Month: January 2021

Smart Agriculture การเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

Posted on by admin_beacon_2024

ภาคการเกษตรเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งสร้างงานอันดับ 1 ของประเทศ ถึงแม้ว่าภาคการเกษตรจะมีความสำคัญมากแค่ไหน แต่รายได้ของเกษตรกรกลับสวนทาง เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนรายได้สุทธิจากการเกษตร ที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ไม่ถึง 50% ของรายได้ในครัวเรือน สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่ภายใน หนึ่งในนั้นคือปัญหาการควบคุมผลผลิตและต้นทุนที่สูงเกินไป ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วย Smart Agriculture

 

Smart Agriculture คืออะไร

 

Smart Agriculture หรือ Smart Farm คือ การเกษตรแบบใหม่ ที่เปลี่ยนวิธีการดำเนินงานแบบเก่า มาใช้ข้อมูล (Data) และเทคโนโลยีในการบริหารงานเกษตร เพื่อค้นหาวิถีการทำงานให้เหมาะสมและสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่ยั่งยืน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เพิ่มกำไรให้มากยิ่งขึ้น

 

หัวใจหลักของการทำ Smart Agriculture

  • ข้อมูล เป็นพื้นฐานในการทำการเกษตร โดย Smart Agriculture ต้องพึ่งพาข้อมูลในการวิเคราะห์ หาแนวทางที่ดีที่สุดในการทำงาน รวมถึงคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หากมีข้อมูลมากเพียงพอก็จะสามารถลดปัญหา และนำไปสู่การพัฒนาผลผลิตให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
  • เทคโนโลยี เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรแม่นยำมากขึ้น ผ่านการนำเทคโนโลยีมาวิเคราะห์ปัจจัยทางการผลิต ทั้งสภาพอากาศและค่าดิน นอกจากนี้เทคโนโลยียังช่วยลดขั้นตอนและลดต้นทุนการใช้แรงงานในการทำการเกษตร

ตัวอย่างเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ด้าน Smart Agriculture

  • Drone (โดรน) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการบินเพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่ เพื่อนำไปวิเคราะห์และหาแนวทางการจัดการพื้นที่ ตัวอย่างโดรนที่ใช้ในการทำเกษตร เช่น Droneseed และ Sense Fly เป็นต้น
  • Climate Condition Monitoring เป็นเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ผ่านเซนเซอร์ที่ติดตั้งภายในสวน ซึ่งเซนเซอร์จะเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมและส่งต่อไปยัง Cloud เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไป ตัวอย่างเครื่องมือในด้านนี้ เช่น allMeteo และ Pycno เป็นต้น
  • Greenhouse Automation สำหรับฟาร์มที่ทำการเกษตรแบบโรงเรือน ระบบนี้จะช่วยในการจัดการงานให้อัตโนมัติ ด้วยการตรวจจับสภาพแวดล้อมภายในผ่านเซนเซอร์ เช่น อุณหภูมิ แสง และดิน ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ด้าน Greenhouse Automation เช่น Growlink และ GreenIQ เป็นต้น
  • Crop Management ระบบการจัดการการเพาะปลูก โดยวิเคราะห์ตั้งแต่สภาพหน้าดิน แร่ธาตุในดิน ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ไปจนถึงอุณหภูมิ ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงในการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ด้านการจัดการการเพาะปลูก เช่น Arable และ Semios เป็นต้น
  • Predictive Analytic ระบบการคาดการณ์ล่วงหน้า เป็นการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการทำ Data Analytics เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ผลการผลิตล่วงหน้า ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเพาะปลูก ตัวอย่างผู้ให้บริการด้าน Predictive Analytics เช่น SoilScout และ Crop Performace เป็นต้น
  • Management System ระบบการจัดการฟาร์ม เป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนการจัดการจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ ด้วยการเชื่อมต่อและรวบรวมข้อมูลจากระบบ IoT ที่ติดตั้งภายในฟาร์ม ลงในแอปพลิเคชัน ทำให้เกษตรกรสามารถติดตามผลผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่ช่วยด้านการจัดการฟาร์ม เช่น Cropio และ FarmLogs
  • Cattle Monitoring ระบบติดตามและจัดการสัตว์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการดูแลสัตว์ภายในฟาร์ม เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำปศุสัตว์ โดยระบบดังกล่าวช่วยติดตามข้อมูลตั้งแต่ ตำแหน่งที่อยู่ ไปจนถึงสุขภาพของสัตว์ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ด้าน Cattle Monitoring เช่น SCR by Alflex และ Cowlar เป็นต้น

ความเป็นไปได้ของ Smart Agriculture ในประเทศไทย

ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงการเกษตรไปสู่ Smart Agriculture จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ให้กับเกษตรกรมากมาย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การทำ Smart Agriculture ให้เป็นจริง ยังเป็นหนทางอีกยาวไกล เนื่องจากระบบดังกล่าว พึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีจำนวนมาก ซึ่งการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกรรายย่อยยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก

อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการสร้างระบบที่ค่อนข้างสูง การจัดซื้ออุปกรณ์ รวมถึงค่าบำรุงรักษา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นต้นทุนแฝง (Hidden Cost) ในการสร้าง Smart Agriculture โดยประเด็นด้านต้นทุนและภาระหนี้สินของครอบครัว เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญที่พาเกษตรกรไทยไปไม่ถึงฝัน

 

เป็นไปได้ยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้

หากจะกล่าวว่า Smart Agriculture เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้จริงในไทย คงเป็นคำกล่าวที่เกินจริงไปสักหน่อย ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคหลายอย่าง แต่ก็มีหลายภาคส่วนเข้ามาผลักดันให้ Smart Agriculture เกิดขึ้นจริงในไทย โดยทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้ผลักดันเทคโนโลยีให้เข้าถึง Startup สาย AgriTech หรือ AgTech และพี่น้องเกษตรกรมากยิ่งขึ้น

โครงการที่ NIA จัดตั้งเป็นโครงการที่สนับสนุนด้านนวัตกรรม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) อย่าง AI, Sensor, IoT และ Big Data รวมถึงการนำนวัตกรรมที่ได้ไปทดลองใช้งานจริงกับเกษตรกร ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาความเข้าใจด้านเทคโนโลยีของเกษตรกรมากยิ่งขึ้น อย่างน้อยเมื่อเกษตรกรเข้าใจและเล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี ก็ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้าง Smart Agriculture ให้เป็นจริงมากยิ่งขึ้น

ไม่เพียงแต่การร่วมมือจากหน่วยงาน NIA เท่านั้น แต่ที่สิ่งที่จะผลักดันให้ Smart Agriculture เกิดขึ้นได้จริงในเมืองไทย คือ การสร้าง Roadmap ที่จะกำหนดขอบเขต และแนวทางการพัฒนาอย่างจริงจัง ทั้งจากภาครัฐและเอกชน

โดยภาครัฐต้องสนับสนุนผ่านการลงทุน สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมในราคาที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนในการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกร นอกจากนี้ยังต้องกระตุ้นให้เกิด Ecosystem ในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรภายในประเทศ สนับสนุนกลุ่ม Startup ในไทย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเทคโนโลยี และสร้างโอกาสให้ Startup ไทยเติบโตต่อไป

ตัวอย่างการทำ Smart Agriculture ในไทย กรณีศึกษา Deva Farm

Deva Farm เป็นหนึ่งในข้อพิสูจน์ที่ทำให้เห็นว่า Smart Agriculture สามารถเกิดขึ้นจริงได้ในประเทศไทย โดยฟาร์มนี้ปลูกพืชเมืองหนาวอย่าง ฮอป (Hop) ด้วยการเพาะปลูกแบบโรงเรือนที่ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีแทบทั้งหมด และเป็นการทำเกษตรโดยแทบไม่ต้องใช้คนในการเพาะปลูก

ทาง Deva Farm เริ่มต้นวางระบบด้วยการซื้ออุปกรณ์ด้าน IoT ทั้งหมดตั้งแต่ ระบบวัดอุณหภูมิ ความชื้น ค่าความเข้มแสง ความเร็วลม โดยวางระบบให้ทุกอย่างทำงานสอดคล้องกัน ผ่านการเขียน Python เชื่อมต่อ IoT ผ่าน API แล้วนำมาแสดงผลบน Dashboard ของ Grafana ซึ่งสามารถควบคุมการทำงานภายในฟาร์มได้ผ่านแท็บเล็ตเพียงตัวเดียว

ตัวอย่างระบบการทำงานภายใน Deva Farm

Deva Farm ใช้เซนเซอร์ในการทำงานเป็นหลัก เช่น หากอุณหภูมิสูงกว่าที่ตั้งค่าไว้ เซนเซอร์ที่ตรวจจับได้ จะพ่นหมอกไอน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิ หรือ ระบบการใส่ปุ๋ย ที่ปรับสูตรใส่อัตโนมัติ ตามค่าความชื้นอากาศที่เซนเซอร์วัดได้ในแต่ละวัน เป็นต้น ส่วนเกษตรกรจะมีหน้าที่แค่ดูภาพรวมภายในฟาร์ม แก้ไขปัญหาและซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ เท่านั้น ทำให้ฟาร์มนี้สามารถทำงานได้โดยแทบไม่ต้องใช้แรงงานคน

 

Summary

Smart Agriculture การเกษตรอัจฉริยะที่พร้อมเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรให้สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก แต่สามารถเป็นไปได้ในประเทศไทย เพียงแค่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงเกษตรกรเพื่อสร้าง Ecosystem ให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

KATALYST Talk: Brad Phaisan, CEO Of OmniVirt

Posted on by admin_beacon_2024

สรุปสาระสำคัญจากงาน KATALYST Talk: Brad Phaisan, CEO of OmniVirt

ในวันที่ 12 มกราคม 2564 ทาง KATALYST เชิญคุณแบดด์ ปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ (Brad Phaisan) CEO แห่ง OmniVirt สตาร์ทอัพคนไทยสัญชาติอเมริกา ที่สร้างระบบโฆษณาเสมือนจริง Virtual Reality ให้กับแบรนด์ดังระดับโลกหลายเจ้า มาร่วมแชร์ประสบการณ์ในการทำ Startup ที่ซิลิคอนวัลเลย์ (Silicon Valley) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน

คุณ Brad Phaisan เป็นคนไทย เติบโตในประเทศไทย เริ่มต้นอาชีพด้วยการทำงานที่ Microsoft ในประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงไปทำงานต่อที่ Google ซึ่งที่ Google นี้เองเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิด OmniVirt ขึ้น จากการเข้าโปรแกรม Y Combinator หลักสูตรอบรมผู้บริหารสตาร์ทอัพ ที่มอบทั้งเงินทุน ความรู้และ Connection ที่ดีให้กับคุณ Brad Phaisan

OmniVirt เกิดขึ้นจากความรู้และความเชี่ยวชาญจากการทำงานด้านโฆษณาให้กับ Google จึงเกิดเป็นสตาร์ทอัพด้านโฆษณาขึ้น แต่เมื่อสำรวจตลาดและศึกษาคู่แข่งจึงพบว่าทุกคนทำโฆษณาคล้ายกันหมด ดังนั้น OmniVirt จึงเลือกทำเพื่อสร้างความแตกต่าง คือ การทำโฆษณาเสมือนจริง Virtual Reality หรือ VR

ตกผลึกแนวคิดการทำ Startup จาก คุณ Brad Phaisan
จากประสบการณ์ของคุณ Brad Phaisan ที่ทำสตาร์ทอัพสัญชาติไทยในอเมริกา ทำให้ตกผลึกแนวคิดมากมายที่มีประโยชน์ต่อการทำสตาร์ทอัพ ซึ่งสามารถสรุปแนวคิดได้ดังนี้

1. บริษัทต้อง Global ตั้งแต่ระดับโครงสร้าง
การทำสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จในระดับสากล โครงสร้างบริษัทต้องสากลตามไปด้วย ตั้งแต่การจดทะเบียนบริษัทที่ต้องจดในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทั้งในด้านกฎหมายและด้านธุรกิจ ในส่วนนี้เหมาะสำหรับธุรกิจแบบ B2B ที่ต้องอาศัยความเชื่อใจในการทำธุรกิจร่วมกัน

นอกจากการจดทะเบียนแล้ว ทีมต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) ที่เป็นสากล เพื่อให้องค์กรเกิดความเข้าใจในจุดหมายร่วมกัน ซึ่งทาง OmniVirt ยึดหลักวิสัยทัศน์ที่มองธุรกิจในระดับสากล เป็นหนึ่งในเกณฑ์การรับคนเข้าร่วมทีมอีกด้วย

ส่วนสตาร์ทอัพในไทย หากต้องการสร้างความเป็น Global ต้องเริ่มตั้งแต่การสร้างสินค้าและบริการให้แตกต่าง และสามารถรองรับได้ในระดับสากล เปลี่ยนจากเทคโนโลยีปลายน้ำสู่ต้นน้ำ โดยเริ่มจากการขยายบริการไปยังระดับภูมิภาคก่อน ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการก้าวสู่ระดับสากลต่อไป

2. พัฒนาสินค้าให้รองรับกับความต้องการ
OmniVirt ในวันที่เริ่มต้นจากศูนย์ พวกเขาหาลูกค้าจาก Connection และการทำ Digital Marketing เช่น ทำ SEO ใน Keyword ที่เกี่ยวกับ VR และอัปโหลดคลิปวิดีโอลง YouTube ซึ่งวิธีที่สองทำให้พวกเขาได้ลูกค้าเจ้าใหญ่อย่าง The New York Times

หลังจากมีโอกาสได้ติดต่อเข้าไปขายงานกับลูกค้าแล้ว ลำดับต่อมาคือการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ดังนี้

1. สอบถามความต้องการ แล้วจึงสร้างผลิตภัณฑ์

สำหรับข้อนี้สิ่งที่สตาร์ทอัพจะได้คือ ความต้องการของลูกค้าโดยตรง ลดระยะเวลาในการลองผิดลองถูก ทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงประเด็น

2. เสนอไอเดีย และให้ลูกค้าทดลองใช้

ในส่วนของข้อนี้สตาร์ทอัพจะนำเสนอไอเดียให้กับลูกค้า แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างและประโยชน์ในการเลือกใช้สินค้า เช่น โฆษณาแบบ VR สามารถใช้กับการขายรถยนต์ได้ ด้วยการถ่ายรอบคัน เป็นต้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวลูกค้ามักจะเสนอไอเดียของพวกเขากลับมา ทำให้สตาร์ทอัพสามารถนำไอเดียดังกล่าวไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Virgin ได้เสนอไอเดียเรื่อง การนำ VR ไปใช้ถ่ายโฆษณาในเครื่องบิน พร้อมฟีเจอร์ Interactive เป็นต้น

ทั้งนี้ทาง OmniVirt มักเลือกวิธีการพัฒนาสินค้าแบบที่ 2 เป็นหลัก เพราะนอกจากการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสินค้าแล้ว สิ่งที่ได้รับกลับมาคือ ไอเดียของลูกค้า ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนาบริการต่อได้ โดยการเลือกไอเดียที่มาพัฒนาบริการต่อ มีหลักดังนี้

1. ต้องตอบโจทย์ลูกค้าหลายเจ้า พัฒนาหนึ่งครั้งแต่สามารถสร้างโอกาสในการขายได้มากกว่าเดิม เพราะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้หลายราย

2. ต้องมี Impact ทั้งจำนวนเม็ดเงินที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีความสำคัญต่อความจำเป็นและประสบการณ์ในการใช้งานของลูกค้า (User Experience) ที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด

3. ระยะเวลาต้องพอดี ไม่ใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงที่นานเกินไป

3. การแก้ปัญหาคู่แข่งเยอะ
อย่างที่รู้กันดีว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเต็มไปด้วยสตาร์ทอัพ ยิ่งธุรกิจในด้านสื่อโฆษณายิ่งคู่แข่งเยอะ แต่การที่คู่แข่งเยอะกลับส่งผลดีต่อ OmniVirt พวกเขาจัดการแก้ปัญหาจำนวนคู่แข่งที่มาก ด้วยการหาจุดยืนและจุดขายของบริการ พร้อมทั้งสร้างจุดแข็งไปในตัว

จุดยืนของ OmniVirt

ถึงแม้ว่าคู่แข่งด้านธุรกิจโฆษณาจะมีอยู่เต็มอุตสาหกรรมไปหมด แต่ OmniVirt สร้างจุดยืนด้วยการสร้างโฆษณาแบบ VR เปลี่ยนโฆษณาธรรมดาให้เป็นโฆษณาเสมือนจริง ซึ่งจุดยืนนี้ของพวกเขาช่วยลดจำนวนคู่แข่งแบบเดิมไปได้มาก แถมสร้างโอกาสจากความแตกต่างของบริการด้วย

จุดขายของ OmniVirt

สิ่งที่เป็นจุดขายและทำให้ OmniVirt แตกต่างจากโฆษณาแบบ VR เจ้าอื่นคือ การแสดงผลบนแพลตฟอร์มของลูกค้า โดยทั่วไปแล้วการทำโฆษณาแบบ VR ต้องแสดงผลบนแพลตฟอร์มพิเศษที่รองรับอย่าง YouTube VR หรือต้องใส่อุปกรณ์พิเศษที่สามารถแสดงผล VR ซึ่งจุดนี้เป็นช่องว่างและเป็นโอกาสในการสร้างจุดขายของ OmniVirt ด้วยการสร้างโฆษณา VR ที่สามารถแสดงผลได้ในแพลตฟอร์มของตัวลูกค้าเองอย่างเช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน โดยไม่ต้องแสดงผ่านแพลตฟอร์มอื่น

จุดแข็งของ OmniVirt

เนื่องจากบริการของ OmniVirt เป็น Technology ที่คู่แข่งรายใหญ่สามารถพัฒนาและเข้ามาแข่งขันแย่งลูกค้าได้ ดังนั้น OmniVirt จึงเลือกที่จะสร้างจุดแข็งของตัวเองผ่านการสร้าง Ecosystem อย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (Publisher) ที่ซึ่งกลุ่มธุรกิจนี้ต้องการให้ผู้ชมโฆษณาอยู่ในแพลตฟอร์มหรือเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อขายคอนเทนต์ ซึ่ง Ecosystem กลุ่มนี้กลายมาเป็นจุดแข็งที่ทำให้ OmniVirt แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ที่ต้องลงโฆษณา VR ผ่าน Native App

4. การสร้างทีมให้แข็งแกร่ง
สำหรับ OmniVirt เริ่มต้นสร้างทีมให้แข็งแกร่งตั้งแต่การคัดเลือกคน ด้วยสมการที่คุณ Brad ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกคน คือ 1+1 ต้องมากกว่า 2 หนึ่งแรกก็คือตัวคุณแบดด์เอง บวกอีกหนึ่งคือคนที่เลือกเข้ามา ซึ่ง 2 คนนี้เมื่อรวมกันแล้วต้องสามารถสร้างสิ่งใหม่ที่ไปได้ไกลกว่า แล้วคนต่อๆ มาก็จะอยู่ในรูปแบบสมการแบบนี้ไปเรื่อยๆ

นอกจากคัดเลือกคนเข้าทีมแล้ว คุณ Brad ยังมีวิธีในการบริหารทีมให้แข็งแกร่ง ด้วย 3 แนวคิดดังนี้

1. ทีมต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) เดียวกัน โดยเฉพาะทีมจากประเทศไทย ต้องมีวิสัยทัศน์ในการแสดงศักยภาพของคนไทยให้ก้าวไกลระดับโลก และนอกจากนี้วิสัยทัศน์ที่ทั้งทีมไทยและอเมริกาต้องมีร่วมกัน คือ วิสัยทัศน์ในการสร้างโฆษณาแบบใหม่ที่แตกต่างจากเจ้าอื่นในตลาด เพื่อทำให้ OmniVirt เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

2. ลดช่องว่างระหว่างทีม ด้วยการสร้างประสบการณ์ทำงานร่วมกัน เนื่องจาก OmniVirt มีทีมทั้งที่ไทยและอเมริกา ดังนั้นจึงมีช่องว่างระหว่างทีมทั้งระยะทางและระยะเวลา ซึ่งทางคุณ Brad แก้ไขปัญหาด้วยการส่งพนักงานใหม่จากไทย ไปทำงานร่วมกันกับทีมที่อเมริกา ไปศึกษากระบวนการทำงานตั้งแต่ การคุยกับลูกค้า ไปจนถึงการถ่ายสินค้า จะทำให้ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้และเข้าใจกระบวนการทำงานของทีม และทำให้ทีมแข็งแกร่งมากขึ้น

3. ต้องทำงานแทนแผนกอื่นได้ โดยทีมของ OmniVirt จะถูกฝึกให้สามารถทดแทนซึ่งกันและกัน ทั้งการเสนอไอเดีย และการช่วยทำงานในตำแหน่งอื่น ซึ่งข้อนี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้และเติบโตภายในบริษัท เป็นการสร้างช่องว่างให้สมาชิกในทีมสามารถเติบโตในสายงานอื่นได้

สิ่งที่คุณ Brad Phaisan ฝากไว้ให้กับสตาร์ทอัพไทย
หัวใจของการเติบโตสตาร์ทอัพไทยในต่างประเทศ คือ ต้องเปลี่ยนจากการรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ไปสู่การสร้างเทคโนโลยีเพื่อไปสู้กับต่างประเทศ โดยเริ่มต้นจากการสร้างเทคโนโลยีเพื่อบุกตลาดระดับภูมิภาคก่อน จะเป็นบันไดก้าวแรกที่ทำให้สตาร์ทอัพไทยก้าวไปสู่ระดับสากลได้

Beacon VC Invests in Robowealth, leading Thais toward the Capital Market with Wealth Tech Solutions, targeting 2021 with the Total AuM of 30 Billion Thai Baht.

Posted on by admin_beacon_2024

Left: Mr. Chonladet Khemarattana, Group CEO of Robowealth. Right: Mr. Thanapong Na Ranong, Managing Director of Beacon Venture Capital

Beacon Venture Capital (Beacon VC), the corporate venture capital arm of KASIKORNBANK PLC. announces the Series A investment in Robowealth, a top-notch wealth tech start-up. This investment aims to leverage business strengths of both KBank and Robowealth to drive inclusiveness in the capital market by solving three primary issues that prevent Thais from investing, including the lack of time, lack of knowledge, and lack of capital, with the target of the total investment of 30 billion Thai Baht by 2021.

MrThanapong Na Ranong, Managing Director of Beacon Venture Capital, said that Beacon VC focuses on investing in high-potential start-ups whose innovations and services can deliver real value to KBank customers through the creation of new financial products or services. While we would normally scout for new investments and find collaboration potentials with the business units, this is the first time that we invest in a start-up that already has a working relationship with KBank. KBank and Robowealth, together with Lu International, launched the application FinVest in late 2020.

Beacon VC announces its investment in Series A round in Robowealth, a top-notch wealth tech start-up in Thailand. Robowealth provides complete solutions for robo-advisory and mutual fund investment. This investment will reinforce strong on-going business collaborations with the company to offer Thais new investment tools and alternative investment products, something that the Thai investment market needs, especially when the interest rates for traditional saving products are low. Robowealth’s outstanding expertise in wealth tech services will help Thais have their investment goals met more easily.

MrChonladet KhemarattanaGroup CEO of Robowealth, reveals that Robowealth Group aims to liberalize the Thai financial industry by providing typical Thai people efficient investment opportunities. Currently, only 5% of Thai from 70 million population invest through mutual funds and stock exchange. Robowealth’s vision lies within the cooperation to build a stable financial ecosystem under the concept of “Empower Future Financial Ecosystem” through the Business to Consumer (B2C) and Business to Business (B2B) schemes. This ecosystem will ultimately help Thais to achieve financial freedom sustainably.

Presently, Robowealth plays an integral part in developing and offering two prominent investment applications under Robowealth Mutual Fund Brokerage Securities. Both can help Thai people gain access to mutual funds portfolio with only 1,000 baht of minimum investment. By design, each of them focuses on different target groups with distinctive and unique product positionings. Starting with odini, the first robo-advisor in Thailand debuted in 2018, the application targets ordinary people looking for a simple way to invest through automated ready-made mutual funds portfolios. The robo-advisor timely adjust the asset allocation to match with the market condition and customer’s risk appetite. The customer can either make a lump-sum investment amount or pre-specify the monthly contributions (DCA: Dollar Cost Average). Two years after the launch, Robowealth has enhanced the odini with a more premium service under the odini BLACK sub-brand integrated into the existing odini application to serve the mass affluent segment better. The second application is FinVest, which debuted in late 2020 as Thailand’s first curated mutual funds investment application. The investment committee, which consists of fund managers and investment analysts, has the primary responsibility of selecting a set of suitable mutual funds from both the domestic and global investment universe based on a thematic investment framework. Then, these featured funds will be directly served to the customer with the precise and digestible content to make the final investment decision on his own. FinVest is the collaboration among Robowealth, KASIKORNBANK, and Lu International, a world-class fintech company.

Furthermore, Robowealth also provides other services through its subsidiaries, including high-touch wealth management solutions for high-net-worth customers under Robowealth Investment Advisory Securities and professional fintech software development solutions under Codefin company, which is behind the success of various financial institutions.

Mr. Chonladet shares the insight regarding the effect of the COVID-19 situation that Robowealth customers benefit from the investment diversification to global markets. The robo-advisor could provide a decent return by allocating into Chinese and US equities as many tech stocks greatly benefited from the lock-down. The pandemics also encourage more people worldwide to quickly adopt the digital platform, which is the long-term benefit for wealth tech businesses. The Thai financial institution becomes more aware of the inevitable digital transformation, which provides an excellent opportunity for Robowealth to respond to the needs through Business to Business (B2B) cooperation.

Mr. Thanapong added that one of the main interesting characteristics of successful Thai fintech companies is that their business and offering model doesn’t aim to disrupt financial institutions, but instead aim to collaborate with those institutions by joining each parties’ unique strength to add value to customers and synergistically grow.

Mr. Chonladet makes his closing remarks that Robowealth aims to reduce the economic inequality in Thai society as the country faces one of the world’s worst wealth distribution. Although the income distribution is not that severe, the high cost of living leaves typical Thai households not enough money to save or invest, resulting in an always wider wealth gap between the rich and the poor. Finding effective investment channels is still considered a big challenge for those who have a little cash surplus. Therefore, the core principle of Robowealth is to co-create the financial ecosystem, which enables Thais to start investing with minimal funds through convenient, user-friendly, and reliable channels regardless of the service ownership. The service provider could be Robowealth, Robowealth’s business partner, or even any other company. It does not matter which company gains the market share if Thai people can access efficient investment channels. There should be no competitor in helping people to do so. Also, Robowealth strongly supports the promotion of financial literacy to the youth to shape the right perception towards investment, paving the way of becoming successful investors in the future.


About Robowealth Group

Robowealth Group, the digital investment service provider or wealth teach leader, launched the first roboadvisory service in ThailandThe company currently has two applications with authorization from the Securities and Exchange Commission of Thailand, under odini and FinVestWith the strong reputation of delivering highquality services, the company is essentially gaining business partnerships from leading financial institutions and conglomerates in ThailandRobowealth aims to modernize the Thai financial industry to enable every Thai individual to get proper access to an efficient investment opportunity. The companys vision is to empower the future financial ecosystem via both BusinesstoConsumer (B2Cand BusinesstoBusiness (B2Brelationships.

About Beacon Venture Capital

Founded in 2017, Beacon VC is a whollyowned corporate venture capital fund of KASIKORNBANK PLCBeacon VC focuses on strategic investments in early to growthstage technology startups covering not only financial technology (fintechbut also consumer internet and enterprise technologyCurrently, Beacon VC has a fund size of $135 million and has invested in several technology startups such as FlowAccount, Eventpop, Jitta, Grab, InstaReM and Aspire.

ถ้า Smart City เกิดขึ้นจริง ธุรกิจอะไรจะเติบโต

Posted on by admin_beacon_2024

Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงแห่งโลกอนาคต ที่พัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยี ปรับแนวคิดในการพัฒนาเมืองจากการพัฒนาเชิงกายภาพ สู่การพัฒนาศักยภาพชีวิตของคนเมืองด้วยเทคโนโลยี

การพัฒนาเมืองสู่ Smart City นอกจากผู้คนที่ได้รับผลประโยชน์แล้ว ยังมีอีกหลายภาคส่วนที่ได้ประโยชน์ เช่น สิ่งแวดล้อม สภาพสังคม และภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่มีปัจจัยเอื้อต่อการสร้างรายได้ในการพัฒนาครั้งนี้ แต่จะมีธุรกิจไหนได้ประโยชน์บ้างไปดูกัน

 

Smart City คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ

Smart City คือ เมืองที่ออกแบบและพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการจัดการเมือง ทั้งด้านกายภาพและในเชิงโครงสร้าง รวมถึงบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเอื้อต่อการเพิ่มศักยภาพโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คน อีกทั้งยังช่วยลดการใช้งานทรัพยากรที่ไม่จำเป็น ลดมลภาวะทำให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืน

สิ่งที่ทำให้ Smart City น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เนื่องมาจากแนวโน้มการพัฒนาเมืองใหญ่หรือมหานครระดับโลก เริ่มหันมาให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้ดีขึ้น ทั้ง San Francisco, New York และ London นอกจากนี้มูลค่าทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับ Smart City ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากสถิติพบว่ามีการเติบโตถึงปีละ 19% คิดเป็นมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 3.48 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2026

ดังนั้นไม่เพียงแค่ประชาชนเท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์จากความอัจฉริยะของเมือง แต่ภาคธุรกิจเองก็ได้รับโอกาสผ่านการทำธุรกิจเชื่อมโยงกับการพัฒนาเมือง เช่นกัน ซึ่งทำให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับเมืองที่พัฒนาขึ้นนั่นเอง

หัวใจหลักของการพัฒนาเมืองสู่ Smart City

ดังที่กล่าวไปข้างต้น ธุรกิจที่จะเติบโตได้ในยุคที่เมืองธรรมดาเปลี่ยนเป็นเมืองอัจฉริยะ ต้องเป็นธุรกิจที่ตอบสนองต่อแบบแผนหรือหัวใจของการพัฒนาเมืองสู่ Smart City ซึ่งมีปัจจัยหลักดังนี้

  • Healthcare ระบบของเมืองอัจริยะต้องเอื้อต่อสุขภาพของประชาชนภายในเมือง ทั้งในด้านบริการสาธารณสุข และการพัฒนาขีดจำกัดทางการแพทย์ให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
  • Security ความปลอดภัยในที่นี้ เริ่มตั้งแต่ความปลอดภัยในการดำรงชีวิต เช่น ความปลอดภัยบนท้องถนน ไปจนถึงความปลอดภัยทางด้านข้อมูลส่วนบุคคล
  • Engagement เมืองที่อัจฉริยะประชาชนต้องสามารถเข้าถึงทรัพยากรและการใช้งานได้ด้วย และสามารถเชื่อมต่อวิถีชีวิตเข้ากับเทคโนโลยีภายในเมือง ให้เมืองเป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต ให้มีความสะดวกสบายยิ่งขึน
  • Environment สิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืน เมืองอัจฉริยะต้องสามารถควบคุมการใช้พลังงานให้เหมาะสม ลดการใช้พลังงานที่สิ้นเปลื้องและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และหันมาใช้พลังงานสะอาดในการขับเคลื่อนเมือง

 

โอกาสในการเติบโตจาก Smart City

สำหรับโอกาสในการเติบโตจาก Smart City มีผู้ประกอบการหลายรายที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทั้งกลุ่มธุรกิจและ Tech Startup โดยได้รับโอกาสที่แตกต่างกันทั้งพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงและโครงสร้างเมืองที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจ จากการคาดการณ์ผู้ที่ได้รับโอกาสในการเติบโตของ Smart City มีดังนี้

 

ธุรกิจด้านการแพทย์

สุขภาพเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการพัฒนาเมือง โดยธุรกิจทางการแพทย์ที่ได้รับผลประโยชน์จาก Smart City นั้นเป็นธุรกิจที่อำนวยความสะดวกในการรักษาผู้ป่วย จำพวก HealthTech ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษาผู้ป่วย ตั้งแต่การวินิจฉัยตลอดจนการดูแลผู้ป่วย

ธุรกิจด้าน HealthTech มีหลายตัวอย่างที่น่าสนใจ และสอดรับกับการพัฒนาเมือง ทั้งในเรื่องการเข้าถึงระบบการรักษาที่สะดวกของผู้ป่วย และการรักษาที่ออกแบบเพื่อตอบสนองต่อผู้ป่วยในแต่ละรายมากขึ้น (Personalized Medicine) ยกตัวอย่างเช่น Ping An Good Doctor แอปพลิเคชันจากประเทศจีน ที่ช่วยให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ทางไกล และมีระบบจัดยาตามคำสั่งแพทย์พร้อมจัดส่งยาถึงที่พัก เป็นต้น

ตัวอย่างธุรกิจด้านการแพทย์: Babylon Health

Babylon Health เป็น HealthTech สัญชาติอังกฤษ ที่เปลี่ยนการพบแพทย์ให้สะดวกสบายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ด้วยการพัฒนาระบบ Healthcheck ด้วยเทคโนโลยี AI ที่วิเคราะห์ข้อมูลจาก Database ในระดับ Deep Learning ส่งผลให้บริการให้คำปรึกษากับผู้ป่วยด้วย AI นั้นแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านระบบ Chat Bot และสามารถติดตามสุขภาพประจำวัน (Health Tracker) เพื่อดูแลสุขภาพของผู้ป่วยให้ดีตลอดวัน

ด้วยเทคโนโลยีและบริการของ Babylon Health ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการรักษาเบื้องต้น และยังสามารถติดตามสุขภาพให้ผู้ใช้งาน Living Smart and Healthy โดยสิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันว่า Bablylon Health นั้นมีโอกาสพัฒนาใน Smart City คือ แผนพัฒนา (Roadmap) Smart City ของเมืองลอนดอน ที่นายกเทศมนตรีอย่าง Sadiq Khan ให้การสนับสนุนในการพัฒนาเมืองให้อัจฉริยะ ด้วยพื้นฐานระบบ 5G สนับสนุนระบบนิเวศของเทคโนโลยี (Technology Ecosystem) และนวัตกรรม AI ซึ่ง Bablylon Health ก็เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีโอกาสได้รับการสนับสนุนในแผนพัฒนานี้ด้วยเช่นกัน

 

ธุรกิจด้านพลังงานสะอาด

เมื่อเกิด Smart City พลังงานสะอาดกลายเป็นพลังงานหลักที่ขับเคลื่อนเมือง เพื่อลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เมืองและผู้อยู่อาศัยใช้พื้นที่ได้นานยิ่งขึ้น โดยธุรกิจด้านพลังงานสะอาดที่ได้รับประโยชน์ มีตั้งแต่โรงไฟฟ้า ไปจนถึงรถยนต์ไฟฟ้า

โดยธุรกิจประเภทนี้จะสอดคล้องกับการพัฒนาโครงการของรัฐ ที่ริเริ่มการนำ Smart Grid หรือระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจริยะ เชื่อมต่อการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านเทคโนโลยี มาวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้กระแสะไฟฟ้าของประชาชน และจ่ายให้พอดี เพื่อควบคุมการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม

ตัวอย่างธุรกิจด้านพลังงานสะอาด: Iberdrola

Iberdrola เป็นธุรกิจพลังงานสะอาดจากประเทศสเปน ที่ดำเนินธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลม และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประหยัดพลังงานทั้งระบบควบคุมไฟท้องถนนไปจนถึง Smart Grid โดย Iberdrola ลงทุนมากกว่า 600 ล้านยูโร หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เพื่อพัฒนา 40 เมืองในประเทศสเปนให้เป็น Smart City ร่วมกับภาครัฐ ผ่านการปรับระบบการจ่ายไฟแบบ Smart Grid

โดย Iberdrola แตกต่างจากธุรกิจไฟฟ้าประเภทอื่นคือ พวกเขาไม่รอเวลาให้ภาครัฐพัฒนาเมือง แต่เลือกที่จะทุ่มทุนเพื่อนำร่องในการพัฒนา เพื่อผลประโยชน์ในอนาคต ซึ่ง 40 เมืองที่บริษัทลงทุนพัฒนาระบบ Smart Grid ไปนั้น เป็นเมืองแถบชนบททั้งสิ้น หากมองในระยะยาว เมื่อเมืองเหล่านั้นได้รับการสนับสนุนและพัฒนาจากรัฐแล้ว Iberdrola ก็จะกลายเป็นกำลังหลักในการควบคุมระบบจ่ายไฟของทั้ง 40 เมือง

Tech Startup

Smart City หลายแห่งของโลกพัฒนาร่วมกับเทคโนโลยีของภาคเอกชน Tech Startup หลายรายเข้ามามีบทบาทในด้านนี้ โดยเทคโนโลยีที่ถูกใช้งานในหลายเมือง เช่น แอปพลิเคชันหาที่จอดรถ หรือระบบ Smart Analytic ที่แก้ปัญหารถติด เป็นต้น

หากจะยกตัวอย่างธุรกิจด้าน Tech Startup ที่เข้ามามีบทบาทชัดเจนในการพัฒนาเมืองให้อัจฉริยะมากขึ้น ต้องเป็น JustPark แอปเคชันหาที่จอดรถจากประเทศอังกฤษ โดยทำงานร่วมกับระบบ Navigation อย่าง Google Maps และ Waze เพื่อค้นหาที่ว่างให้ผู้ใช้งาน นำเสนอผลแบบ Real-Time เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่จอดรถที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้ประชาชนได้ใช้งานที่จอดทุกคนโดยไม่ต้องเสียเวลาวนรถหาที่จอด

ตัวอย่าง Tech Startup: Liluna

Liluna เป็น Tech Startup จากเมืองไทย ที่ให้บริการแชร์ค่าเดินทางด้วยระบบ Ride Sharing ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหารถติด ประหยัดพลังงานและลดภาวะที่เกิดจากรถยนต์ โดยรูปแบบการให้บริการของ Liluna ตอบสนองต่อการพัฒนาเมืองไปสู่ Smart City ทั้งในด้านการเข้าถึงระบบคมนาคมที่สะดวกขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้อยู่อาศัย และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

สำหรับ Smart City ในประเทศไทย ทาง Liluna เองก็ได้เข้าร่วมโครงการด้าน Smart City จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) และได้ลงนาม MOU ร่วมกับบริษัท Kan Koon ในการพัฒนาเมืองขอนแก่นเพื่อมุ่งไปสู่ Smart City จากทั้งสองโครงการ เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าในอนาคต Liluna จะเป็นกำลังหลักในการพัฒนาเมืองสู่ Smart City อย่างแน่นอน

 

Summary

Smart City เป็นแนวทางการพัฒนาเมืองแห่งอนาคต เมืองที่ออกแบบโดยคำนึงถึงผู้อาศัยและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยี ที่นำ Big Data มาปรับใช้สร้างเมือง และสำหรับภาคธุรกิจ Smart City ถือเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมเมือง ด้วยการหาช่องทางการดำเนินธุรกิจที่สามารถพัฒนาไปพร้อมกับเมืองได้ จะส่งผลให้ธุรกิจสามารถเติบโตอย่างยั่งยืน

SPAC – A New Potential Exit Strategy for Startups

Posted on by admin_beacon_2024

As startups grow their revenue and user bases after several rounds of private fundraising, they  have a variety of exit options including acquisition by a larger company or going public, either through a traditional Initial Public Offering (IPO) or a direct listing. A new option, SPAC (Special Purpose Acquisition Company), has recently gained popularity as an exit option to go public for startups, especially in the United States.

Deep Dive into SPAC

Overview of SPACs

A SPAC is a company that is formed to raise funds through an IPO with a purpose of acquiring a private company and taking the target company public. It is normally established by a group of investors called sponsors, and it must be registered with the Securities and Exchange Commission (SEC). These sponsors have 2 years to find a target company while the funds are placed in an interest-bearing trust account. If they cannot find a target company within the given period, they must liquidate the SPAC and return the money to investors.

One of the most high-profile SPAC deals is the acquisition of 49% of Virgin Galactic for $800M by ex-Facebook executive Chamath Palihapitiya’s SPAC Social Capital Hedosophia Holding in 2019. An upcoming SPAC deal is the merger between SoFi, a consumer financial services startup, and Social Capital Hedosophia Holding Corp V, which would value the company at $8.65B. Recently, Pershing Square Tontine Holding debuted as the largest SPAC with a total raise of $4B in July 2020.

Target Companies for SPACs

The ideal candidate for a SPAC contains 3 qualities:

  1. Growth-stage companies operating in a high-growth industry which have the operations and support from the management team to go public;
  2. Companies that are looking for fast alternative means with limited market and timing risk to go public and;
  3. Companies that are searching for access to capital or liquidity routes during uncertain equity and debt markets.

Moreover, the size of target companies may vary depending on how much money the SPAC can raise. But smaller companies, typically with less than $100M annual revenue, tend to go public via SPAC as they have high growth prospects, but may not meet the qualified threshold for an IPO. Therefore, mature startups are attractive targets for the SPAC sponsors to take public.

SPAC Comeback 

Even though SPACs have been around for decades, 2020 was a year to be remembered for SPACs. The key reason is because investors are searching for yield in a low interest rate environment with a volatile stock market. According to SPACinsider, a total of 248 SPACs filed for IPO, raising a total of $83B in gross proceeds in 2020. Compared to 2019, 2020 had more than 4 times the number of SPAC IPOs, and 6 times higher fundraising amount. The number and size of SPACs are getting larger than ever before. It is also becoming more common for VC funds to launch their SPAC to bring their mature portfolio companies public as for the case of FirstMark Capital. Prominent underwriters such as Goldman Sachs, Credit Suisse and Deutsche Bank are stepping into the game.

Advantages of SPACs

  • Cheaper: the cost of SPAC IPO is 2% of the gross proceeds
  • Speed to market: the faster process of SPAC ranges from 2-4 months can accelerate the company’s market entry
  • Investor’s assurance: The SPAC secures a long-term group of investors through private placement in public equity instead of sell a company at IPO roadshow
  • Higher sale price: by selling to a SPAC, the sale price is 20% higher than that of private equity deal as SPAC is not mainly driven by ROI first approach and allows the company’s management to evaluate opportunities from both short-term and long-term perspective
  • Price transparency: For investor, the price of SPAC is not determined a night before the IPO

Disadvantages of SPACs

  • Uncertain investment: the investors do not know the target company of the SPAC, so it is impossible to evaluate the investment opportunity
  • Potential long lag time: there might be a long interval between the time the investors put money in the SPAC and when it acquires a target company
  • Mixed track record: the performance of the merged SPAC hardly beats the market index and often underperforms, particularly 3-12 months after the acquisition
  • High dependence on sponsor’s credentials: Investors have to largely rely on sponsor’s profile as attractive SPAC candidates would choose high-profile sponsors to acquire and manage the company

Going Public via SPAC VS IPO

In spite of the same end goal, there are several differences between going public via SPAC and traditional IPO in terms of cost, process, time, and risks.

The following table demonstrates the key differences between the 2 methods:

A Glimpse of SPACs in Asian Markets

The concept of SPACs already exists in Asia as Hong Kong, Malaysia, and South Korea have been adopting SPAC for the past 5-6 years. For instance, in 2014 Reach Energy completed the country’s largest SPAC-enabled listing of $229M in Kuala Lampur, Malaysia. Hong Kong has gradually emerged as the second largest area for SPACs as its investment community has better insights in China, Asia Pacific, and Southeast Asia (SEA). Therefore, Hong Kong SPACs have a better chance of acquiring high potential startups compared to the rest of Asia.

According to the Asia Times Financial, the Asia Pacific region has increasingly embraced the use of SPACs as an exit option for mature technology firms. Compared to the number of transactions in 2019, the number of SPAC IPO transactions were four times higher in 2020.

SPAC transactions in Asia are expected to be more common in the coming years. Various investors in the region have been active in this market. For instance, Anthony Lueng, the former finance secretary of Hong Kong and an ex-Blackstone Asia executive, is regarded as the father of Asian SPAC investments. He bought United Family Health in 2019 via his SPAC which had raised a total of $1.5B from the New York Stock Exchange.

Southeast Asia is no exception as SEA’s tech unicorns have received growing interest from SPAC sponsors. Grab and Gojek (ride-hailing and food delivery giants in SEA), Bukalapak (leading e-commerce firm in Indonesia), and Traveloka (SEA’s largest online travel app) have all been approached by several SPACs. Tokopedia, another prominent e-commerce player in Indonesia, has received acquisition interest from Bridgetown Holdings, a $550M SPAC backed by Richard Li, a Hong Kong businessman, and Peter Thiel, a Silicon Valley investor. If this deal is successful, it may inspire other tech unicorns in SEA to follow suit, sparking a boom of SPAC transactions in SEA.

The Implications of Future Fundraising in the Startup Space

Given the surging trend of SPAC exits, there are several implications that we can expect to see in the startup space as follows:

  • It is a significant opportunity for SEA’s mature startups that may not yet meet certain IPO thresholds to get listed in the U.S. stock markets where the company can anticipate deeper liquidity than their home country;
  • Additional channels to access capital markets and exit opportunities gives founders capital to initiate new ventures, which could further boost SEA’s startup ecosystem;
  • High number of SPAC IPOs could potentially shift the bargaining power to the target companies;
  • VC firms could raise SPACs of their own to bring late-stage portfolio companies public, which could further accelerate the local tech IPO;
  • Nevertheless, exchanges in SEA are at a disadvantage of losing local tech IPOs either they do not allow SPAC IPOs or smaller markets compared to the U.S., meaning that the value of SEA startups are seized and gained by foreign investors. Local retail investors will not have the opportunity to invest in these high-growth startups in the region that they are familiar with.

Startups need to carefully weigh the costs and benefits of going public via SPAC. Even though access to the capital markets is crucial to grow in an increasingly competitive environment, it eventually comes down to the readiness of the company’s performance and the management team in order to go public successfully.


Author: Wanwares Boonkong

Editor: Krongkamol DeLeon

Sources and Other interesting reads:

Voice Commerce สร้างโอกาสทำกำไรให้ธุรกิจออนไลน์ด้วย Voice search

Posted on by admin_beacon_2024

Voice search เป็นพฤติกรรมใหม่ในการค้นหาของผู้บริโภค เทคโนโลยีมากมายถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองพฤติกรรมนี้ ทั้ง Alexa, Google Assistant และ Apple Siri ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจ E-commerce

E-commerce เป็นธุรกิจที่พึ่งพาพฤติกรรมของผู้บริโภค ตั้งแต่การค้นหาสินค้าไปจนถึงการซื้อสินค้า โดย Voice search จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจประเภทนี้ ซึ่งสร้างโอกาสทางการตลาด และเพิ่มช่องทางการทำกำไรให้กับธุรกิจ จนเกิดการพัฒนาจาก E-commerce สู่ Voice Commerce

 

Voice Commerce เทรนด์ใหม่รับกระแส Voice search

Voice Commerce คือ พัฒนาการของพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้า จากการพิมพ์สู่การสั่งซื้อสินค้าด้วยเสียง ระบบจะประมวลผลและขั้นตอนการสั่งซื้อได้ทันที โดยไม่ต้องคลิกผ่านหน้าเว็บไซต์ ซึ่งมีข้อได้เปรียบมากกว่าพฤติกรรมการสั่งซื้อแบบเดิม ทั้งในด้าน Keyword การค้นหาสินค้า และประสบการณ์ซื้อสินค้าที่ดีมากกว่า โดย Voice Commerce ทำงานผ่าน 3 ขั้นตอนดังนี้

  1. เริ่มต้นใช้งานคำสั่งเสียงผ่านอุปกรณ์ที่รองรับ Voice Search เช่น สมาร์ทโฟน Amazon Echo, Google Home, Apple Home Pod
  2. คำที่ใช้ต้องเป็นประโยคคำสั่ง หรือ มี Keyword สำคัญในประโยค เช่น คำว่า “ค้นหา”, “สั่งซื้อ” หรือ”ใกล้ฉัน” เป็นต้น
  3. ใช้โทนเสียง หรือน้ำเสียงที่เหมือนกันทุกครั้งในการใช้งาน เพื่อให้ระบบจดจำเสียงของเราและป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นเข้าสู่ระบบได้

ในปัจจุบันกระแส Voice Commerce เติบโตขึ้นพร้อมกับอุปกรณ์ Voice Assistant ซึ่ง Juniper Research ได้เปิดเผยการคาดการณ์ว่าในปี 2023 จำนวนการใช้งาน Voice Assistant จะสูงถึง 8,000 ล้านครั้งต่อปี ซึ่งสอดรับกับข้อมูลยอดขายอุปกรณ์ Voice Assistant ของประเทศไทยที่เติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 2017 จนในปัจจุบันมียอดขายมากกว่า 66 ล้านตัว และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ล่าสุดอุปกรณ์ Voice Assistant ชื่อดังอย่าง Google Home ได้ร่วมกับ Walmart เปิดบริการสั่งซื้อสินค้าด้วยเสียงผ่าน Google assistant โดยผู้ประกอบการทั้งสองรายได้พัฒนาการซื้อสินค้าไปอีกระดับ ด้วยการนำเทคโนโลยี AI ร่วมกับการรวบรวมฐานข้อมูลจำนวนมาก (Big Data) เพื่อสร้างระบบจดจำพฤติกรรมการซื้อลูกค้า เช่น ปริมาณการซื้อหรือยี่ห้อสินค้า ที่ผู้บริโภคมักซื้ออยู่ประจำ เป็นต้น ทำให้การจับจ่ายใช้สอยสะดวกมากยิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค

ประโยชน์และโอกาสของธุรกิจ Voice Commerce จาก Voice search

 

หัวใจหลักของธุรกิจ Voice Commerce คือ เทคโนโลยี Voice search ที่ทำให้เกิดโอกาสในการขายสินค้ามากขึ้น ทั้งในด้านการสั่งซื้อสินค้า ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็ว ลดขั้นตอนการค้นหา สร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าที่ออกแบบเฉพาะบุคคล (Personalizing buying experiences) ด้วยระบบจดจำเสียงและลักษณะการซื้อสินค้า

นอกจากนี้ Voice search ยังส่งผลดีต่อการทำการตลาดแบบ Inbound Marketing โดยช่วยเสริมเรื่อง SEO ให้กับเว็บไซต์ ทำให้ Keyword ถูกค้นหาง่ายมากยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสในทั้งในด้านการทำตลาดและการปิดการขายภายในเว็บ

สรุปประโยชน์ของธุรกิจ Voice Commerce

  • สร้าง Brand Loyalty ผ่านการสร้างประสบการ์ณซื้อส่วนบุคคล (Personalizing buying experiences) ที่ระบบสามารถจดจำลูกค้าได้ ส่งผลให้เกิดความประทับใจในการซื้อสินค้า
  • ทำให้การซื้อขายง่ายขึ้น ผ่านความสะดวก รวดเร็วในการให้บริการ ทำให้ลูกค้าสบาย ลดขั้นตอนการซื้อที่ยุ่งยากให้ง่ายด้วยการพูดสิ่งที่ต้องการ
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสต๊อกสินค้า จากการพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้า ทั้งการเลือกใช้คำ (Keyword) และประเภทสินค้าที่ลูกค้าซื้อบ่อย ทำให้สามารถจัดสต๊อกสินค้าเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มที่ใช้ Voice search ได้พอเหมาะและมีประสิทธิภาพ
  • เพิ่มยอดขาย ลดขั้นตอนและระยะเวลาการสั่งซื้อ โดยข้อนี้พิสูจน์มาแล้วจาก Domino’s Pizza ที่เพิ่มฟังก์ชั่นการสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งผลตอบรับคือยอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 5 แสนออเดอร์

 

ธุรกิจ Voice Commerce ต้องทำอะไรบ้างเพื่อรองรับ Voice search

Voice commerce ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง แต่ต้องผ่านการพัฒนาระบบและรูปแบบการใช้งานให้รองรับ Voice search โดยสิ่งที่ธุรกิจต้องปรับตัวมีดังนี้

  • เพิ่มอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานด้วยคำสั่งเสียง เช่น Amazon Echo หรือ Google Home เป็นต้น
  • เปลี่ยน Keyword จากภาษาเขียนเป็นภาษาพูดหรือ ปรับให้เป็นประโยคสนทนามากขึ้น ทั้งเนื้อหาเว็บไซต์และภาษาที่ใช้ในบทความ
  • ปรับความเร็วของเว็บไซต์ (Page Speed) ให้รองรับพฤติกรรมการค้นหาที่รวดเร็วของ Voice search เพื่อลดปัญหาการรอคอยของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพในด้าน SEO
  • ในกรณีที่มีเว็บไซต์ของตัวเอง ควรพัฒนาฟีเจอร์เว็บไซต์ให้รองรับคำสั่งเสียง

ตัวอย่างการใช้งาน Voice Commerce กรณีศึกษา 7-Eleven

สำหรับตัวอย่างการใช้งาน Voice Commerce ในครั้งนี้เป็นการเชื่อมต่อระหว่าง E-Commerce จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ โดยไม่ต้องมีแพลตฟอร์มเว็บไซต์ ซึ่งธุรกิจที่สามารถทำได้คือ 7-Eleven

7-Eleven ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เปลี่ยนโฉมการซื้อสินค้าแบบใหม่ ด้วยการเปิดรับคำสั่งสินค้าด้วยเสียงผ่านระบบที่ชื่อว่า 7 Voice เฉพาะ Amazon Alexa และ Google Home เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน 7 Now และสมัครสมาชิก ก็สามารถสั่งสินค้าด้วยเสียงได้แล้ว โดยระบบจะจดจำที่อยู่ของผู้สั่งและสามารถติดตามสถานะสินค้าแบบเรียลไทม์อีกด้วย

ถึงแม้ว่ายังไม่มีสถิติรองรับเกี่ยวกับการเพิ่มบริการ Voice Commerce ของ 7-Eleven ว่าสามารถทำกำไรหรือเพิ่มรายได้มากขึ้นเท่าไร แต่อย่างน้อยการปรับมาใช้ Voice Commerce ก่อนเจ้าอื่น ก็ทำให้ 7-Eleven สามารถดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤติโควิด-19 ได้โดยแทบไม่ต้องปรับตัวเลย

 

Summary

Voice search เป็นอีกหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีที่ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปรับตัว และถือเป็นการสร้างโอกาสในการทำกำไรผ่านพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ผ่านการเปลี่ยนรูปแบบจาก E-commerce สู่ Voice Commerce ที่ตอบสนองพฤติกรรมและอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพียงแต่ธุรกิจต้องพัฒนาทั้งในด้านการทำการตลาดและแพลตฟอร์ม ให้รองรับกับโอกาสเข้ามาจากพฤติกรรมผู้บริโภคเท่านั้นเอง