Month: July 2021

7 ข้อผิดพลาดที่ถูกมองข้ามในปีแรกของการเปิดบริษัท

Posted on by admin_beacon_2024

รู้หรือไม่ Startup กว่า 20% ล้มเหลวตั้งแต่ปีแรกของการเปิดบริษัท ความล้มเหลวของผู้ประกอบการเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยทั้งในด้านการตลาดและแนวทางการบริหารองค์กร โดยในบทความนี้เราจะมาทบทวนข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นก่อตั้งบริษัท เพื่อให้ธุรกิจของคุณไม่อยู่ใน 20% ที่ล้มเหลวตั้งแต่ปีแรกของการเปิดบริษัท

 

1. ขาดความเข้าใจในโมเดลธุรกิจ

หลายครั้งที่การทำ Startup เริ่มต้นจากกลุ่มคนที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน เช่น กลุ่ม DEV (Developer) ที่มีไอเดียและความรู้ด้านเทคโนโลยี สามารถช่วยกันพัฒนาสินค้าดีมีคุณภาพออกสู่ตลาดได้ แต่เพราะขาดความรู้ความเข้าใจในธุรกิจ จึงไม่สามารถปิดการขายหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการทำธุรกิจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัยมากกว่าแค่ตัวสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจึงควรทำความเข้าใจและกำหนดโมเดลธุรกิจของตัวเองอย่างชัดเจน ตั้งแต่การบริหารจัดการต้นทุนการผลิต การผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า รวมถึงการหาช่องว่างทางการตลาดเพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้ในระยะยาวด้วย

Lance Vanden Brook ผู้บริหาร Aria Insight ได้กล่าวถึงความผิดพลาดของ CyPhy Works Tech Startup ที่พัฒนาโดรนสำหรับการเกษตร สำรวจทรัพยากรทางธรรมชาติและการใช้งานในกองทัพเอาไว้ว่า ในช่วงแรกของการทำ Startup นั้น เขาให้ความสำคัญกับการสร้างโดรนด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากกว่าการทำความเข้าใจตลาด ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดเพราะโดรนของเขาไม่ตอบสนองต่ออุตสาหกรรม ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าอย่างตรงจุด และไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของตลาด จึงทำให้ CyPhy Works เป็นอันต้องจบลง

 

2. มองข้ามความสำคัญของข้อมูล

ในยุคที่ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็มีผู้ประกอบการหลายคนเลือกที่จะเชื่อสัญชาตญาณมากกว่าข้อมูล และนี่ถือเป็นข้อผิดพลาดครั้งสำคัญ เพราะข้อมูลช่วยให้การตัดสินใจนั้นแม่นยำมากขึ้นและยังช่วยลดความผิดพลาดในการทำธุรกิจด้วย

 

3. การทำการตลาดที่ผิดพลาด

การตลาดถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ ดังนั้น การกำหนดเป้าหมายและทิศทางจึงเป็นสิ่งสำคัญ หลายบริษัทที่เปิดใหม่อาจจะยังไม่มีข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ซึ่งส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำการตลาดได้ ทั้งไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายหรือรูปแบบโฆษณาที่ไม่ดึงดูดมากพอ

ความผิดพลาดจากการทำการตลาดส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างชัดเจน ทั้งในแง่ของเงินทุนที่ต้องเสียไปกับการทดลอง รวมถึงการขาดรายได้เพราะไม่มีการสั่งซื้อจากลูกค้า ดังนั้น สิ่งที่บริษัทเปิดใหม่ควรทำ คือ การศึกษาตลาดและผู้บริโภคให้ละเอียดมากขึ้น การกำหนดทิศทางการตลาด และการมุ่งเน้นวิธีการทำตลาดที่ไม่ใช้เงินเยอะแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่าง Growth Markting เป็นต้น

 

4. ยึดติดกับไอเดียตอนเริ่มต้นเปิดบริษัท

ผู้ประกอบการหลายคนยึดมั่นในไอเดียดั้งเดิมในการเริ่มต้นธุรกิจมากเกินไป แม้ความเชื่อในการทำธุรกิจจะเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งนี้ก็อาจย้อนกลับมาทำลายธุรกิจได้เช่นกัน เพราะหลายครั้งที่สินค้าหรือบริการไม่ตอบโจทย์การตลาดและผู้บริโภคตามที่วางแผนไว้ การเชื่อมั่นและยึดติดกับไอเดียเดิมมากเกินไปจึงอาจทำให้ขายสินค้าหรือบริการไม่ได้จนต้องล้มเลิกกิจการไปในที่สุด

ดังนั้น หากยอดขายสินค้าหรือบริการไม่ดีในช่วงปีแรกของการเปิดบริษัท และได้วิเคราะห์แล้วว่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค สิ่งที่ควรทำ คือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าหรือบริการโดยนำหลักการ Pivot มาใช้เพื่อเริ่มต้นศึกษาตลาดและออกแบบสินค้าหรือบริการใหม่ พร้อมปรับทิศทางธุรกิจให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้มากที่สุด

5. ให้ความสำคัญกับการหาทุนมากกว่าการขาย

เงินทุนเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ซึ่งการทำ Startup ส่วนใหญ่มักจะหาทุนจากการประกวดหรือระดมทุนจากนักลงทุน (Venture Capitalist) หรือจาก Crowd Funding เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินในการทำธุรกิจต่อไป โดยมี Startup จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสำคัญกับการหาทุนเป็นหลักมากกว่าการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ดังนั้น ธุรกิจจึงอยู่รอดได้เพราะเงินทุนมากกว่ารายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ หากทุนหมด โอกาสที่ธุรกิจจะจบตามเงินทุนก็มีสูงเช่นเดียวกัน

 

6. การบริหารจัดการเงินลงทุนที่ผิดพลาด

ต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว Startup หลายรายเมื่อได้เงินทุนมามักนำไปลงทุนกับสิ่งที่ยังไม่จำเป็นต่อบริษัท ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาทางการเงินในอนาคต หรือการลงทุนกับสิ่งที่ไม่สร้างโอกาสหรือผลกำไรให้กับบริษัท เช่น การเช่าออฟฟิศในสถานที่ที่แพงมากเกินไปอย่างในย่าน CBD (Central Business District) ซึ่งเป็นการสร้างต้นทุนโดยไม่จำเป็น หรือการทุ่มเม็ดเงินจำนวนมหาศาลไปกับการโฆษณามากกว่าการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีเพื่อสร้างกำไรให้กับบริษัท เป็นต้น

7. ขาดประสบการณ์ในการบริหารทีม

Startup หลายรายเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มเพื่อนที่มีความคิดเดียวกัน แต่การเปิดบริษัทและการทำงานจริงนั้นต่างจากการประกวดแข่งขันอย่างสิ้นเชิง เพราะในช่วงปีแรกของการเปิดบริษัทเพื่อเริ่มต้นทำธุรกิจนั้น หากทีมไม่มีผู้นำที่ดีแล้วอาจส่งผลให้เกิดปัญหาภายในได้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดทิศทางของธุรกิจ การปรับปรุงพัฒนาสินค้า หรือการจัดการความสัมพันธ์ของคนในทีม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ Startup ล้มเหลวตั้งแต่ปีแรกได้ทั้งสิ้นเพราะขาดประสบการณ์ในการบริหารทีม

 

Summary

 

การเปิดบริษัทหรือการทำ Startup ในปีแรกมีหลายโจทย์สำคัญที่ต้องเผชิญ ทั้งในด้านการขาย การพัฒนาสินค้าหรือบริการ ไปจนถึงการบริหารจัดการทีม หากสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยปิดประตูความล้มเหลวในปีแรกของการเปิดบริษัทและเพิ่มประสบการณ์ในการทำธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้

ที่มา:

5 เหตุผลที่ธุรกิจควรใช้ Data Driven Marketing วางแผนการตลาด

Posted on by admin_beacon_2024

Data Driven Marketing เมื่อการตลาดขับเคลื่อนด้วยข้อมูล แนวทางการทำธุรกิจก็ต้องปรับตาม ตั้งแต่กระบวนการคิดผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการออกแบบประสบการณ์ของลูกค้า (User Experience) ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ข้อมูลทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการและนักการตลาดยุคใหม่ควรให้ความสำคัญและนำข้อมูลมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ

 

Data Driven Marketing คืออะไร

Data Driven Marketing คือ การทำการตลาดที่นำข้อมูลมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดผ่านการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อเจาะหาข้อมูลเชิงลึก ทั้งในด้านพฤติกรรมและสถิติที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค กระบวนการคิดและการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า

 

ตัวอย่างการใช้งาน Data Driven Marketing

จากสถิติพบว่า 40% ขององค์กรระดับโลกใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนธุรกิจเป็นหลัก และ 64% ของนักการตลาดยังใช้ข้อมูลเพื่อค้นหาประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการทำแคมเปญแต่ละครั้งอีกด้วย โดยตัวอย่างการใช้งาน Data Driven Markeitng มีดังนี้

  • A/B Testing คือ การทดสอบเพื่อวัดผลลัพธ์ทางการตลาดผ่านการสร้างชิ้นงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน 2 ชิ้น ตั้งแต่รูปแบบการทำโฆษณาไปจนถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทดสอบว่าชิ้นงานไหนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากนั้น จึงเก็บข้อมูลเพื่อปรับใช้ในการทำการตลาดต่อไป
  • Customer Journey Mapping / Analysis คือ ขั้นตอนการสำรวจและวิเคราะห์ประสบการณ์ของลูกค้าที่มีต่อสินค้า ตั้งแต่การพบเจอสินค้าไปจนถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งการมีข้อมูลของลูกค้าจะทำให้วางแผน Customer Journey ได้ตรงตามความต้องการลูกค้าและเพิ่มโอกาสการตัดสินใจซื้อมากยิ่งขึ้น
  • Website Personalization คือ การนำข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าที่มีต่อเว็บไซต์มาปรับปรุงเพื่อออกแบบให้ตรงตามพฤติกรรมของลูกค้ามากที่สุด เช่น หากทราบว่าลูกค้าคลิกสินค้าประเภทไหนบ่อย ก็ปรับตำแหน่งสินค้านั้นให้พบเห็นง่ายมากขึ้น เพื่อความสะดวกของลูกค้าและเพิ่มโอกาสปิดการขาย เป็นต้น
  • Focus on Micro-Moment คือ การให้ความสำคัญกับช่วงเวลาเล็กๆ ในชีวิตประจำวันของลูกค้าเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับใช้ในการทำการตลาด เช่น การเลือกทานอาหารกลางวัน Micro Moment คือ การเลือกสถานที่ทานข้าว, เมนูอาหาร หรือผู้ร่วมทาน เป็นต้น ซึ่ง Micro Moment จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อ ดังนั้น การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวจะสามารถเพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้
  • Hyper-Personalization คือ การทำการตลาดที่พัฒนาจาก Personalization ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด เจาะลึกถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า กล่าวคือ ไม่ใช่แค่รู้ว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไร แต่การทำตลาดแบบนี้จะรู้ว่า ลูกค้า “ชอบ” อะไร ปัจจัยอะไรที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้านั้นๆ เช่น ลูกค้าบางคน “ชอบ” สินค้าลดราคา หรือลูกค้าบางคน “ชอบ” สินค้าที่มีจำกัด (Limited) เป็นต้น

5 เหตุผลที่ธุรกิจควรใช้ Data Driven Marketing

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับความหมายของการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและการนำมาปรับใช้งานจริง หากใครที่ยังไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้จะดีกับธุรกิจยังไง วันนี้ KATALYST จะขอยก 5 เหตุผลที่ธุรกิจควรใช้ Data Driven Marketing ในการทำการตลาด

 

1. Data ช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

จากสถิติพบว่า นักการตลาดกว่า 76% ตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์บนพื้นฐานของข้อมูล และยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไร การตัดสินใจก็จะยิ่งแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น ถือเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการตัดสินใจด้วยข้อมูล (Data-Driven Decision Making)

ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์จำเป็นต้องมีข้อมูลโดยละเอียด ตั้งแต่พฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคไปจนถึงกระบวนการขายและการรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้า จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระบบ วิเคราะห์หาจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก (Insight) และทำความเข้าใจข้อมูลจนเกิดเป็นความรู้ (Wisdom) จนพัฒนาสู่กลยุทธ์ที่แม่นยำในที่สุด

โดยตัวอย่างการวิเคราะห์และตัดสินใจเชิงกลยุทธ์มีขั้นตอนดังนี้

  • Descriptive Analytic: การวิเคราะห์เพื่อหาคำอธิบายเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัท เป็นการบรรยายภาพกว้างเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์โดยรวมก่อนวางกลยุทธ์ทางการตลาด
  • Diagnostic Analytic: เป็นการวินิจฉัยว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีสาเหตุจากอะไร เพื่อให้เห็นที่มาก่อนที่จะหาวิธีการไปแก้ไขสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ในปัจจุบัน
  • Predictive Analytic: การวิเคราะห์ถึงอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัท โดยเน้นไปที่การคาดการณ์แนวโน้มผ่านข้อมูลและสถิติเพื่อหาความเป็นไปได้และเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ในอนาคต
  • Prescriptive Analytic: เป็นการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายหลังจากเข้าใจสถานการณ์ ทราบสาเหตุและคาดการณ์อนาคตแล้ว ลำดับต่อมาคือการหาสิ่งที่ต้องทำหรือวิธีการดำเนินการเพื่อแก้ไขและรับมือกับเหตุการณ์ในอนาคต

 

2. Data ช่วยให้รู้จักและเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค

การเก็บข้อมูลทำให้นักการตลาดเข้าใจถึงพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภคซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำธุรกิจ ตั้งแต่การเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าหรือการทำให้ลูกค้ากลายเป็นลูกค้าประจำ (Customer Loyalty) โดยข้อมูลที่นำมาใช้ทำความเข้าใจลูกค้านั้นอาจมาจากข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Data) และพฤติกรรมการใช้งานสื่อที่เก็บรวบรวมผ่านเครื่องมืออย่าง Social Listening Tools

สำหรับการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์พฤติกรรมนั้นควรให้ความสำคัญกับ Micro Movement หรือรายละเอียดการตัดสินใจยิบย่อยของลูกค้า เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวสะท้อนพฤติกรรมที่ซ่อนอยู่ในการตัดสินใจซื้อ ทำให้นักการตลาดเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น

 

3. เพิ่มความคุ้มค่าของผลตอบแทนในการลงทุน (ROI) ด้วย Data

นักการตลาดสามารถเพิ่มผลตอบแทนในการลงทุน (Return on Investment: ROI) ให้มากขึ้นด้วยการนำ Data มาปรับใช้ในการทำตลาดประเภทแคมเปญ การทำโฆษณาผ่านโซเซียลมีเดียอย่าง Facebook และ Google Adwords เนื่องจากการทำตลาดประเภทนี้จำเป็นต้องใช้เม็ดเงินในการทดสอบความแม่นยำของแคมเปญ

ดังนั้น หากนักการตลาดเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (Audience) ทั้งในด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิต การตัดสินใจเลือกคำเพื่อค้นหาสินค้า (Keyword) ไปจนถึงจิตวิทยาในการเลือกกดคลิกโฆษณาแล้ว จะทำให้การทำโฆษณาแม่นยำและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจากการลองผิดลองถูก โดยจาก สถิติ พบว่าการใช้ Data Driven Marketing ในการทำแคมเปญช่วยเพิ่ม ROI ได้มากขึ้น 5-8 เท่า สะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลช่วยเพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุนได้อย่างแท้จริง

4. Data ช่วยในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์

หนึ่งในความผิดพลาดของผู้ประกอบการ คือ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายล้มพับไปตั้งแต่ปีแรกในการตั้งบริษัท แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ผ่านการนำข้อมูลมาปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าสามารถรวบรวมได้ผ่านการเก็บข้อมูลสอบถามลูกค้าโดยตรง (Feedback) หรือสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าว่า สินค้าประเภทไหนที่มีอัตราการซื้อซ้ำน้อย จนไปถึงการใช้ Social Listening Tools เพื่อสำรวจสิ่งที่ลูกค้าพูดถึงผลิตภัณฑ์บนโลกออนไลน์แล้วนำมาปรับปรุงและพัฒนาสินค้าให้ดีมากยิ่งขึ้น

 

5. รักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า

Data Driven Marketing ช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) ผ่านการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ รักษาสิ่งที่ลูกค้าถูกใจและปรับปรุงแก้ไขในที่สิ่งลูกค้าไม่ชอบ เพื่อช่วยเพิ่มความพึงพอใจและสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูกค้าที่มีต่อแบรนด์

นอกจากนี้ ข้อมูลยังสามารถช่วยรักษาฐานลูกค้าเก่าผ่านการทำการโฆษณาแบบ Retargeting ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าและบริการซ้ำ ทั้งนี้ การทำโฆษณาแบบดังกล่าวต้องอาศัยข้อมูลและความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อลดต้นทุนการทำโฆษณาและรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย

 

Summary

 

Data Driven Marketing เป็นรูปแบบการทำการตลาดที่สำคัญแห่งอนาคต เป็นการพัฒนาธุรกิจในด้านความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในทุกแง่มุมเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำตลาด พัฒนาสินค้า และรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค

สำหรับผู้ประกอบการรายใดที่สนใจนำ Data Driven Marketing มาปรับใช้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องศึกษาก่อนทำการตลาดด้วยข้อมูล เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เพื่อป้องกันการทำผิดกฎหมาย รวมถึงการศึกษา Data Driven Mindset เพื่อให้องค์ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเป็นหลัก

สุดท้ายนี้ นอกเหนือจากการทำตลาดด้วยข้อมูลแล้ว ยังมีอีกหลายแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งสามารถอ่านบทความสาระความรู้เกี่ยวกับ Startup ได้ที่ KATALYST เราพร้อมพัฒนาและเติบโตเคียงข้างสตาร์ทอัพไทย

ที่มา:

From Internet Banking to Blockchain Finance, What’s Next for Financial Institutions?

Posted on by admin_beacon_2024

The concept of banking first emerged sometime around 2,000 BC in Mesopotamia, where merchants felt the need to give out loans to farmers and traders who roamed the different cities. From then on, as trade and the economy grew, modern financial institutions were built to consolidate the scattering of economic activities and provide trust.

 

For centuries, the financial system has been heavily centralized. Along with other government entities, financial institutions joined hands to govern almost all transactions, from money issuance to lending and investing. They have this power to centralize because they alone can keep track of all financial transactions. The invention of blockchain will change the fundamental mechanics of how this new era of the financial system operates with its decentralized record-keeping feature. Once this technology fully matures, traditional financial institutions as we know them will have a lesser role in the financial system.

 

Blockchain and Its Promise to the Financial System

 

Blockchain is a decentralized record-keeping system that documents all transactions that happened on it. In other words, it is a bank book that everyone can possess and whose content is self-updating with all new transactions and the change in ownership of any assets. It defies financial institutions’ fundamental role as the centralized record keepers who prevent the same money from being spent twice or the same asset being transferred repeatedly.

Fully mature blockchain technology promises to provide greater efficiency, lower transaction costs, better transparency, a speedier rate of financial innovation, and a much lower carbon footprint (still heavily debated) compared to the traditional financial system.

 

The Inception of Blockchain Finance

 

In the early days of blockchain finance, Satoshi Nakamoto (pseudo name – actual identity remains unknown) invented Bitcoin (whose underlying technology later became known as blockchain), a digital currency to aid in the decentralized transfer of money. The transfer data stored in Bitcoin’s blockchain is static – meaning that the blockchain can only record that Entity A transfers B amount of money to Entity C.

Ethereum then came along and introduced smart contract technology, which allows blockchain to be programmable. Ethereum blockchain can instruct that only when Event D happens, Entity A can transfer B amount of money to Entity C. Any transactions can become fully automated upon a defined set of rules.

Both technologies were the foundation of the concept of what is now known as Blockchain Finance.

 

The Blockchain Finance Dilemma

 

While groundbreaking, current blockchain finance is not without limitations. The challenge lies in the Blockchain Dilemma – that blockchains may only choose up to two qualities to achieve: Security, Scalability, and Decentralization. The limitation is the mechanism to how each party in blockchain finance agrees that a transaction is legitimate and therefore should get updated in everybody’s copy of the bank book (referred to as the “Consensus Mechanism”).

 

 

Source: Original framework by Certik, adapted by Beacon VC

 

Since both Bitcoin and Ethereum prioritizes Security and Decentralization, scalability is a challenge for both blockchains. In order for a new transaction to be recorded in everyone’s copy of the bank book, someone who holds a copy of the bank book must confirm that the transaction is legitimate through the computation of a complex mathematical equation. That person is referred to as a miner, and the first miner who gets the equation right wins a monetary reward. This process of solving a mathematical equation to confirm a transaction is called the proof-of-work consensus mechanism (PoW).

 

Other blockchains prioritize Decentralization and Scalability, giving birth to the proof-of-stake consensus mechanism (PoS). Blockchains that adopt PoS include Polkadot and Vechain. Under the PoS concept, a miner can be eligible to confirm a transaction by putting down a ‘ stake’ in the form of coins belonging to that blockchain (think of it as a refundable deposit). The more coins put down by a specific miner, the more eligibility that miner has to validate a transaction. This consensus mechanism works because the miners who are not validating any specific transactions are obliged to check the work of the validating miners. Faulty confirmation of a transaction is penalized by confiscation of stake.

 

Finally, other blockchains prioritize Security and Scalability. While many blockchains use the PoS to validate transactions, we have seen a rise in the proof-of-authority consensus mechanism (PoA). In this case, new transactions are confirmed by a few authorized players in that blockchain. These players are incentivized to keep transaction data legitimate and enjoy the monetary benefit for that blockchain growth. Examples of blockchains that prioritize security and scalability include blockchain consortiums formed by financial institutions (JPM coin), and the Bitkub chain. In reality, there are many other ways that a blockchain can achieve scalability and security, as we also see cases using a hybrid model between PoS and PoA – the delegated proof-of-stake mechanism (dPOS), which we will leave for another discussion.

 

The Two School of Thought of Blockchain Finance (CeDeFi/ DeFi)

 

There are big debates in the blockchain finance space whether blockchain finance should be centralized (CeDeFi or CeFi) or decentralized (DeFi).

 

 

CeDeFi is an evolution of the current financial system where an intermediary helps manage the transaction and regulate the users’ activities in that ecosystem. Under this scenario, if a user wants to make a transaction, the user needs to create an account with the company, deposit cash or any assets into the company’s custodian, and use that company to execute the transaction. In this case, the customer would need to reveal their personal information to participate in the ecosystem. Great examples of CeDeFi platforms include Binance and Coinbase.

 

Conversely, with the growing need to protect own data and distrust in institutions comes the demand for DeFi. Users are required to manage their own funds and financial activities. They must have a personal wallet where they store their assets and use that wallet to carry out transactions by connecting it with decentralized service providers. Since these decentralized service providers execute trades based on smart contracts, the transactions automatically occur when conditions are met. There is zero need for human intervention. This gives flexibility for DeFi users to select service providers whose set of rules they like the most.

 

Which School of Thought Will Prevail?

 

Although there is no guarantee which school of thought will prevail, or that there will be any clear winner, we anticipate that CeDeFi will gain mass acceptance and adoption for real commercial purposes first, despite the current boom in DeFi which has been driven by speculative forces.

It is all about the evolution of public trust. CeDeFi is, by design, a bridge for general customers to start exploring the blockchain finance ecosystem and shifting their trust away from financial institutions/centralized governing entities to service providers (think of Binance, Bitkub, Zipmex, Satang Pro, etc.). These companies excel in replicating the same user experience a customer would have if they were to interact with general fintech that people know and have grown accustomed to. Once more people start adopting CeDeFi, and the infrastructure and interface for DeFi are in place, the public will soon learn to shift trust from said service providers to algorithms (code and rules of how transactions are made), leading to the potential mass adoption of DeFi. It is impossible to say when mass DeFi adoption will happen, but we can definitely see both CeDeFi and DeFi co-existing in the foreseeable future.

 

Such co-existence can take place in a number of manners:

  • Gateway: Since value creation in the economy is still largely driven and transacted in the physical world, CeDeFi can exist as a gateway for users to convert traditional assets (such as fiat money) into decentralized blockchain finance. We are already starting to see this symbiotic relationship between CeDeFi and DeFi, in which users convert their money into digital assets using CeDeFi and then transfer it to their personal DeFi wallet. (think of Fiat -> Binance -> Metamask wallet)
  • Market Segmentation: It is possible that CeDeFi and DeFi can co-exist by serving different markets in the economy. Segmentation can be based on the need for governance. For instance, CeDeFi can serve segments where visibility and governance are critical, such as corporate clients, while DeFi can serve the retail market. Segmentation can also be based on the type of trust users require. Conventional users can use CeDeFi because their trust system is based on having a single entity to point to when things go wrong, while DeFi users can be more comfortable with the algorithm.
  • Business Extension: CeDeFi organizations can use DeFi as a place to experiment with financial innovations and later acquire the know-how to build or integrate similar services to their platform. This is the same model that we already see in the financial industry, in which big financial institutions leverage the capability of startups to enhance the robustness of their offerings.

 

While this migration unfolds, regulators and financial intermediaries incumbents will likely try to slow the migration rate to a minimum. This is because they will first need to find a satisfactory framework to thrive in an entirely DeFi environment. After all, there are certain benefits to centralization, such as the ability for the government and banks to control fund flow, regulate the market, and effectively pull monetary levers to protect the economy or national interests.

 

What’s Next for Financial Institutions?

 

There is no telling when mass CeDeFi or DeFi adoption will happen, but it is paramount that financial institutions start finding their role in this emerging ecosystem. To start from an inside-out perspective, financial institutions were built upon trust and efficiency through consolidation. The critical area of exploration is where financial institutions can continue to deliver benefits both in the CeDeFi or DeFi context. From an outside-in approach, financial institutions can navigate through different blockchain layers and access points in the ecosystem to identify a natural fit for their current products, capabilities, or future strategy and monetization models.

 

While we are racing towards what may be the most significant overhaul of the financial system in modern history, we must strive to remember that different populations adopt technology at different rates and that meaningful innovation must not further marginalize anyone.

 


 

Author: Woraphot Kingkawkantong (Ping)
Editor: Krongkamol Deleon (Joy)
Special shout-out: Wanwares Boonkong (Pin), Phanthila Saengthong (Mook), Panuchanad Phunkitjakran (Pook), Napat Nantavechsanti (Jum+), Phongsuphat Kanchanakom (Monn)