท้อนถึงการมี Entrepreneurship อยู่ในตัวของ Brian Chesky ผ่านการเลือกวิธีแก้ไขปัญหาที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบธุรกิจเดิม ในเมื่อผลิตภัณฑ์ไม่สามารถสร้างรายได้ แทนที่จะจมกับปัญหา เขาเลือกสร้างสินค้าใหม่แต่ยังคงเอกลักษณ์เดิมไปพร้อมกับมองหาเส้นทางในอนาคตของแบรนด์ไปพร้อมๆ กัน

แนวทางการพัฒนา Entrepreneurship ในตัวเอง

1. มองให้เห็นโอกาสที่อยู่รอบตัว

“โอกาสอยู่รอบตัว” ประโยคนี้ไม่ได้เป็นคำกล่าวเกินจริงแต่อย่างใด การหมั่นสังเกตสิ่งรอบตัวจะช่วยให้เรามองเห็นปัญหาและโอกาสที่ซุกซ่อนอยู่รอบตัว ซึ่งคนที่มีแนวคิดผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักหยิบปัญหาที่เจอ มาแก้ไขและสร้างโอกาสในการทำธุรกิจต่อไป

ยกตัวอย่างกรณีของแอปพลิเคชันเรียกรถโดยสารสาธารณะชื่อดังอย่าง UBER

สำหรับต่างประเทศนั้น ในวันที่มีหิมะตกหนักจะทำให้หารถแท็กซี่นั้นยากมาก ซึ่ง Garrett Camp กับ Travis Kalanick นั้นก็ประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน

จึงเป็นเหตุให้พวกเขาได้ไอเดียว่า “จะดีแค่ไหนถ้าสามารถเรียกรถโดยสารสาธารณะด้วยโทรศัพท์มือถือจากที่ไหนก็ได้?” และจึงนำแนวคิดนี้มาพัฒนาแอปพลิเคชัน ทำให้ UBER ถือกำเนิดขึ้น

จากโอกาสเล็กๆ ที่มองเห็นจากปัญหาที่เกิดขึ้นรอบตัว จึงทำให้ UBER ประสบความสำเร็จอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

2. คิดแตกต่าง

ไม่เพียงแค่หมั่นสังเกตเท่านั้น แต่ Entrepreneurship ต้องคิดต่างจากคนอื่นด้วย หากทุกคนคิดเหมือนกันหมด ธุรกิจหรือนวัตกรรมก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยลง ซึ่งการฝึกความคิดต่างสามารถทำได้ด้วยการตั้งโจทย์จากคนรอบตัว คอยดูว่าคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร จากนั้นจึงลองศึกษาโจทย์ให้รอบด้านมากขึ้น และมองหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ ก็จะช่วยฝึกนิสัยการคิดต่างได้

ยกตัวอย่างเช่น Nikos Scarlatos CEO ของ PARKGENE สตาร์ทอัพจากประเทศกรีซ ที่มองการแก้ไขปัญหาที่จอดรถไม่พอแตกต่างจากคนอื่น คนส่วนใหญ่เมื่ออยากทำธุรกิจเกี่ยวกับที่จอดรถ มักจะสร้างลานจอดรถ แต่เขามองต่าง เขามองว่าพื้นที่จอดรถนั้นมีอยู่เต็มไปหมด ขึ้นอยู่กับว่าจะจอดรถได้หรือเปล่า

ดังนั้นเขาจึงสร้าง PARKGENE แอปพลิเคชันให้เช่าที่จอดรถ เปลี่ยนพื้นที่ว่างภายในบ้านให้กลายเป็นที่จอดรถ ในรูปแบบ Peer-to-Peer นอกจากนี้ Nikos ยังพัฒนาธุรกิจให้แตกต่างด้วย Blockchain โดยสร้างเหรียญ PARKGERE ให้คนที่ใช้แอปพลิเคชันนั้นใช้ชำระค่าบริการ ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าทั้งด้านธุรกิจและในตลาด Cryptocurrency

3. กล้าเผชิญกับอุปสรรค

การทำธุรกิจมักมาพร้อมกับอุปสรรคเสมอ ดังนั้นคนที่ต้องการพัฒนา Entrepreneurship เมื่อเจออุปสรรคไม่ควรหนีปัญหา แต่ควรหาทางรับมือและแก้ไขปัญหาเพื่อให้ผ่านอุปสรรคไปได้ ซึ่งการเผชิญอุปสรรคบ่อยครั้งจะช่วยฝึกความคิดสร้างสรรค์และฝึกทักษะในการแก้ไขปัญหาไปในตัว

ยกตัวอย่างเช่น Steve Jobs หลังจากโดน Apple บริษัทที่เขาก่อตั้งไล่ออกในปี 1985 แต่ด้วยความเป็นผู้ประกอบการในตัว เขาไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค โดยเขาก่อตั้ง NeXT บริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยขึ้น ซึ่งสุดท้ายในปี 1997 หลังจาก Apple ประสบปัญหาทางการเงิน พวกเขาต้องยอมซื้อบริษัท NeXT เพื่อดึงตัว Steve Jobs กลับไปบริหารเหมือนเดิม

4. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

การตั้งเป้าหมายมีไว้เพื่อให้สำรวจตัวเองว่าพัฒนามากขึ้นแค่ไหน หากเป้าหมายในการทำธุรกิจหรือการดำรงชีวิตชัดเจน จะช่วยเสริมความมั่นใจระหว่างทาง และเป็นเครื่องยืนยันว่าเส้นทางที่เลือกเดินนั้นถูกต้องแล้วโดยการตั้งเป้าหมายสามารถฝึกได้ง่ายๆ ตั้งแต่เรื่องเล็กๆในชีวิตประจำวัน อย่างการตั้งเวลาตื่นนอนหรือการออกกำลังกาย เป็นต้น

หากจะยกใครสักคนเป็นตัวอย่างในการฝึกตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน คงหนีไม่พ้น Elon Musk เพราะชายคนนี้เป็นคนที่เอาจริงเอาจังกับเป้าหมายจนนำมาปรับใช้ในธุรกิจ อย่างล่าสุดที่เขามีเป้าหมาย ในการช่วยเหลือมนุษยชาติ จนเกิด SpaceX ธุรกิจที่ศึกษาด้านอวกาศ รวมถึงการพัฒนาบริษัทด้านพลังงานสะอาดอย่าง Tesla และ Solarcity ที่ช่วยลดการปล่อยมลภาวะ ยืดอายุโลกใบนี้ให้นานยิ่งขึ้น

5. ฝึกการตัดสินใจให้เด็ดขาด

การฝึกตัดสินใจถือเป็นหัวใจสำคัญของ Entrepreneurship เนื่องจากการทำธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับการตัดสินใจ ซึ่งการตัดสินใจส่วนใหญ่มักไม่มีโอกาสให้แก้ตัวเป็นครั้งที่สอง ดังนั้นความเด็ดขาดจึงเป็นหัวใจสำคัญที่สนับสนุนการตัดสินใจ เพราะถ้าตัดสินใจผิดก็ต้องพร้อมรับมือและแก้ไข ไม่มีลังเลหรือเสียใจที่ตัดสินใจพลาดไป มีแต่การเดินหน้าแก้ไขปัญหาเท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น Ben Horowiz นักลงทุนและผู้เขียนหนังสือ “The Hard Thing About Hard Things: Building a Business When There Are No Easy Answers” หนังสือที่เล่าประสบการณ์การตัดสินใจที่ยากในการทำธุรกิจหลายครั้ง ทั้งการปลดพนักงานเพื่อพยุงบริษัทที่ใกล้ล้มละลาย หรือการเลือกขายหุ้นบริษัท Loudcloud เพื่อช่วยให้บริษัทรอดพ้นในวิกฤต Dot Com

โดยในการตัดสินใจแต่ละครั้งของ Ben Horowiz มีจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ เขาพร้อมรับมือกับผลตอบรับในการตัดสินใจเสมอ ไม่ว่าการสร้างความเชื่อมั่นใจกับพนักงานที่ยังอยู่ หรือการตระเวนขายหุ้นเพื่อให้บริษัทอยู่รอด โดยเขาได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับทักษะจำเป็นต่อประสบความสำเร็จของธุรกิจ คือ “ความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ในสถานการณ์ที่ทุกทางเลือกนั้นล้วนเลวร้ายไปซะหมด”

 

Summary

Entrepreneurship หรือแนวคิดของผู้ประกอบการ เป็นสิ่งที่เสริมศักยภาพของภายในบุคคล ทั้งคนที่มีและไม่มีธุรกิจของตัวเอง หากแนวคิดนี้มีในนักธุรกิจก็จะสร้างธุรกิจที่แตกต่างหรือมีความสามารถในการแก้ไขปัญหา แต่ถ้าอยู่ในพนักงาน คนคนนั้นก็จะกลายเป็นคนสำคัญขององค์กร

สำหรับใครที่พบว่าตัวเองไม่มีลักษณะของ Entrepreneurship ก็อย่าเสียใจไป เพราะแนวคิดนี้เป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ ขอแค่เพียงตั้งใจ มีวินัย และลงมือทำอย่างจริงจัง ก็จะสามารถเพิ่มแรงผลักดันให้ไปสู่ความสำเร็จได้

ที่มา:

Kasikornbank to support FlowAccount in giving out free online accounting software for KBank SME customers, assisting SMEs to brave the Covid-19 pandemic

Posted on by admin_beacon_2024

Kasikornbank aims to support Thai SMEs to grow sustainably amidst the Covid-19 pandemic by giving out 1,000 FlowAccount software packages, with a total value of 3 million Baht, to KBank SME customers. This campaign hopes to boost SME’s operation efficiency and awareness of its financial health, thereby increasing the ability to access capital and resilience to tolerate future crises. FlowAccount is an online accounting software startup backed by Kasikornbank’s own venture capital – Beacon VC.

Mr. Pipavat Bhadranavik, Executive Vice President of Kasikornbank, reveals that the recent pandemic significantly affected Thai SMEs’ financial vitality, plaguing their daily operations and disrupting their cash flow. SMEs must be well-equipped with the knowledge of their company’s financial health and make an informed strategy to manage their liquidity. Kasikornbank is, therefore, looking to support its SMEs by offering an easy-to-use online accounting software so that the SME owners can be more efficient and managing their businesses anywhere and anytime.

Kasikornbank will give FlowAccount software to 1,000 KBank SME customers without any charges for one year, totaling in campaign value of 3 million Baht. Kasikornbank is looking to offer this campaign to SMEs in many industries, including but not limited to wholesalers, retailers, service, transportation, and communication.

Mr. Kridsada Chutinanton, Co-founder and CEO of FlowAccount, commented that Kasikornbank has long been the champion of Thai SMEs, allowing the bank to truly understand the pain points of the SMEs in doing accounting and the problems that lax accounting practice can create. FlowAccount is in the right sweet spot to solve those pains. The software is purely cloud-based and will help SME owners to do accounting at ease. By issuing or paying an invoice on FlowAccount, the system will auto synchronize the transaction and book-keep the transaction, then aggregating all the transactions into a summary that the SME owners can use to supplement business decisions – all viewable on the website and mobile phone. The software also shortens the time to do accounting and reduces mistakes compared to doing it on Excel or using pen and paper.

Mr. Thanapong Na Ranong, Managing Director of Beacon VC, further noted that Beacon VC invested in FlowAccount since 2017. FlowAccount has, over the years, always strived to innovate and develop new ways to serve the needs of SME owners. This collaboration will help the KBank SME customers do better accounting and grow the FlowAccouunt customer base. This mutual benefit between Kasikornbank or its customers and Startup is one of the many objectives that Beacon VC hopes to achieve when making an investment.


Founded in 2015, FlowAccount is an easy-to-use cloud accounting solution designed specifically for Thai small businesses. Our fintech software helps small business owners with invoicing, expense tracking, payroll, and reporting. Our goal is to make world-class software that helps small businesses save time, improve productivity, and ultimately increase their probability of success.

Founded in 2017, Beacon VC is a wholly-owned corporate venture capital fund of Kasikornbank PLC (SET: KBANK), a leading commercial bank in Thailand with the highest mobile penetration and largest SME base. With an initial fund of $30 million, Beacon VC focuses on strategic investments in early to growth-stage technology startups covering not only financial technology (fintech) but also consumer internet and enterprise technology. In 2020, Beacon VC expanded its fund size to $185 million.

กสิกรไทยมุ่งเสริมแกร่ง SME โตแบบเข้มแข็งสู้วิกฤตโควิด 19

Posted on by admin_beacon_2024

กสิกรไทย หนุน FlowAccount สตาร์ทอัพบัญชีออนไลน์ ส่งโปรแกรมบัญชีให้ SME ใช้ฟรี มูลค่ารวม 3 ล้านบาท หวังให้ SME ทำบัญชีเป็นระบบ เสริมแกร่งธุรกิจสู้โควิด 19

กสิกรไทยมุ่งเสริมแกร่ง SME โตแบบเข้มแข็งสู้วิกฤตโควิด 19 แจกฟรีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ FlowAccount โปรแกรมบัญชีของธุรกิจสตาร์ทอัพที่ใช้งานง่าย ให้กับลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคารจำนวน 1,000 ราย มูลค่ารวม 3 ล้านบาท หวังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจอย่างเป็นระบบ รู้สถานะทางการเงิน ช่วยบริหารต้นทุน สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และช่วยหนุนให้ธุรกิจเดินต่อได้แม้เผชิญกับสถานการณ์วิกฤต

นายพิภวัตว์ ภัทรนาวิก รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งฉุดเศรษฐกิจโดยรวมให้ลดต่ำลง ส่งผลให้เอสเอ็มอีจำนวนมากได้รับผลกระทบในการดำเนินธุรกิจ ต้องปรับตัวรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้น ซึ่งการมีข้อมูลที่พร้อมนำมาใช้ในการวิเคราะห์สถานะและวางแผนในการทำธุรกิจได้ทันที จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ธนาคารจึงพร้อมสนับสนุนให้ SME นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการธุรกิจ เพื่อให้การจัดการธุรกิจสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ เจ้าของธุรกิจสามารถดูข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ

ด้วยเหตุนี้ ธนาคารกสิกรไทย จึงแจกโปรแกรมบัญชีออนไลน์ FlowAccount โปรแกรมบัญชีของสตาร์ทอัพที่ใช้งานง่าย ให้กับลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของธนาคารจำนวน 1,000 ราย ให้ใช้ฟรีเป็นระยะเวลา 1 ปี มูลค่ารวม 3 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจมีการจัดการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และสามารถนำข้อมูลมาปรับใช้รับมือกับวิกฤตที่เข้ามาได้อย่างรวดเร็ว โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขนาดเล็กในกลุ่มอุตสาหกรรมค้าส่ง, ค้าปลีก, บริการ, ขนส่ง และสื่อสาร ที่สนใจใช้บริการโปรแกรมบัญชีออนไลน์

นายกฤษฎา ชุตินธร ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โฟลว์แอคเคาท์ จำกัด สตาร์ทอัพผู้พัฒนาโปรแกรมบัญชีออนไลน์ FlowAccount เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยเป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดและมีประสบการณ์ในการดูแลธุรกิจ SME มานาน ทำให้เข้าใจถึงปัญหาที่ผู้ประกอบการไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ เพราะขาดการทำบัญชีที่เป็นระบบและถูกต้อง ซึ่งโปรแกรมบัญชี FlowAccount เป็นระบบบัญชีออนไลน์บนคลาวด์ที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว เพียงแค่ออกเอกสารทางธุรกิจใน FlowAccount ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลจากเอกสารมาบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติ พร้อมสรุปยอดขายและรายจ่ายในแดชบอร์ดที่ดูได้ทั้งในเว็บไซต์และมือถือ และนำข้อมูลไปใช้วางแผนธุรกิจต่อได้ทันที ช่วยผู้ประกอบการลดเวลาการทำบัญชีในโปรแกรม Excel หรือการเขียนเอกสารด้วยมือเอง และยังป้องกันการคำนวณผิดพลาด หรือการทำเอกสารสูญหาย ทั้งหมดนี้เป็นการเปลี่ยนวิธีการทำบัญชี ให้สามารถเริ่มต้นทำด้วยตนเองอย่างง่ายๆ และยังทำงานสะดวกได้ทุกที่ทั้งในคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และมือถือ ไม่ติดกับข้อจำกัดว่าต้องทำบัญชีแต่ในออฟฟิศอีกต่อไป

นายธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด เปิดเผยว่า FlowAccount เป็นสตาร์อัพที่บีคอนฯ ได้ร่วมลงทุนมาตั้งแต่ปี 2560 ในช่วงที่ผ่านมา FlowAccount ได้พัฒนาและนำเสนอบริการใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการให้กับผู้ประกอบการ SME มาอย่างต่อเนื่อง และจากความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจาก FlowAccount จะช่วยผลักดันลูกค้าธนาคารให้สามารถทำบัญชีได้ง่ายและเป็นระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจยิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นโอกาสของ FlowAccount ต่อการขยายฐานสมาชิกการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้กว้างขวางมากขึ้น ความร่วมมือดังกล่าวเป็นตัวอย่างของเป้าหมายในการลงทุนของบีคอนฯ ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนสตาร์ทอัพ เพื่อยกระดับเทคโนโลยีทางการเงินหรือฟินเทคในภาคธุรกิจไทยให้ยั่งยืนและแข่งขันได้ และสร้างประโยชน์และความสามารถในการแข่งขันให้กับลูกค้าของธนาคารกสิกรไทย