Month: September 2021

จับตามองเทรนด์ NFT (Non-Fungible Token) คืออะไร? ใครควรลงทุน?

Posted on by admin_beacon_2024

NFT (Non-Fungible Token) กลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างมากในปี 2020 และยิ่งได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นอีกในปี 2021 จากปรากฏการณ์การซื้อขาย NFT ที่มีมูลค่าสูงถึงหลักล้านเหรียญสหรัฐ

จากข้อมูลของ Cloudward พบว่าในปี 2020 ยอดขาย NFT ทั้งหมดอยู่ที่ 250 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสแรกของปี 2021 กลับมียอดขายพุ่งสูงขึ้นเป็นมูลค่ารวมกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในปัจจุบันตลาด NFT ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนสามารถดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ได้มากขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม Raghavendra Rau ศาสตราจารย์ด้านการเงินที่ Cambridge Judge Business School ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ NFT ผ่านทาง BBC Indonesia ว่า “ความสนใจใน NFT ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้อาจเป็นผลมาจากการที่ผู้คนไม่มี “ความสนุกเพียงพอ” ที่จะใช้จ่ายเงินในช่วงการระบาดครั้งใหญ่”

นอกจากนี้ เขายังคิดว่าเทรนด์นี้จะไม่คงอยู่ตลอดไป “เราเคยเห็นกระแสแบบนี้มาซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น การเกิดภาวะฟองสบู่และราคาที่ไม่ได้สัมพันธ์กับปัจจัยพื้นฐาน คุณอาจทำเงินได้มาก แต่ก็ไม่มีอะไรรับประกันได้ ในเมื่อคุณก็อาจสูญเสียเงินมหาศาลได้เช่นกัน”

ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจและเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นอีกมากมายที่เกิดขึ้นท่ามกลางกระแส NFT บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ NFT (Non-Fungible Token) สินทรัพย์ดิจิทัลคลื่นลูกใหม่ที่กำลังปฏิวัติวงการศิลปะทั่วโลก เรามาดูกันว่าสินทรัพย์ดิจิทัลตัวนี้จะมีแนวโน้มเติบโตน่าลงทุนแค่ไหน? หรือจะเป็นเพียงแค่กระแสเท่านั้น?

NFT คืออะไร

NFT (Non-Fungible token) หรือ เหรียญที่ไม่สามารถทดแทนได้ คือ สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ซ้ำใคร จับต้องไม่ได้แต่สามารถซื้อขายได้เหมือนทรัพย์สินอื่นๆ ผ่านเทคโนโลยี Blockchain ที่สามารถจัดเก็บคุณสมบัติและข้อมูลที่เป็นอัตลักษณ์ของเหรียญดิจิทัลประเภทนี้ได้

NFT จึงเปรียบเสมือนหลักฐานยืนยันความเป็นต้นฉบับและความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น โดยสามารถตรวจสอบกรรมสิทธิ์และความถูกต้องของข้อมูลผ่านระบบ Blockchain ที่จะบันทึกธุรกรรมที่เกิดขึ้นไว้ทุกครั้ง โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล คัดลอก หรือทำซ้ำได้

เนื่องจาก NFT เป็นเหรียญดิจิทัลที่มีมูลค่าเฉพาะตัวหนึ่งเดียวในโลก จึงไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้เหมือนสกุลเงินทั่วไป (Fiat Currency) หรือสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) เช่น Bitcoin, Dogecoin, Ethereum อย่างไรก็ตาม เราสามารถซื้อ NFT ได้ด้วยสกุลเงินดิจิทัลผ่านระบบ Blockchain ซึ่งในปัจจุบัน Ethereum Blockchain ถือเป็นแพลตฟอร์ม NFT ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด

 

ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จาก NFT ในแวดวงศิลปะ

ศิลปินสามารถสร้าง NFT หรือคริปโตอาร์ต (Cryptoart) โดยใช้แพลตฟอร์ม เช่น OpenSea หรือ Mintable เพื่อสร้างและอัปโหลดไฟล์ดิจิทัล รวมทั้งทำสัญญาที่เกี่ยวข้องซึ่งจะมีระบุไว้ในแพลตฟอร์มเหล่านี้ และสามารถเข้าถึงได้โดยผู้ซื้อที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีบัญชีและกระเป๋าเงินดิจิทัลสำหรับ Ethereum เพื่อใช้ในการจัดเก็บและซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างกัน

NFT สามารถอยู่ในรูปแบบดิจิทัลได้ทุกประเภท เช่น GIF, JPEG, MP3 จึงเป็นไปได้ตั้งแต่ผลงานศิลปะ คอลัมน์ที่ตีพิมพ์ คลิปไฮไลท์กีฬา ภาพถ่ายคนดัง หรือแม้แต่มีมที่เป็นไวรัล ตัวอย่างผลงานที่โด่งดังและมีมูลค่าสูงติดอันดับโลก อาทิ

  • Christie’s Auction House เปิดประมูลขายผลงานศิลปะภาพคอลลาจ Everydays: The First 5,000 Days ของศิลปิน Beeple จบลงที่ราคาสูงถึง 69.3 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • Jack Dosey ซีอีโอของ Twitter เปิดประมูลทวีตแรกของเขาที่มีข้อความสั้นๆ ว่า just setting up my twttr ในรูปแบบ NFT จบลงที่ราคา 1,630 ether หรือประมาณ 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • “Disaster Girl” ภาพเด็กผู้หญิงที่มีฉากหลังเป็นเหตุการณ์ซ้อมดับไฟไหม้ ซึ่งกลายเป็นมีมสุดโด่งดังบนโลกออนไลน์ ถูกนำมาขายในรูปแบบ NFT ได้ราคาถึง 500,000 ดอลลาร์

ทำไม NFT ถึงได้รับความนิยม

ปัจจุบัน เริ่มมีผู้คนในวงการอื่นๆ หันมามองหาวิธีใช้ประโยชน์จาก NFT ในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เนื่องจากศิลปะดิจิทัลบางชิ้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำเงินมหาศาลให้กับศิลปินได้อย่างน่าเหลือเชื่อ อีกทั้งยังมีศิลปินหลายคนที่สามารถแจ้งเกิดและลืมตาอ้าปากได้จากการขาย NFT แค่ภาพเดียว

จะเห็นได้ว่าจุดแข็งที่ชัดเจนของ NFT คือ ศักยภาพและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีในการแปลงสินทรัพย์ทางกายภาพให้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินการซื้อขายโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง ทำให้ศิลปินและนักสร้างสรรค์ทุกรูปแบบสามารถขายผลงานของตนเองได้ในวงกว้าง ในขณะเดียวกัน นักสะสมก็สามารถเข้าถึงผลงานศิลปะทั่วโลก โดยที่ทั้งสองฝ่ายสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง

นอกจากนี้ NFT ยังได้นำไปสู่การสร้างแพลตฟอร์มตลาดกลาง เช่น OpenSea, Rarible, Mintable ที่ทำให้ศิลปินได้ใช้ประโยชน์จากการสร้างผลงานและประมูลขายงานศิลปะดิจิทัล ซึ่งอาจเป็นโอกาสทองในการทำเงินก้อนใหญ่ เหมือนที่เราได้เห็นตามข่าวอยู่เรื่อยๆ ว่ามีนักสะสมและนักลงทุนบางรายยอมทุ่มเงินประมูลหลายล้านเหรียญสหรัฐเพื่อแลกกับการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใน NFT ที่จับต้องไม่ได้

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนสามารถนำ NFT ที่ซื้อเพื่อเก็งกำไรมาประมูลขายต่อได้และโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของต่อให้กับอีกคนหนึ่งได้ ในขณะที่ศิลปินก็ยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพที่เกี่ยวข้องกับเหรียญ NFT นั้นอยู่ จึงมีสิทธิ์ได้รับค่าลิขสิทธิ์ในทุกครั้งที่มีการขายเหรียญนั้นต่อให้กับคนอื่นด้วย

ด้วยจุดเด่นและข้อดีที่แต่ละฝ่ายมีโอกาสได้รับ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตลาด NFT จะเริ่มเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจจากทั้งกลุ่มศิลปิน นักสะสม นักลงทุน และคนดังในวงการต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

ใครควรลงทุนและสิ่งที่ควรรู้ก่อนลงทุน NFT

กลุ่มคนที่เข้ามาลงทุนในตลาด NFT แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ นักสะสมและนักลงทุน

สำหรับนักสะสม แรงจูงในการซื้อ NFT ส่วนใหญ่มักมาจากความชอบและความพึงพอใจส่วนตัวที่มีต่อศิลปินหรือผลงานนั้นๆ จนอยากได้ชื่อว่าเป็นผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเพียงคนเดียวในโลก รวมทั้งบางคนมีความต้องการสนับสนุนศิลปินและวงการศิลปะให้เติบโตและยังคงอยู่ท่ามกลางยุคสมัยของเทคโนโลยี

สำหรับนักลงทุนทั่วไป NFT ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงและมีการเก็งกำไรค่อนข้างสูง เพราะไม่ได้อิงมูลค่าตามประโยชน์ใช้สอย แต่อิงตามการให้คุณค่าของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นๆ มูลค่าของ NFT จึงอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของตลาด เงื่อนไข หรือความชอบส่วนบุคคล

ดังนั้น หากคุณกำลังพิจารณาซื้อ NFT ในฐานะนักลงทุน ไม่ใช่นักสะสม ควรเริ่มต้นศึกษาหาข้อมูลให้รอบคอบไม่ต่างกับการลงทุนประเภทอื่นๆ เช่น

  • พิจารณาชื่อเสียงของผู้สร้าง NFT ว่ามีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการขายต่อในอนาคตได้หรือไม่ เนื่องจากชื่อเสียงของผู้สร้าง ความหายากของผลงาน หรือประวัติความเป็นมาที่ยาวนานล้วนส่งผลต่อราคาประมูลและความต้องการของตลาดแทบทั้งสิ้น
  • ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของให้ดีว่ามีขอบเขตแค่ไหน เพราะ NFT บางเหรียญอนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ แต่บางเหรียญอาจให้แค่สิทธิ์ในการครอบครอง ไม่ครอบคลุมการใช้ประโยชน์ทางการค้า
  • แพลตฟอร์ม NFT ส่วนใหญ่ใช้สกุลเงินดิจิทัลเพื่อแลกเปลี่ยน NFT จึงมีความเสี่ยงต่อความผันผวนของมูลค่าสกุลเงินดิจิทัลที่คุณต้องยอมรับให้ได้ นอกเหนือจากความเสี่ยงที่ NFT นั้นจะสูญเสียมูลค่าทั้งหมดเมื่อเกิดภาวะฟองสบู่แตก

 

Summary

Non-Fungible Token (NFT) ถือเป็นการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ทำให้เส้นแบ่งระหว่างสินทรัพย์ในโลกทางกายภาพและโลกดิจิทัลเริ่มมีความไม่ชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นผู้นำการปฏิวัติด้วยการนำเอาโลกศิลปะกับโลกธุรกิจมาเชื่อมต่อกันได้อย่างไร้ขอบเขตผ่านการใช้ระบบ Blockchain ที่สามารถตัดคนกลางและเพิ่มโอกาสในการซื้อขายสินค้าที่หายากหรือมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก ทำให้ศิลปินมีโอกาสได้รับผลตอบแทนแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น นักสะสมสามารถเข้าถึงและครอบครอง NFT ที่ตนเองชื่นชอบได้จากทั่วโลก ส่วนนักลงทุนก็สามารถเลือกซื้อ NFT ที่มีศักยภาพเพื่อเก็งกำไรจากการขายต่อในอนาคตได้

แม้ว่าโอกาสและแนวโน้มการพัฒนาของ NFT ในอนาคตจะดูน่าตื่นเต้น แต่นักลงทุนควรตระหนักไว้เสมอว่าการลงทุนใน NFT มีความเสี่ยงและควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ หากยังไม่แน่ใจในสถานการณ์ความผันผวนของมูลค่า NFT ว่าเป็นเพียงกระแสชั่วคราวหรือเป็นภาวะฟองสบู่ที่ใกล้จะแตกหรือไม่ ให้รออีกสักพักจนกว่าจะเห็นว่าตลาดนั้นเริ่มเติบโตอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ

เพราะปัจจุบันยังไม่มีใครยืนยันได้ว่า NFT จะสามารถพัฒนาไปสู่ตลาดที่มีมูลค่ามากกว่าล้านล้านเหรียญเช่นเดียวกับสกุลเงินดิจิทัลแบบดั้งเดิมได้หรือไม่ คงมีแค่เวลาเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่อย่างน้อยที่สุดการเติบโตและพัฒนาแบบก้าวกระโดดของ NFT ก็ถือเป็นเทรนด์สำคัญของยุคที่ควรค่าแก่การจับตามองอย่างใกล้ชิด

อ้างอิง:

เพิ่มโอกาส Startup ประสบความสำเร็จด้วย Mindfulness ทักษะที่ผู้นำควรมี

Posted on by admin_beacon_2024

ผู้ก่อตั้ง Startup ในช่วงเริ่มต้นมักต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ทั้งเรื่องทรัพยากรที่มีจำกัด ความยากลำบากในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายปีในการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับของตลาด ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการระดมทุนรอบถัดไป รวมทั้งคำถามที่วนเวียนในหัวว่าจะสามารถผลักดันธุรกิจให้ประสบความสำเร็จก่อนที่เงินจะหมดได้หรือไม่?

ด้วยเหตุนี้ Mindfulness หรือ “สติ” จึงเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการเริ่มต้นธุรกิจ Startup เพราะผู้นำที่มีสติจะสามารถยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง จัดการกับความวิตกกังวลและความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มองเห็นโอกาสและทิศทางในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้

บทความนี้จะพาไปค้นหาคำตอบว่าทำไม Mindfulness จึงเป็นทักษะสำคัญของผู้นำ? พร้อมแนะแนวทางสู่การเป็นผู้นำที่มีสติก่อนสตาร์ทอัพ!

ทำไม Mindfulness จึงเป็นทักษะสำคัญของผู้นำสตาร์ทอัพ?

Dr. Elise Bialylew ผู้ประกอบการทางสังคมซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งแคมเปญ Mindful การฝึกสติออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้เขียนหนังสือขายดีอันดับ 1 เรื่อง The Happiness Plan ได้กล่าวถึงความสำคัญของ Mindfulness ที่จะส่งผลต่อเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพไว้ 3 ข้อ ได้แก่

 

1. จุดประกายความคิดสร้างสรรค์

การทำสมาธิช่วยให้จิตใจได้ผ่อนคลายจากความวุ่นวายและการใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไป พร้อมเปิดรับความคิดใหม่ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการพยายามกดดันตัวเอง แต่เป็นผลจากคลื่นของความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการค้นพบวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

 

2. ป้องกันความเครียด

ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพมักทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อก่อร่างสร้างธุรกิจในช่วงแรกอย่างสุดกำลัง ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดความเหนื่อยล้าและหมดพลังจนอยากยอมแพ้ได้ง่าย เพราะจิตใจและร่างกายของคนเราไม่ได้ออกแบบมาให้จัดการกับความเครียดเป็นระยะเวลานาน การทำสมาธิจึงเป็นวิธีช่วยปกป้องผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพจากความเครียดเรื้อรังได้ เพราะช่วยลดระดับคอร์ติซอล ลดความวิตกกังวล ปรับสภาพจิตใจและร่างกายให้กลับสู่ภาวะที่สมดุลเมื่อมีการฝึกสติอย่างต่อเนื่อง

 

3. เป็นผู้นำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การสื่อสารที่ชัดเจนและการตัดสินใจที่ดีภายใต้ความกดดันเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพต้องมี แต่เมื่อคนเราตกอยู่ภายใต้ความเครียด ทักษะการสื่อสารและการตัดสินใจจะลดประสิทธิภาพลงอย่างมาก ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย แต่การฝึกสติอยู่เสมอจะช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองในระดับสูง เช่น ช่วยให้สงบสติอารมณ์ได้ในขณะที่กำลังโกรธ เพิ่มความสามารถในการสื่อสารและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แนวทางสู่การเป็นผู้นำสตาร์ทอัพที่มี Mindfulness

เมื่อความเครียดและปัญหาต่างๆ เป็นสิ่งที่ผู้นำสตาร์ทอัพต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถรับมือได้ด้วย Mindfulness หรือการมีสตินั่นเอง

ต่อไปนี้คือแนวทางเบื้องต้นที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะ Mindfulness เพื่อให้ผู้นำทุกคนสามารถจัดการกับความเครียดและขับเคลื่อนธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ฝึกสมาธิ

หากคุณต้องการเป็นผู้นำที่มี Mindfulness การฝึกสมาธิเป็นวิธีที่ทรงพลังในการสร้างความแข็งแกร่งทางจิตใจไม่ให้ถูกครอบงำจากสิ่งเร้ารอบตัวมากเกินไป เพียงแค่ให้เวลาตัวเองวันละ 10-15 นาทีเพื่อนั่งสมาธิ ผู้นำที่สามารถนั่งสมาธิได้ทุกวันจะใจเย็นขึ้น และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดในชีวิตประจำวันน้อยลง

 

ทบทวนจุดมุ่งหมายที่แท้จริง

ผู้นำที่มี Mindfulness จะมีมุมมองที่มุ่งเน้นไปยังจุดมุ่งหมายหลักของธุรกิจ ซึ่งสามารถค้นหาได้ด้วยการใช้เวลาทบทวนเหตุผลทั้งหมดของการเริ่มต้นก่อตั้งสตาร์ทอัพ เมื่อคุณรู้จุดมุ่งหมายที่แท้จริงจะสามารถจดจ่อกับการทำภารกิจที่สำคัญให้สำเร็จไปทีละขั้นตอน ไม่วอกแวกไปกับสิ่งรบกวนอื่นๆ จึงมีพลังสติมากพอที่จะจัดการกับอุปสรรคและปัญหาที่เข้ามาได้อย่างไม่เคร่งเครียด

 

ขอบคุณให้เป็น

การขอบคุณเป็นอีกวิธีที่จะช่วยพัฒนาสติและสุขภาพจิตของผู้นำให้แข็งแรง วิธีฝึกหัดในชีวิตประจำวันแบบง่ายๆ คือ การจดบันทึกเหตุการณ์หรือสิ่งที่คุณรู้สึกอยากขอบคุณในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยให้คุณรู้สึกดีกับชีวิต มองโลกในแง่ดีมากขึ้น และมีทัศนคติเชิงบวกจนเกิดความตระหนักว่าปัญหาในการทำธุรกิจหลายๆ อย่างไม่ได้เลวร้ายจนแก้ไขไม่ได้อย่างที่คิด

 

หาเวลาพักสมองช่วงสั้นๆ

ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพหลายคนลืมที่จะหยุดพักสมองเมื่อตกอยู่ภายใต้ความเครียด หากคุณต้องการเป็นผู้นำที่มี Mindfulness ลองใช้เวลาไม่กี่นาทีต่อวันเพื่อตั้งสติด้วยการนั่งเงียบๆ ปล่อยใจให้ล่องลอยไปตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องตั้งใจทำสมาธิอย่างเต็มที่ก็ได้ แค่หายใจและปลดปล่อยความเครียดที่ทำให้คุณรู้สึกแย่ เพียงเท่านี้ก็ช่วยดึงสติให้กลับคืนมาได้แล้ว

 

สร้างสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน

ความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานมีความสำคัญมากสำหรับผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ เพราะสามารถช่วยตั้งสติและเตือนสติให้คุณตระหนักถึงความสำเร็จที่แท้จริงของชีวิต

ไม่ว่าจะทำงานหนักแค่ไหน ต้องไม่ลืมดูแลตัวเอง แบ่งเวลาให้กับความสนใจและงานอดิเรกอื่นๆ บ้าง รวมทั้งการใช้เวลาอยู่กับครอบครัวและเพื่อนฝูงที่ช่วยสนับสนุนให้คุณมาไกลได้ขนาดนี้ เพราะความสำเร็จของคุณไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำงานหนักเท่านั้น แต่ยังมีเบื้องหลังที่ประกอบด้วยผู้คน ประสบการณ์ และช่วงเวลาแห่งความสุขเหล่านี้เช่นกัน

 

Summary

Mindfulness หรือสติไม่ใช่พลังวิเศษที่ช่วยให้ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพหลีกเลี่ยงการเผชิญกับปัญหา ความผิดหวัง และความล้มเหลว แต่สามารถช่วยให้ฟื้นตัวจากความล้มเหลวและเอาชนะความยากลำบากได้ในที่สุด เพราะการมีสติจะช่วยให้ผู้นำค้นพบมุมมองใหม่จากความคิดสร้างสรรค์ สามารถจัดการกับความเครียด และเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้นำที่พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการสร้าง Mindfulness สำหรับผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการฝึกฝนโดยตรงด้วยการนั่งสมาธิ หรือจะเป็นการฝึกทางอ้อม เช่น การนั่งคิดทบทวนถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงในการทำธุรกิจของคุณเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายโดยไม่วอกแวกกับสิ่งรบกวนรอบข้าง การฝึกขอบคุณเรื่องราวดีๆ ในชีวิตเพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวก การหาเวลาพักสมองช่วงสั้นๆ เพื่อตั้งสติและจัดการความเครียดในระหว่างวัน หรือแม้แต่การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานให้เหมาะสม

สุดท้ายนี้ สติไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน แต่ต้องอาศัยความพยายามและวินัยในการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ถ้าพร้อมจะเป็นผู้นำที่มี Mindfulness แล้ว มาตั้งสติก่อนสตาร์ทอัพกันเถอะ!

อ้างอิง:

Affiliate Marketing คืออะไร พร้อมวิธีประยุกต์ใช้กับธุรกิจ Startup

Posted on by admin_beacon_2024

Affiliate Marketing กลยุทธ์ทางการตลาดที่ลงทุนไม่มาก แต่ได้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ โดยอาศัยตัวแทน นายหน้า เพื่อโฆษณาสินค้าและบริการ ทั้งนี้การทำ Affiliate Marketing เป็นกลยุทธ์ที่สร้างประโยชน์ให้ทั้งแบรนด์และนายหน้า แต่จะมีประโยชน์อย่างไร และทำยังไงทาง Katalyst ได้นำข้อมูลดีๆมาฝากในบทความนี้แล้ว

 

Affiliate Marketing คืออะไร

Affiliate Marketing คือ รูปแบบการทำการตลาดให้กับบุคคลหรือบริษัทอื่นด้วยการโปรโมตสินค้าและบริการผ่านช่องทางของเรา เช่น สื่อออนไลน์อย่าง Social Media หรือการสร้างเว็บไซต์และแอพลิเคชั่น โดยมีวัตถุประสงค์ให้กลุ่มลูกค้าเลือกซื้อสินค้าหรือสมัครสมาชิกจากแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้น ซึ่งเราจะได้รับค่าตอบแทนจากแบรนด์ที่เราทำการตลาดให้

 

องค์ประกอบของ Affiliate Marketing

สำหรับองค์ประกอบหรือผู้มีส่วนเกี่ยวของใน Affiliate Marketing แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักดังนี้

  • 1. Seller and product creator คือ เจ้าของผลิตภัณฑ์/บริษัท ที่ว่าจ้างให้บุคคลหรือบริษัททำการโปรโมตสินค้าและบริการผ่านช่องทางต่างๆ
  • 2. The affiliate or publisher คือ บุคคลหรือบริษัท ที่ทำการโปรโมตสินค้าและบริการให้กับผู้ว่าจ้าง ผ่านช่องทางของตนเอง โดยจะได้รับค่าตอบแทนจาก Seller ทั้งในรูปแบบของค่าจ้างหรือค่าคอมมิชั่นจากการขายสินค้า
  • 3. Customer คือ กลุ่มผู้บริโภคที่ติดตาม publisher ในช่องทางต่างๆ โดยซื้อสินค้าและบริการผ่านการโปรโมตของ publisher

รูปแบบรายได้ของ Affiliate Marketing

สำหรับรูปแบบรายได้จากการทำ Affiliate Marketing มีด้วยกันหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละบริษัท โดยรูปแบบรายได้มีดังนี้

  • 1. Pay per Sale (PPS) การจ่ายเงินหลังจากมีการซื้อสินค้าและบริการ โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ตามราคาของผลิตภัณฑ์ที่แบ่งมายัง Publisher
  • 2. Pay per Lead (PPL) รายได้จะเกิดขึ้นจากการเก็บ Lead ผ่านการสร้างลิงก์ให้ผู้บริโภคเข้าไปยังเว็บไซต์และลงทะเบียนสมัครสมาชิกกับทางแบรนด์
  • 3. Pay per Click (PPC) การจ่ายเงินจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้คลิกโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มนั้น ซึ่ง PPC จะไม่กำหนดว่าผู้คลิกต้องซื้อสินค้าหรือไม่ แค่เพียงคลิกโฆษณา Publisher ก็สามารถได้รายได้แล้ว

 

วิธีการทำ Affiliate Marketing กรณีศึกษา Tiktok

หนึ่งในวิธีการเริ่มต้นทำ Affiliate Marketing ที่ง่ายที่สุด คือการใช้แพลตฟอร์มโซเซียลมีเดียอย่าง Tiktok ซึ่งขั้นตอนการสร้างรายได้จากการตลาดประเภทนี้ไม่ยาก เพียงแค่เปลี่ยนตัวเองจากคนทั่วไปให้กลายเป็น Influencer ด้วยการเล่น Tiktok สำหรับขั้นตอนการทำ Affilitate Marketing ผ่าน Tiktok มีดังนี้

  • 1. วางแผนก่อนสร้างคอนเทนต์ เพื่อกำหนดแนวทางตัวเองว่าอยากเป็น Influencer ด้านไหน เช่น ด้านท่องเที่ยว, อาหาร หรือกีฬา เพราะความชัดเจนในการกำหนดแนวทาง จะช่วยให้แบรนด์มองเห็นช่องทางในการทำ Affiliate Marketing กับเรา
  • 2. มองหาช่องทางสร้าง Traffic สำหรับในช่วงแรกยอดการเข้าถึง (Reach) อาจจะยังน้อยอยู่ ดังนั้นหากต้องการทำ Affiliate Marketing การสร้าง Traffic จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แบรนด์เห็นความคุ้มค่าในการลงทุนกับเรา โดยแนวทางการสร้าง Traffic มีหลายวิธี เช่น การ แปะ URL Tiktok ในช่องทางโซเซียลมีเดียอื่น ศึกษาเวลาโพสต์ที่เหมาะสม ใช้แฮชแท็ก (Hashtag) หรือร่วมงานกับคนอื่นที่มีชื่อเสียง เป็นต้น

ด้วยสองขั้นตอนนี้ที่สร้างบุคลิกที่ชัดเจน (Character) และการสร้างฐานแฟนคลับจะทำให้มีโอกาสได้รับการติดต่อจากแบรนด์ ซึ่งหากได้รับการติดต่อแล้วขั้นตอนการทำ Affiliate Marketing ก็ไม่ยากเพียงแค่แปะลิงก์ URL ที่หน้าโปรไฟล์ หรือแปะโค้ดส่วนลดในคลิปวีดิโอ เพียงเท่านี้ก็มีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มแล้ว

Startup กับการทำ Affiliate Marketing

Affiliate Marketing เปรียบเสมือนช่องทางการหารายได้เสริมสำหรับ Startup ที่มีแพลตฟอร์มในมือทั้งในรูปแบบของเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เพียงแค่ปรับใช้สินทรัพย์ที่มีให้สร้างรายได้เพิ่มเติมผ่านการลงโฆษณาผ่านในแพลตฟอร์มตัวเอง

 

ข้อดีของการทำ Affiliate Marketing สำหรับ Startup

1. สร้างรายได้โดยไม่ต้องลงทุน

การทำ Affiliate Marketing คือการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้ว เพียงแค่เพิ่มการโฆษณาสินค้าและปรับ User Interface (UI) ให้ดึงดูดคลิกจากลูกค้า ซึ่งเจ้าของแพลตฟอร์มแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพียงแต่ประยุกต์ใช้สิ่งเดิมที่มีอยู่เพื่อสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น

2. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าในเชิงลึก

ไม่เพียงแต่ในด้านรายได้เท่านั้น แต่สิ่งที่เหล่าคนทำ Startup จะได้รับคือ ข้อมูล (Data) ในระดับ Micro Behavior ผ่านการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าบนแพลตฟอร์ม ความสนใจต่อสินค้าและปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งสามารถนำข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มาวิเคราะห์และปรับใช้ในการพัฒนาสินค้าของตัวเองให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

Affiliate Marketing กับ Startup กรณีศึกษา Shopback

Shopback เป็น Startup สัญชาติสิงคโปร์ที่นำกลยุทธ์ Affiliate Marketing มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจจนสามารถขยายจากสิงคโปร์สู่ มาเลเซีย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์และไทย ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายออนไลน์ เปรียบเสมือนห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่บนหน้าจอโทรศัพท์

โดย Shopback นำกลยุทธ์ Affiliate Marketing มาปรับใช้ผ่านการสร้างแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อเข้ากับ e-commerce ทั้ง Lazada, Sephora หรือแม้กระทั่ง Grab ซึ่งเมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าและบริการผ่าน Shopback ทาง Shopback จะได้ค่าคอมมิชชั่นการขายจากผู้ให้บริการเหล่านี้

สิ่งที่ทำให้ Shopback ประสบความสำเร็จผ่านการใช้ Affiliate Marketing คือ กระบวนการทำธุรกิจที่แตกต่าง โดย Shopback เลือกแบ่งค่าคอมมินชั่นส่วนนึงคืนกำไรสู่ลูกค้า สร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์ม ซึ่งล่าสุดทาง Shopback ได้คืนกำไรสู่ผู้บริโภคมากกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว

 

Summary

Affiliate Marketing เป็นหนึ่งในแนวทางการทำการตลาดและกระบวนการสร้างรายได้ การตลาดแบบพันธมิตร ที่สามารถสร้างกำไรผ่านการเพิ่มช่องทางการขาย หรือในกรณีของการเป็น publisher ก็สามารถสร้างรายได้ โดยแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย Affiliate Marketing จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้ผลประโยชน์ทั้ง seller และ publisher

อ้างอิง:

ทำไม Customer Centric ถึงสำคัญกับธุรกิจ Startup

Posted on by admin_beacon_2024

แม้ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีและการระดมเงินทุนจากภายนอกจะส่งผลต่อแนวโน้มการเติบโตของสตาร์ทอัพได้อย่างรวดเร็ว แต่หนึ่งในรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน คือ การมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเส้นทางของผู้บริโภคตั้งแต่ขั้นตอนก่อนจะเป็นลูกค้าจนกระทั่งตัดสินใจซื้อ รวมถึงการกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำด้วย

Shanthi Padmanabhan รองประธานฝ่าย Customer Success ของ Salesforce India กล่าวว่า “วิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้สตาร์ทอัพต้องลงทุนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้าและปรับปรุงธุรกิจให้ดีขึ้น สิ่งหนึ่งที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับบริษัทและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคือการเชื่อมต่อและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น”

Customer Centric คืออะไร

Customer Centric คือ แนวทางการทำธุรกิจที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางด้วยการทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าเป็นจุดสนใจหลักในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ช่วงแรกที่ลูกค้ารู้จักแบรนด์ไปจนถึงตอนตัดสินใจซื้อ ซึ่งบริษัทจำเป็นต้องวางระบบที่เอื้อต่อการสร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าให้ได้อย่างต่อเนื่อง

กุญแจสำคัญอยู่ที่การทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าและ Customer Journey ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถติดตามได้ว่าลูกค้าโต้ตอบกับธุรกิจของคุณอย่างไรโดยใช้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแรงจูงใจ ความพึงพอใจหรือความผิดหวังในแต่ละ Touchpoint ของเส้นทางการซื้อขาย

การมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางจึงไม่ใช่แค่การบริการลูกค้าด้วยความสุภาพ หรือส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างวัฒนธรรมการทำงานของบริษัทโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความพึงพอใจและความประทับใจให้กับลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งในทุกขั้นตอน

 

ความสำคัญของ Customer Centric

แม้ว่าลูกค้าจะเป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดมาโดยตลอด แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลได้เพิ่มอัตราการแข่งขันของธุรกิจออนไลน์ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 ที่ส่งผลให้การโต้ตอบและการบริการลูกค้าแบบเห็นหน้าเป็นไปได้ยากและมีข้อจำกัด นอกจากนี้ ลูกค้ายังมีอำนาจในการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการได้ดีที่สุดท่ามกลางทางเลือกจำนวนมากมายโดยค้นหาข้อมูลได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว

การมุ่งเน้นที่ลูกค้าจึงทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้บริษัทของคุณโดดเด่นเหนือกว่าบรรดาคู่แข่งในสายตาของลูกค้าปัจจุบันและว่าที่ลูกค้าในอนาคตด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • ช่วยสร้างความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์

    หากคุณไม่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง พวกเขาก็จะมีส่วนร่วมน้อยลงและหันไปสนใจบรรดาคู่แข่งของคุณแทน ในทางกลับกัน ถ้าคุณยกให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและสามารถสานต่อจนกลายเป็นความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ได้ในที่สุด ยืนยันด้วยสถิติจาก GetVoIP ดังนี้:

    • – 64% ของผู้บริโภคต้องการให้แบรนด์เชื่อมต่อกับพวกเขา
    • -ลูกค้าที่ให้คะแนนบริษัทที่มีการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้ามีแนวโน้มจะซื้อสินค้าและบริการของบริษัทนั้นมากขึ้น 34% รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะช่วยแนะนำบอกต่อบุคคลอื่นมากขึ้น 37%
    • -86% ของลูกค้ายินดีจ่ายแพงขึ้นเพื่อแลกกับประสบการณ์ดีเยี่ยมที่จะได้รับ
  • เพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาได้

    แนวทางการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าอยากรู้จักแบรนด์ของคุณมากขึ้น และยินดีให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความชอบและความต้องการของพวกเขา ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดเป้าหมายแคมเปญการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าตัวจริงมากขึ้น โดยไม่ต้องเสียเงินไปกับแคมเปญโฆษณาและกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ตอบโจทย์

  • ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

    ปัจจุบัน ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือและมักมองหารีวิวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการจากผู้ใช้จริงที่เผยแพร่ตามเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียต่างๆ ทำให้เสียงของลูกค้ามีพลังและดังขึ้นกว่าที่เคย

    Customer Centric จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างลูกค้าที่มีความเชื่อมั่นในแบรนด์ ยิ่งคุณสร้างลูกค้ากลุ่มนี้ได้มากเท่าไร ก็ยิ่งมีแนวร่วมที่ช่วยเป็นกระบอกเสียงที่ทรงพลัง ทั้งการแนะนำแบบปากต่อปาก การรีวิวติดดาว และการแสดงความคิดเห็นเชิงบวกลงในโลกออนไลน์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลลัพธ์ที่ประเมินค่าไม่ได้ เพราะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัทของคุณได้โดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท

    นอกจากนี้ การมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางยังช่วยให้คุณสามารถตอบสนองต่อคำติชมของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม เมื่อเกิดความคิดเห็นด้านลบเกี่ยวกับแบรนด์ การติดต่อกลับเพื่อแก้ไขความผิดพลาดและตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้สถานการณ์คลี่คลายและจบลงด้วยดี

    แต่ถ้าคุณล้มเหลวในการตอบสนองลูกค้าเพียงแค่คนเดียวก็อาจกลายเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ เมื่อข้อมูลเชิงลบเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณถูกส่งต่อไปทั่วโลกออนไลน์ เมื่อนั้นภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ใช้เวลาสร้างขึ้นมาหลายปีก็อาจเสียหายได้ภายในวันเดียว

ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

 

เพราะการสร้างประสบการณ์ที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกบริษัทไม่ใช่แค่องค์กรขนาดใหญ่ ปัจจุบัน มีสตาร์ทอัพหลายแห่งที่เริ่มให้ความสำคัญกับ Customer Centric มากขึ้นเรื่อยๆ และได้รับผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม

 

“จะทำสินค้า บริการ หรือนวัตกรรม สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องเข้าใจให้ได้ คือ ลูกค้าของเราจริงๆ แล้วต้องการอะไร และเราจะขยับธุรกิจไปตอบโจทย์กับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดได้ด้วยวิธีการแบบไหนบ้าง ยิ่งเราเข้าใจลูกค้ามากเท่าไร นั่นหมายถึงประตูโอกาสบานใหม่ที่จะเปิดกว้างขึ้นเท่านั้น”

 

ข้อความข้างต้นเป็นคำกล่าวของคุณพงษ์ลดา พะเนียงเวทย์ CEO ของ Freshket สตาร์ทอัพตลาดสดออนไลน์สัญชาติไทยที่ตั้งใจจะเป็นศูนย์รวมวัตถุดิบคุณภาพสำหรับลูกค้าที่เป็นกลุ่มร้านอาหารไว้แบบครบวงจรบนแพลตฟอร์มเดียว

ในช่วงเริ่มต้น Freshket ประสบปัญหาไม่มีลูกค้าสนใจใช้บริการมากนัก ทั้งที่คิดว่าได้พัฒนาแพลตฟอร์มให้มีสินค้าหลากหลายและวางระบบทุกอย่างไว้สมบูรณ์แล้ว จึงตัดสินใจลงพื้นที่ไปพูดคุยกับบรรดาเจ้าของร้านอาหารตัวจริงเสียงจริงวันละไม่ต่ำกว่า 10-20 ร้าน จนค้นพบคำตอบว่าร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการวัตถุดิบที่หลากหลาย เพราะมีรายการวัตถุดิบที่ต้องใช้เป็นประจำอยู่แล้ว สิ่งที่ลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการมากที่สุด คือ วัตถุดิบคุณภาพดี ราคาสมเหตุสมผล และบริการจัดส่งที่รวดเร็ว

เมื่อเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของลูกค้า Freshket ได้กลับมาปรับปรุงระบบซัพพลายเชน ด้วยการหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ราคาไม่ต่างจากไปซื้อเองที่ตลาด และวางระบบการจัดส่งให้รวดเร็วที่สุด ของถึงมือลูกค้าครบถ้วน ไม่เสียหาย มีเจ้าหน้าที่ QC หน้าคลังสินค้า พร้อมจัดเตรียมทีมงานซัพพอร์ตลูกค้าร้านอาหารตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุด) ในกรณีที่ลูกค้าได้รับของไม่ครบ Freshket จะดำเนินการจัดหาสินค้าใหม่ให้ภายใน 3 ชั่วโมง หรือหากได้รับวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพก็ยินดีคืนเงินให้ทันทีอีกด้วย

หลังจาก Freshket ใช้ Customer Centric ปรับปรุงรูปแบบธุรกิจให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้ามากขึ้น ก็ได้รับผลสำเร็จและมีการเติบโตทางธุรกิจอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบัน มีลูกค้าร้านอาหารสนใจใช้บริการผ่านแพลตฟอร์ม Freshket มากกว่า 4,500 แห่งแล้ว พร้อมขึ้นแท่นสตาร์ทอัพที่น่าจับตามองจนได้รับการระดมเงินทุนไปแล้วกว่า 93 ล้านบาท

 

Summary

ธุรกิจที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางมักจะแสวงหาและใส่ใจความคิดเห็นจากลูกค้า พยายามคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าในทุกขั้นตอน รวมทั้งคอยให้บริการและช่วยเหลือลูกค้าอย่างดีเยี่ยม เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าตลอดเส้นทางการขายให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ Customer Centric ยังเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญในการช่วยเสริมประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาด ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัทผ่านรีวิวเชิงบวก และการบอกต่อของลูกค้าที่มีความเชื่อมั่นอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ ท่ามกลางการแข่งขันในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าธุรกิจสตาร์ทอัพของคุณจะมีผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีที่ดีมากแค่ไหน ก็ยังต้องให้ความสำคัญกับการมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพราะถ้าปราศจากความเชื่อมั่นของลูกค้าแล้ว ธุรกิจของคุณก็อาจไปไม่รอดในระยะยาว

อ้างอิง:

[กรณีศึกษา] ขับเคลื่อนธุรกิจในยุคโควิดด้วย Digital Transformation

Posted on by admin_beacon_2024

Digital Transformation คำยอดฮิตที่หลายคนได้ยินในวงการธุรกิจมาตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งความสำคัญของ Digital Transformation เริ่มชัดเจนมากยิ่งขึ้นหลังเกิดวิกฤต COVID-19 ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกครั้งใหญ่ และ Digital Transformation นี้เองที่เป็นกุญแจสำคัญในการพาธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้

 

Digital Transformation คืออะไร

Digital Transformation คือ กระบวนการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในองค์กร ทั้งการเปลี่ยนกระบวนการทำงานและปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้องค์กรก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล โดยการทำ Digital Transformation แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Digitalization และ Digitization

 

1. Digitalization

Digitalization คือ การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ (Business Model) หรือเปลี่ยนกระบวนการทำงาน (Process) เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจผ่านรูปแบบธุรกิจใหม่และการค้นหาแหล่งรายได้ใหม่

 

2. Digitization

Digitization คือ การเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากแอนะล็อกสู่ดิจิทัล เพื่อลดการใช้ข้อมูลแบบออฟไลน์และปรับมาสู่การทำงานบน Cloud เพื่อให้ข้อมูลเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ

 

COVID-19 Disruption การเปลี่ยนแปลงที่นำมาสู่ Digital Transformation

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้หลายภาคธุรกิจได้รับผลกระทบ วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป ทั้งในด้านการบริหารธุรกิจ ช่องทางการค้า และแนวทางการทำการตลาด โดยแต่ละด้านมีผลกระทบดังนี้

1. การบริหารธุรกิจ

COVID-19 ส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบการบริหารธุรกิจ เมื่อต้องรักษาระยะห่าง การทำงานที่ออฟฟิศจึงเป็นอุปสรรค ดังนั้น ผู้ประกอบการหลายรายจึงต้องหาวิธีเพื่อปรับตัว เช่น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อตอบสนองการทำงานแบบ Work From Home และทำให้โปรแกรมการติดตามภาระงานอย่าง Asana หรือ Clickup เข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารงาน เป็นต้น

2. ช่องทางการค้า

บางธุรกิจที่ต้องขายสินค้าแบบออฟไลน์หรือธุรกิจในภาคการบริการเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดในครั้งนี้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลงหรือต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่ โดยหันมาจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์หรือเปลี่ยนธุรกิจเพื่อหารายได้ในช่องทางอื่นแทน

3. แนวการทำการตลาด

สำหรับแนวทางการทำการตลาดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากพฤติกรรมในการบริโภคของผู้คนเปลี่ยนไป ทำให้การทำตลาดบางประเภทถูกลดทอนความสำคัญลง เช่น

  • Experiential Marketing หรือการตลาดที่ให้ความสำคัญกับการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า เช่น ธุรกิจโรงแรมที่มีจุดขายคือกิจกรรมและการบริการ แต่เมื่อเกิดวิกฤต COVID-19 ผู้คนต้องเว้นระยะห่าง ดังนั้น การสร้างประสบการณ์ที่ใกล้ชิดกับลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แนวทางการตลาดแบบนี้จึงได้รับผลกระทบโดยตรง
  • Now-Oriented ของกลุ่ม Gen Y โดยคนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าที่สนใจในทันที ยอมจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด แต่เมื่อเกิดวิกฤตเช่นนี้พฤติกรรมการซื้อจึงเปลี่ยนไป กลุ่มคน Gen Y มีแนวโน้มที่จะวางแผนการเงินมากขึ้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน ดังนั้น การทำการตลาดสำหรับคนกลุ่มนี้จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

วิกฤต COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้ภาคธุรกิจตื่นตัวกับการนำ Digital Transformation มาปรับใช้ในองค์กร เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการภายในองค์กรและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

Digital Transformation ในยุค COVID-19 กรณีศึกษา: Locall.bkk

หากพูดถึงกรณีศึกษา (Case Study) ในการทำ Digital Transformation หลายคนคงนึกถึงบริษัทระดับโลกอย่าง Netflix ที่เปลี่ยนจากร้านเช่าวิดีโอสู่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง หรือ Fujiflim ที่ปรับตัวจากธุรกิจถ่ายภาพสู่การพัฒนาเทคโนโลยีภาพถ่ายทางการแพทย์

แต่ในครั้งนี้เราจะขยับเข้ามาศึกษาการทำ Digital Transformation ในแบบฉบับจับต้องได้ด้วยแนวคิดการทำธุรกิจอันแสนเรียบง่ายแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดอย่าง Once Again Hostel ที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เปลี่ยนจากโฮสเทลสู่แพลตฟอร์ม Derivery Hub ที่มีชื่อว่า “Locall.bkk”

 

จุดเริ่มต้นของการปรับตัวทางธุรกิจเมื่อถูก COVID Disruption

ธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤต COVID-19 และ Once Again Hostel ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ซึ่งทางโฮสเทลได้วางแผนปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อต่อสู้กับวิกฤตในครั้งนี้ โดยโมเดลการปรับตัวในธุรกิจได้ถูกปรับออกมาเป็น 3 แนวทาง ได้แก่

1. เปลี่ยนจากการพักชั่วคราว สู่การเป็นที่พักระยะยาว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่ตกค้างและให้คนไทยเช่าเพื่ออยู่อาศัย ปรับจาก Hostel สู่ Home เปลี่ยนแนวทางการบริหารให้สอดคล้องกับแผนระยะยาวมากขึ้น

2. ปรับพื้นที่ล็อบบี้ให้กลายเป็นครัวขนาดใหญ่ เพื่อให้บริการอาหารแบบ Delivery ในแบรนด์ “Once Again Hostel Presented By Rise”

3. เปลี่ยนธุรกิจด้วย Digital Transformation การปรับธุรกิจด้วยการสร้างแพลตฟอร์ม Locall.bkk บริการส่งอาหารในชุมชนสู่ประชาชนภายนอก เปลี่ยนจากธุรกิจที่พักสู่ Delivery Hub ในแบบฉบับอาหารพื้นถิ่น

 

ขอบคุณภาพจาก: Facebook Once Again Hostel

 

จากธุรกิจโฮสเทลสู่ Delivery Hub ด้วยการทำ Digital Transformation

การทำ Digital Transformation ของ Once Again Hostel เริ่มต้นจากความต้องการช่วยเหลือร้านอาหารบริเวณที่ตั้งใกล้เคียง ประกอบกับสถานที่ตั้งของโฮสเทลอยู่ในย่านที่มีร้านอาหารจำนวนมากอย่างเสาชิงช้า-ประตูผี จึงถือกำเนิด Locall.bkk เพื่อให้ทั้งโฮสเทลและชุมชนยังคงมีรายได้แม้ในสภาวะวิกฤตเช่นนี้

Locall.bkk เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ซื้อ-ขายอาหารภายในชุมชน โดยทำหน้าที่รวบรวม ติดต่อประสานงานการซื้อขายระหว่างร้านอาหารกับผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์อย่าง Facebook และ Instragram

ขอบคุณภาพจาก: Locall Thailand

 

กระบวนการทำ Digital Transformation ของ Once Again Hostel

1. Digitalization

การทำ Digitalization ของ Once Again Hostel คือ การเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่ ปรับวิธีคิดจากธุรกิจออฟไลน์สู่ออนไลน์ นำจุดเด่นของที่ตั้งโฮสเทลมาปรับใช้ ผนวกกับความต้องการช่วยเหลือชุมชน เปลี่ยนโฮสเทลสู่แพลตฟอร์ม Food Delivery

ทั้งนี้ การสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ไม่ได้สลับซับซ้อนอย่างชื่อที่สวยหรู แต่กลับเรียบง่ายและใช้ต้นทุนไม่สูง ผ่านการใช้สื่อ Social Media เป็นแพลตฟอร์มในการดำเนินงาน ไม่จำเป็นต้องสร้างเว็บไซต์หรือสร้างแอปพลิเคชันซึ่งช่วยลดต้นทุนในการปรับเปลี่ยนธุรกิจใหม่

2. Digitization

สำหรับการทำ Digitization ทาง Once Again Hostel ได้นำข้อมูลของร้านค้าจากออฟไลน์มาแปลงให้กลายเป็นคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับร้านและการทำการตลาดไปในตัว ทำให้ผู้คนรู้จักร้านค้าและเพิ่มโอกาสตัดสินใจซื้อ รวมทั้งยังช่วยให้สามารถปิดการขายบนแพลตฟอร์ม Locall.bkk ได้อีกด้วย

 

Summary

การทำ Digital Transformation เป็นอีกหนึ่งหนทางในการขับเคลื่อนธุรกิจในยุควิกฤต COVID-19 ผ่านการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ทั้งการเปลี่ยนกระบวนการทำงานไปจนถึงการปรับโมเดลธุรกิจเพื่อหาช่องทางรายได้ใหม่ ซึ่งตัวอย่างของ Locall.bkk ได้แสดงให้เห็นว่าการทำ Digital Transformation ไม่ต้องลงทุนเยอะอย่างที่คิด ขอเพียงแค่มีไอเดียก็พร้อมที่จะปรับตัวและฝ่าฟันวิกฤตในครั้งนี้ไปได้

อ้างอิง:

NFTs – Simple Guide to the World of NFTs and Its Potential Beyond Art and Gaming Industries

Posted on by admin_beacon_2024

This year’s hottest emerging use case of digital assets, particularly in the art and gaming industries, is the use of non-fungible tokens, or NFTs. NFTs as a concept are not something new, but recent explosive popularity in 2021 put the market in awe, from the sale of Jack Dorsey’s first tweet at $2.9M to Beeple’s digital artwork at $69M. In this article, we will take you through the world of NFTs, including current use cases beyond the art and gaming industries, and opportunities and potential to transform the financial sector.

 

What Exactly is an NFT?

 

An NFT is a unique digital asset token that represents ownership of digital or physical assets. You can think of NFTs as digital certificates of authenticity and ownership.

Generally, tokens traded on any blockchain fall into two categories, fungible and non-fungible. Fungible tokens, like Bitcoin, are those that can be traded interchangeably. This is similar to trading a one-dollar bill in which all one-dollar bills contain the same nominal value. On the other hand, NFTs fall into the latter category, as each NFT is distinct and therefore not interchangeable – no two NFTs are the same.

Despite the growing hype, NFTs are encountering three key challenges:

  • expensive transaction fees stemming from the nature of the blockchain layer used by the NFT project;
  • ongoing questions on the legal enforceability of the NFT, such as what the buyer actually owns when they buy an NFT; and
  • environmental impact due to high energy consumption in proof-of-work blockchains.

 

A Quick Overview of NFT Landscape

 

Sales Volume

NFT sales volume experienced tremendous growth to $2.5B in H1 2021 from $94M in 2020 as more participants such as celebrities, artists, and companies are joining the space. It appears to have potential for future mainstream adoption.

 

Fundraising Activities

 

In terms of funding, according to CB Insights, in the past year roughly 15% or 18 deals of blockchain funding deals by top blockchain investors are digital collectibles and NFTs compared to only 2 deals in the previous year. The top blockchain investors include but are not limited to Digital Currency Group, Pantera Capital, and Andressen Horowitz (a16z).

Diving into the top-funded companies in this space, many NFT marketplaces have emerged to serve the rising demand. Dapper Labs, an NFT development platform, raised a total of $635.6M and was recently valued at $7.35B in September 2021. Additionally, one of the most well-known marketplaces, Opeasea, recently closed a $100M Series B round led by a16z in July 2021. Other marketplace players include  Sorare, SuperRare, Rarible.

 

Thai NFT Landscape

 

We also see growing adoption in the Thai NFT market. Several NFT projects have emerged, ranging from local celebrities to pageant fans. Bitkub Group partnered with Miss Universe Thailand to bring NFTs to pageants to stimulate fans’ engagement both before and after the competition. In addition, Jay Mart plans to launch JNFT marketplace and collaborate with celebrities to introduce its NFT collection in order to boost the use case of JFin tokens.

However, mass adoption of NFTs may face challenges on the regulatory side. In June 2021, the Thai Securities and Exchange Commission prohibited digital asset exchanges from offering trading of fan-based tokens and NFTs. The regulator aims to stop the trading of digital assets which have no clear objective and whose price could be manipulated by social media trends.

 

NFT Ecosystem Stakeholders

 

The main stakeholders of the NFT ecosystem are the creator/artists, the collectors, and the platform providers. Benefits that these stakeholders could receive from NFTs include:

Creator/Artist: The creator/artist could be anyone who owns a digital asset, e.g. artwork, music, or tweets, and wants to monetize it securely. Tokenizing the digital asset into NFTs can help keep the artwork safe, differentiate the original from the copies, and create value from scarcity, resulting in a higher asset value. Retail businesses can expand their product range to include NFTs, creating new revenue streams.

Collectors: Those who are looking to own a valuable digital asset. They could benefit from NFTs in several ways, such as supporting their favorite creators, holding a piece of history, capital gains from market fluctuations, or keeping money protected from inflation.

Platform providers: Providers can generate revenue from transaction fees; for example, OpenSea, the largest peer-to-peer online marketplace for NFTs, makes money by collecting fees from successful transactions. OpenSea is free for NFT buyers, but it charges sellers of NFTs a 2.5% commission on any transaction made through the platform. Different platforms have different models for how they charge fees.

 

NFT Use Cases Across Industries

 

NFT applications serve well in any industry where authentication and proof of ownership are crucial. We can observe many real-world use cases of NFTs across different sectors including art, gaming, retail, supply chain management and logistics, and real estate.

 

 

Opportunities of NFTs for Financial Institutions (FIs)

  1. How FIs can get involved or provide support in the NFT ecosystem

Payments

Some marketplaces, like Mintable, allow their users to pay for NFTs using a credit card. These users can purchase NFTs on the marketplace without needing any digital assets in their wallets (they still need to have a wallet to store purchased NFTs). Financial institutions could enter the NFT space by partnering with NFT marketplaces to allow their users to use credit cards on the platform. For example, Visa has taken steps in this NFT universe by making it convenient for users to convert and spend digital assets with a Visa card.

AML/KYC

NFTs transactions can involve large amounts of money, posing risks of money laundering, malicious transactions, illegal activity, or scams. Financial institutions can take part in the space by conducting due diligence on customers involved in NFT and digital asset transactions.

NFT Market Operator

FIs can take part in the NFT market by participating as an NFT marketplace to capture the growing demand and explore new space while leveraging their trusted brand. FIs can support the creators to help launch new NFTs on the platform and earn a fee or percentage cut from each peer-to-peer transaction.

NFT Fund

FIs can also launch NFT funds for investors to have exposure in digital art, digital collectibles, and metaverse, and to own a part of several NFTs without direct exposure to the NFT market. FIs can leverage their existing large customer bases, as well as drawing in new clients to invest in their NFT funds.

  1. Application of NFTs in the Financial Sector

Application of NFTs is still in a very early stage for the financial services sector but it has the potential to be integrated deeper into the space to improve operational efficiencies as well as create new revenue models.

To improve efficiencies for FIs, NFTs can be used to record ownership and transfer of assets. They can be utilized to ensure the provenance of goods (point of origin), for fraud protection, and for debt management, including tracking and managing debts. On the potential revenue-generating side, it is possible for FIs to explore the convergence of decentralized finance and NFTs by allowing the holder of the NFTs to earn yield (staking) or use their NFTs as loan collateral.

 

How to Get Involved in the NFT Market

 

This section will guide you through the general process of how to create NFT collections and store and sell NFTs to have a better understanding of how the process works.

 

Step 1: Determining an appropriate blockchain

 

Every creator will start their NFT journey by deciding which blockchain they should adopt. Most NFT activities we observe today are built on Ethereum, due to its capability to attract a broad set of users and developers. In the future, we can expect to see more blockchains entering the market. Users should consider tradeoffs and pick one that suits well with their objectives.

 

Step 2: Minting NFTs

 

After picking which blockchain to use, the next step is to transform the digital assets into NFTs. This process is called minting. Several platforms can help with minting, such as OpenSea, Rarible, or Bitski. One important thing to keep in mind when deciding on what platform to use is controllability. We should pick one that gives us as much control over NFT features, such as provenance, attributes of the NFT, or storage of the underlying asset. Once NFTs are minted, they will be stored on the blockchain, unchangeable and tamper-proof.

 

Step 3: Storing digital content file

 

During the minting process, users will have options to store their digital content file either on the blockchain itself, or in other places. While storing files directly on blockchain (e.g. on Ethereum) may limit storage space, some users might find it more convenient to use third-party storage as it is more reasonable in terms of price and storage space. Currently, both centralized and decentralized storage options exist. Centralized storage makes NFTs more dependent on storage providers, and if such a provider is out of the business, the NFT will link to nothing. Decentralized storage has evolved to mitigate this issue because the architecture of this method completes the full circle of blockchain principles and operates without the intervention of any intermediary.

 

Step 4: Storing NFTs

 

Once the creators successfully mint NFTs, they have to keep them in a digital asset wallet like other digital assets. There are two models of wallets, custodial and non-custodial. For the custodial solution, third-party providers will store private keys of wallets on behalf of customers. Creators should only use a custodial service from a trusted brand with strong security. In contrast, the non-custodial solution is that customers are responsible for storing their own private key to access their wallets.

 

Step 5: Distributing NFTs across the marketplace

 

Nowadays, we have many NFT marketplaces in the space. Well-known players in this space include OpenSea, SuperRare, Rarible, Nifty Gateway, Foundation, Enjin, and many more.

 

Conclusion

 

By considering its underlying technology and current use cases, mainstream adoption of NFTs may be in the foreseeable future. Big brands and public figures in the traditional world are joining the NFT ecosystem which then stimulates and increases awareness among the general public. Nevertheless, regulations related to NFT, including the classification and anti-money laundering need to be monitored, as this type of digital asset is still in the early-stage, and regulators may attempt to closely monitor and control it as it grows. Looking into the future with proven technology, NFT has the potential to go beyond what we see today in the digital art and gaming industries. It could potentially transform existing sectors from retail to financial services, which may present an even greater opportunity for NFTs in forthcoming years.

 


 

Author: Warittha Chalanonniwat (Paeng), Wanwares Boonkong (Pippin)

Editors: Panuchanad Phunkitjakran (Pook), Woraphot Kingkawkantong (Ping), Krongkamol Deleon (Joy)

References:

https://app.cbinsights.com/research/what-are-nfts/

https://app.cbinsights.com/research/blockchain-tech-funding/

https://app.cbinsights.com/research/nfts-brands-retailers-decentralized-commerce/

https://www.bangkokpost.com/business/2131883/jay-mart-plans-non-fungible-tokens-for-stars

https://www.bangkokpost.com/business/2131299/sec-bans-trade-in-gimmick-tokens-and-nfts

https://www.prnewswire.com/news-releases/wave-financial-expands-investment-offerings-with-worlds-first-traditional-nft-fund-301357615.html

https://usa.visa.com/content/dam/VCOM/regional/na/us/Solutions/documents/visa-nft-whitepaper.pdf

https://blog.liquid.com/nft-use-cases

https://blog.portion.io/the-history-of-nfts-how-they-got-started/