Category: KATALYST

Ecosystem Business Model คืออะไร? กลยุทธ์รักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป

Posted on by admin_beacon_2024

ยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Ecosystem Business Model ได้เริ่มขึ้นแล้ว ผลการสำรวจโดย Accenture พบว่า 81% ของผู้บริหารเชื่อว่าเส้นแบ่งระหว่างประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรมจะเริ่มไม่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันภายในระบบนิเวศทางธุรกิจที่เชื่อมต่อถึงกันได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ลูกค้ายังต้องการประสบการณ์ที่มีทั้งความหลากหลายและเฉพาะเจาะจงตลอด Customer Journey ด้วย บริษัทต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการส่งมอบคุณค่าที่เหนือกว่าให้กับลูกค้าด้วยการบูรณาการและเชื่อมโยงทุกจุดติดต่อให้เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่งคือหนทางที่จะช่วยตอบสนองความท้าทายนี้ และสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักว่า Ecosystem Business Model คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ? พร้อมแนวทางการสร้าง Ecosystem เพื่อรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป

Ecosystem Business Model คืออะไร?

Ecosystem Business Model หรือระบบนิเวศทางธุรกิจ คือ กลุ่มบริษัทที่มีความสัมพันธ์ส่งเสริมกันในฐานะพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับผู้ใช้ปลายทางหรือลูกค้า โดยพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เหล่านี้สามารถส่งเสริมซึ่งกันและกันในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาผลิตภัณฑ์ให้กันและกันโดยตรง การรวบรวมผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น หรือการหาช่องทางที่ดีกว่าเพื่อบรรลุเป้าหมายหรือตลาดที่ใหญ่ขึ้น โดยการผสมผสานเหล่านี้ล้วนสร้างสิ่งที่เราเรียกว่า ‘ระบบนิเวศทางธุรกิจ’

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Ecosystem Business Model จนประสบความสำเร็จ เช่น

  • Apple ที่มีทั้ง iPhone, iPad, Mac, Apple Watch, Apple TV+, อุปกรณ์เสริม และซอฟต์แวร์ ซึ่งทุกอุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อกันได้สะดวก ใช้งานง่าย ให้ User Experience ที่ดี
  • Google ที่มีทั้ง Google Meet, Google Maps, Google Calendar, Google Forms, Google Photos และยังมี Google Play Store ซึ่งทุกอย่างสามารถเข้าถึงได้เพียงแค่ Email เดียว แต่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตและการทำงานได้เกือบทุกด้าน
  • Disney ที่มีทั้ง Disneyland, Pixar, Marvel, Star war, Fox, ABC News, National Geographic และอื่นๆ อีกมากมาย

ความสำคัญของ Ecosystem Business Model

 

1. สร้างโอกาสขยายธุรกิจใหม่

กว่า 40% ของธุรกิจเริ่มสร้าง Ecosystem ด้วยการสร้างธุรกิจนอกอุตสาหกรรมของตนเองเพื่อเฟ้นหาลูกค้าใหม่ โดยอาจมีการดึงผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เข้ามาเป็นพันธมิตรด้วย

ตัวอย่าง ปตท. เปิดให้บริการ Cafe Amazon ให้เป็นอีกธุรกิจหนึ่งในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคและนักเดินทางมากขึ้น

 

2. พลิกโฉมธุรกิจด้วยนวัตกรรมจากความร่วมมือของพันธมิตร

การสร้าง Ecosystem ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรคืออาวุธที่ทรงพลัง ไม่ว่าจะด้วยนวัตกรรมหรือเครือข่าย ที่สามารถเปลี่ยนโฉมธุรกิจได้อย่างสิ้นเชิง ทั้งยังทำให้มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนด้วย

ตัวอย่าง LINE MAN ผู้ให้บริการส่งอาหารเดลิเวอรีจับมือกับ Wongnai ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรีวิวอาหารที่มีฐานข้อมูลร้านอาหารมากที่สุดในประเทศไทย ส่งผลให้ LINE MAN เติบโตขึ้นถึง 250%

 

3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและป้องกันการคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของธุรกิจ คือ “คู่แข่ง” แม้แบรนด์จะแข็งแกร่งแค่ไหนก็อาจถูกไล่ตามได้ทัน แต่การสร้าง Ecosystem จะทำให้คู่แข่งแซงได้ยากยิ่งขึ้น ทั้งยังทำให้แบรนด์สามารถอยู่ในสนามการค้าได้นานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ตัวอย่าง Starbucks แบรนด์ร้านกาแฟระดับโลกจับมือกับ After You ทำให้ผู้บริโภคหาซื้อขนมของ After You ได้สะดวกขึ้น และ Starbucks เองก็มีเมนูที่หลากหลายมากขึ้นด้วย ถือเป็นการเสริมเกราะให้ทั้งสองแบรนด์แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

แนวทางการสร้าง Ecosystem ให้ประสบความสำเร็จ

 

1. คิดแตกต่าง

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การสร้าง Ecosystem ประสบความสำเร็จได้ คือ “ความแตกต่าง” โดยความต่างนี้สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้พวกเขาจงรักภักดีต่อแบรนด์ หากลองสังเกตจะเห็นว่า เมื่อคนใช้ Apple แล้ว น้อยคนนักที่จะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่น ทั้งนี้ ก็เพราะ Apple สร้างความแตกต่างให้ตัวเองด้วยมือถือไร้ปุ่มตัวเลข และยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อกันได้ง่าย นับว่าเป็น Ecosystem ที่ประสบความสำเร็จสูงมาก

 

2. เลือกพันธมิตรที่เหมาะสม

การเลือกพันธมิตรจะต้องทำให้ภาพรวมของธุรกิจได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด ซึ่งก่อนเลือกพันธมิตรจำเป็นต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้

  • ต้องการพันธมิตรประเภทใด เพราะอะไร
  • ความสามารถด้านไหนของพันธมิตรที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตไปด้วยกัน
  • อะไรเป็นแรงจูงใจให้พันธมิตรอยากมาเข้าร่วม

 

3. สร้างระบบที่ดีกับพันธมิตร

 

เมื่อตกลงเป็นพันธมิตรกันแล้วควรสร้างระบบที่สามารถใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการปรับวัฒนธรรมองค์กรให้สอดคล้องกัน เพื่อลดความขัดแย้งและทำให้การทำธุรกิจเป็นไปตามเป้าหมายอย่างราบรื่น ส่วนไหนสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ยิ่งดี เช่น

  • เครื่องมือที่ใช้ในการประสานงานหรือติดต่อสื่อสาร
  • แพลตฟอร์มช่วยจัดระบบการทำงาน
  • ระบบการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า

 

4. กำหนดเป้าหมายชัดเจน

 

การมีเป้าหมายจะช่วยให้ทราบวิธีการที่เป็นขั้นตอน ทั้งยังช่วยให้มองเห็นทิศทางของการไปต่อพร้อมวิธีรับมือกับคู่แข่ง ทางที่ดีควรกำหนดเป้าหมายร่วมกันกับพันธมิตรเพื่อให้การทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

 

5. โปรโมตให้โลกรู้

 

Ecosystem ที่มีประสิทธิภาพควรประกาศให้โลกรับรู้ว่าผู้บริโภคจะได้อะไรบ้างจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งการเปิดตัวช่วงแรกอาจมีการเปิดให้ทดลองใช้ฟรีหรือจัดโปรโมชันลดแลกแจกแถมเพื่อให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งนี้ อะไรที่ฟรีมากเกินไปอาจทำให้ขาดทุนได้ แต่ถ้าน้อยไปก็อาจทำให้การมีส่วนร่วมลดลงเช่นกัน

 

Summary

 

แม้ว่า Ecosystem จะเป็นการส่งเสริมกันระหว่างพันธมิตรเพื่อสร้างจำนวนเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค เพื่อให้การทำธุรกิจยั่งยืนและป้องกันการคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่

ทั้งนี้ การสร้าง Ecosystem ให้ประสบความสำเร็จอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับความแปลกใหม่เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการเลือกพันธมิตรที่เหมาะสม การสร้างระบบที่ดี และการมีเป้าหมายที่ชัดเจน หากมีทั้งหมดนี้แล้วแต่ไร้ซึ่งการโปรโมต ก็เหมือนกับเข้าใกล้เส้นชัยแต่ไปไม่ถึง

อ้างอิง:

จับตามองเทรนด์ NFT (Non-Fungible Token) คืออะไร? ใครควรลงทุน?

Posted on by admin_beacon_2024

NFT (Non-Fungible Token) กลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างมากในปี 2020 และยิ่งได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นอีกในปี 2021 จากปรากฏการณ์การซื้อขาย NFT ที่มีมูลค่าสูงถึงหลักล้านเหรียญสหรัฐ

จากข้อมูลของ Cloudward พบว่าในปี 2020 ยอดขาย NFT ทั้งหมดอยู่ที่ 250 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสแรกของปี 2021 กลับมียอดขายพุ่งสูงขึ้นเป็นมูลค่ารวมกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในปัจจุบันตลาด NFT ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนสามารถดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ได้มากขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม Raghavendra Rau ศาสตราจารย์ด้านการเงินที่ Cambridge Judge Business School ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ NFT ผ่านทาง BBC Indonesia ว่า “ความสนใจใน NFT ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้อาจเป็นผลมาจากการที่ผู้คนไม่มี “ความสนุกเพียงพอ” ที่จะใช้จ่ายเงินในช่วงการระบาดครั้งใหญ่”

นอกจากนี้ เขายังคิดว่าเทรนด์นี้จะไม่คงอยู่ตลอดไป “เราเคยเห็นกระแสแบบนี้มาซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น การเกิดภาวะฟองสบู่และราคาที่ไม่ได้สัมพันธ์กับปัจจัยพื้นฐาน คุณอาจทำเงินได้มาก แต่ก็ไม่มีอะไรรับประกันได้ ในเมื่อคุณก็อาจสูญเสียเงินมหาศาลได้เช่นกัน”

ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจและเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นอีกมากมายที่เกิดขึ้นท่ามกลางกระแส NFT บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ NFT (Non-Fungible Token) สินทรัพย์ดิจิทัลคลื่นลูกใหม่ที่กำลังปฏิวัติวงการศิลปะทั่วโลก เรามาดูกันว่าสินทรัพย์ดิจิทัลตัวนี้จะมีแนวโน้มเติบโตน่าลงทุนแค่ไหน? หรือจะเป็นเพียงแค่กระแสเท่านั้น?

NFT คืออะไร

NFT (Non-Fungible token) หรือ เหรียญที่ไม่สามารถทดแทนได้ คือ สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ซ้ำใคร จับต้องไม่ได้แต่สามารถซื้อขายได้เหมือนทรัพย์สินอื่นๆ ผ่านเทคโนโลยี Blockchain ที่สามารถจัดเก็บคุณสมบัติและข้อมูลที่เป็นอัตลักษณ์ของเหรียญดิจิทัลประเภทนี้ได้

NFT จึงเปรียบเสมือนหลักฐานยืนยันความเป็นต้นฉบับและความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น โดยสามารถตรวจสอบกรรมสิทธิ์และความถูกต้องของข้อมูลผ่านระบบ Blockchain ที่จะบันทึกธุรกรรมที่เกิดขึ้นไว้ทุกครั้ง โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล คัดลอก หรือทำซ้ำได้

เนื่องจาก NFT เป็นเหรียญดิจิทัลที่มีมูลค่าเฉพาะตัวหนึ่งเดียวในโลก จึงไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้เหมือนสกุลเงินทั่วไป (Fiat Currency) หรือสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) เช่น Bitcoin, Dogecoin, Ethereum อย่างไรก็ตาม เราสามารถซื้อ NFT ได้ด้วยสกุลเงินดิจิทัลผ่านระบบ Blockchain ซึ่งในปัจจุบัน Ethereum Blockchain ถือเป็นแพลตฟอร์ม NFT ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด

 

ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จาก NFT ในแวดวงศิลปะ

ศิลปินสามารถสร้าง NFT หรือคริปโตอาร์ต (Cryptoart) โดยใช้แพลตฟอร์ม เช่น OpenSea หรือ Mintable เพื่อสร้างและอัปโหลดไฟล์ดิจิทัล รวมทั้งทำสัญญาที่เกี่ยวข้องซึ่งจะมีระบุไว้ในแพลตฟอร์มเหล่านี้ และสามารถเข้าถึงได้โดยผู้ซื้อที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีบัญชีและกระเป๋าเงินดิจิทัลสำหรับ Ethereum เพื่อใช้ในการจัดเก็บและซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างกัน

NFT สามารถอยู่ในรูปแบบดิจิทัลได้ทุกประเภท เช่น GIF, JPEG, MP3 จึงเป็นไปได้ตั้งแต่ผลงานศิลปะ คอลัมน์ที่ตีพิมพ์ คลิปไฮไลท์กีฬา ภาพถ่ายคนดัง หรือแม้แต่มีมที่เป็นไวรัล ตัวอย่างผลงานที่โด่งดังและมีมูลค่าสูงติดอันดับโลก อาทิ

  • Christie’s Auction House เปิดประมูลขายผลงานศิลปะภาพคอลลาจ Everydays: The First 5,000 Days ของศิลปิน Beeple จบลงที่ราคาสูงถึง 69.3 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • Jack Dosey ซีอีโอของ Twitter เปิดประมูลทวีตแรกของเขาที่มีข้อความสั้นๆ ว่า just setting up my twttr ในรูปแบบ NFT จบลงที่ราคา 1,630 ether หรือประมาณ 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • “Disaster Girl” ภาพเด็กผู้หญิงที่มีฉากหลังเป็นเหตุการณ์ซ้อมดับไฟไหม้ ซึ่งกลายเป็นมีมสุดโด่งดังบนโลกออนไลน์ ถูกนำมาขายในรูปแบบ NFT ได้ราคาถึง 500,000 ดอลลาร์

ทำไม NFT ถึงได้รับความนิยม

ปัจจุบัน เริ่มมีผู้คนในวงการอื่นๆ หันมามองหาวิธีใช้ประโยชน์จาก NFT ในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เนื่องจากศิลปะดิจิทัลบางชิ้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำเงินมหาศาลให้กับศิลปินได้อย่างน่าเหลือเชื่อ อีกทั้งยังมีศิลปินหลายคนที่สามารถแจ้งเกิดและลืมตาอ้าปากได้จากการขาย NFT แค่ภาพเดียว

จะเห็นได้ว่าจุดแข็งที่ชัดเจนของ NFT คือ ศักยภาพและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีในการแปลงสินทรัพย์ทางกายภาพให้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินการซื้อขายโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง ทำให้ศิลปินและนักสร้างสรรค์ทุกรูปแบบสามารถขายผลงานของตนเองได้ในวงกว้าง ในขณะเดียวกัน นักสะสมก็สามารถเข้าถึงผลงานศิลปะทั่วโลก โดยที่ทั้งสองฝ่ายสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง

นอกจากนี้ NFT ยังได้นำไปสู่การสร้างแพลตฟอร์มตลาดกลาง เช่น OpenSea, Rarible, Mintable ที่ทำให้ศิลปินได้ใช้ประโยชน์จากการสร้างผลงานและประมูลขายงานศิลปะดิจิทัล ซึ่งอาจเป็นโอกาสทองในการทำเงินก้อนใหญ่ เหมือนที่เราได้เห็นตามข่าวอยู่เรื่อยๆ ว่ามีนักสะสมและนักลงทุนบางรายยอมทุ่มเงินประมูลหลายล้านเหรียญสหรัฐเพื่อแลกกับการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใน NFT ที่จับต้องไม่ได้

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนสามารถนำ NFT ที่ซื้อเพื่อเก็งกำไรมาประมูลขายต่อได้และโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของต่อให้กับอีกคนหนึ่งได้ ในขณะที่ศิลปินก็ยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพที่เกี่ยวข้องกับเหรียญ NFT นั้นอยู่ จึงมีสิทธิ์ได้รับค่าลิขสิทธิ์ในทุกครั้งที่มีการขายเหรียญนั้นต่อให้กับคนอื่นด้วย

ด้วยจุดเด่นและข้อดีที่แต่ละฝ่ายมีโอกาสได้รับ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตลาด NFT จะเริ่มเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจจากทั้งกลุ่มศิลปิน นักสะสม นักลงทุน และคนดังในวงการต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

ใครควรลงทุนและสิ่งที่ควรรู้ก่อนลงทุน NFT

กลุ่มคนที่เข้ามาลงทุนในตลาด NFT แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ นักสะสมและนักลงทุน

สำหรับนักสะสม แรงจูงในการซื้อ NFT ส่วนใหญ่มักมาจากความชอบและความพึงพอใจส่วนตัวที่มีต่อศิลปินหรือผลงานนั้นๆ จนอยากได้ชื่อว่าเป็นผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเพียงคนเดียวในโลก รวมทั้งบางคนมีความต้องการสนับสนุนศิลปินและวงการศิลปะให้เติบโตและยังคงอยู่ท่ามกลางยุคสมัยของเทคโนโลยี

สำหรับนักลงทุนทั่วไป NFT ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงและมีการเก็งกำไรค่อนข้างสูง เพราะไม่ได้อิงมูลค่าตามประโยชน์ใช้สอย แต่อิงตามการให้คุณค่าของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นๆ มูลค่าของ NFT จึงอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของตลาด เงื่อนไข หรือความชอบส่วนบุคคล

ดังนั้น หากคุณกำลังพิจารณาซื้อ NFT ในฐานะนักลงทุน ไม่ใช่นักสะสม ควรเริ่มต้นศึกษาหาข้อมูลให้รอบคอบไม่ต่างกับการลงทุนประเภทอื่นๆ เช่น

  • พิจารณาชื่อเสียงของผู้สร้าง NFT ว่ามีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการขายต่อในอนาคตได้หรือไม่ เนื่องจากชื่อเสียงของผู้สร้าง ความหายากของผลงาน หรือประวัติความเป็นมาที่ยาวนานล้วนส่งผลต่อราคาประมูลและความต้องการของตลาดแทบทั้งสิ้น
  • ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของให้ดีว่ามีขอบเขตแค่ไหน เพราะ NFT บางเหรียญอนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ แต่บางเหรียญอาจให้แค่สิทธิ์ในการครอบครอง ไม่ครอบคลุมการใช้ประโยชน์ทางการค้า
  • แพลตฟอร์ม NFT ส่วนใหญ่ใช้สกุลเงินดิจิทัลเพื่อแลกเปลี่ยน NFT จึงมีความเสี่ยงต่อความผันผวนของมูลค่าสกุลเงินดิจิทัลที่คุณต้องยอมรับให้ได้ นอกเหนือจากความเสี่ยงที่ NFT นั้นจะสูญเสียมูลค่าทั้งหมดเมื่อเกิดภาวะฟองสบู่แตก

 

Summary

Non-Fungible Token (NFT) ถือเป็นการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ทำให้เส้นแบ่งระหว่างสินทรัพย์ในโลกทางกายภาพและโลกดิจิทัลเริ่มมีความไม่ชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นผู้นำการปฏิวัติด้วยการนำเอาโลกศิลปะกับโลกธุรกิจมาเชื่อมต่อกันได้อย่างไร้ขอบเขตผ่านการใช้ระบบ Blockchain ที่สามารถตัดคนกลางและเพิ่มโอกาสในการซื้อขายสินค้าที่หายากหรือมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก ทำให้ศิลปินมีโอกาสได้รับผลตอบแทนแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น นักสะสมสามารถเข้าถึงและครอบครอง NFT ที่ตนเองชื่นชอบได้จากทั่วโลก ส่วนนักลงทุนก็สามารถเลือกซื้อ NFT ที่มีศักยภาพเพื่อเก็งกำไรจากการขายต่อในอนาคตได้

แม้ว่าโอกาสและแนวโน้มการพัฒนาของ NFT ในอนาคตจะดูน่าตื่นเต้น แต่นักลงทุนควรตระหนักไว้เสมอว่าการลงทุนใน NFT มีความเสี่ยงและควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ หากยังไม่แน่ใจในสถานการณ์ความผันผวนของมูลค่า NFT ว่าเป็นเพียงกระแสชั่วคราวหรือเป็นภาวะฟองสบู่ที่ใกล้จะแตกหรือไม่ ให้รออีกสักพักจนกว่าจะเห็นว่าตลาดนั้นเริ่มเติบโตอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ

เพราะปัจจุบันยังไม่มีใครยืนยันได้ว่า NFT จะสามารถพัฒนาไปสู่ตลาดที่มีมูลค่ามากกว่าล้านล้านเหรียญเช่นเดียวกับสกุลเงินดิจิทัลแบบดั้งเดิมได้หรือไม่ คงมีแค่เวลาเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่อย่างน้อยที่สุดการเติบโตและพัฒนาแบบก้าวกระโดดของ NFT ก็ถือเป็นเทรนด์สำคัญของยุคที่ควรค่าแก่การจับตามองอย่างใกล้ชิด

อ้างอิง:

เพิ่มโอกาส Startup ประสบความสำเร็จด้วย Mindfulness ทักษะที่ผู้นำควรมี

Posted on by admin_beacon_2024

ผู้ก่อตั้ง Startup ในช่วงเริ่มต้นมักต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ทั้งเรื่องทรัพยากรที่มีจำกัด ความยากลำบากในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายปีในการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับของตลาด ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการระดมทุนรอบถัดไป รวมทั้งคำถามที่วนเวียนในหัวว่าจะสามารถผลักดันธุรกิจให้ประสบความสำเร็จก่อนที่เงินจะหมดได้หรือไม่?

ด้วยเหตุนี้ Mindfulness หรือ “สติ” จึงเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการเริ่มต้นธุรกิจ Startup เพราะผู้นำที่มีสติจะสามารถยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง จัดการกับความวิตกกังวลและความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มองเห็นโอกาสและทิศทางในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้

บทความนี้จะพาไปค้นหาคำตอบว่าทำไม Mindfulness จึงเป็นทักษะสำคัญของผู้นำ? พร้อมแนะแนวทางสู่การเป็นผู้นำที่มีสติก่อนสตาร์ทอัพ!

ทำไม Mindfulness จึงเป็นทักษะสำคัญของผู้นำสตาร์ทอัพ?

Dr. Elise Bialylew ผู้ประกอบการทางสังคมซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งแคมเปญ Mindful การฝึกสติออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้เขียนหนังสือขายดีอันดับ 1 เรื่อง The Happiness Plan ได้กล่าวถึงความสำคัญของ Mindfulness ที่จะส่งผลต่อเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพไว้ 3 ข้อ ได้แก่

 

1. จุดประกายความคิดสร้างสรรค์

การทำสมาธิช่วยให้จิตใจได้ผ่อนคลายจากความวุ่นวายและการใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไป พร้อมเปิดรับความคิดใหม่ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการพยายามกดดันตัวเอง แต่เป็นผลจากคลื่นของความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการค้นพบวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

 

2. ป้องกันความเครียด

ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพมักทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อก่อร่างสร้างธุรกิจในช่วงแรกอย่างสุดกำลัง ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดความเหนื่อยล้าและหมดพลังจนอยากยอมแพ้ได้ง่าย เพราะจิตใจและร่างกายของคนเราไม่ได้ออกแบบมาให้จัดการกับความเครียดเป็นระยะเวลานาน การทำสมาธิจึงเป็นวิธีช่วยปกป้องผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพจากความเครียดเรื้อรังได้ เพราะช่วยลดระดับคอร์ติซอล ลดความวิตกกังวล ปรับสภาพจิตใจและร่างกายให้กลับสู่ภาวะที่สมดุลเมื่อมีการฝึกสติอย่างต่อเนื่อง

 

3. เป็นผู้นำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การสื่อสารที่ชัดเจนและการตัดสินใจที่ดีภายใต้ความกดดันเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพต้องมี แต่เมื่อคนเราตกอยู่ภายใต้ความเครียด ทักษะการสื่อสารและการตัดสินใจจะลดประสิทธิภาพลงอย่างมาก ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย แต่การฝึกสติอยู่เสมอจะช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองในระดับสูง เช่น ช่วยให้สงบสติอารมณ์ได้ในขณะที่กำลังโกรธ เพิ่มความสามารถในการสื่อสารและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แนวทางสู่การเป็นผู้นำสตาร์ทอัพที่มี Mindfulness

เมื่อความเครียดและปัญหาต่างๆ เป็นสิ่งที่ผู้นำสตาร์ทอัพต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถรับมือได้ด้วย Mindfulness หรือการมีสตินั่นเอง

ต่อไปนี้คือแนวทางเบื้องต้นที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะ Mindfulness เพื่อให้ผู้นำทุกคนสามารถจัดการกับความเครียดและขับเคลื่อนธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ฝึกสมาธิ

หากคุณต้องการเป็นผู้นำที่มี Mindfulness การฝึกสมาธิเป็นวิธีที่ทรงพลังในการสร้างความแข็งแกร่งทางจิตใจไม่ให้ถูกครอบงำจากสิ่งเร้ารอบตัวมากเกินไป เพียงแค่ให้เวลาตัวเองวันละ 10-15 นาทีเพื่อนั่งสมาธิ ผู้นำที่สามารถนั่งสมาธิได้ทุกวันจะใจเย็นขึ้น และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดในชีวิตประจำวันน้อยลง

 

ทบทวนจุดมุ่งหมายที่แท้จริง

ผู้นำที่มี Mindfulness จะมีมุมมองที่มุ่งเน้นไปยังจุดมุ่งหมายหลักของธุรกิจ ซึ่งสามารถค้นหาได้ด้วยการใช้เวลาทบทวนเหตุผลทั้งหมดของการเริ่มต้นก่อตั้งสตาร์ทอัพ เมื่อคุณรู้จุดมุ่งหมายที่แท้จริงจะสามารถจดจ่อกับการทำภารกิจที่สำคัญให้สำเร็จไปทีละขั้นตอน ไม่วอกแวกไปกับสิ่งรบกวนอื่นๆ จึงมีพลังสติมากพอที่จะจัดการกับอุปสรรคและปัญหาที่เข้ามาได้อย่างไม่เคร่งเครียด

 

ขอบคุณให้เป็น

การขอบคุณเป็นอีกวิธีที่จะช่วยพัฒนาสติและสุขภาพจิตของผู้นำให้แข็งแรง วิธีฝึกหัดในชีวิตประจำวันแบบง่ายๆ คือ การจดบันทึกเหตุการณ์หรือสิ่งที่คุณรู้สึกอยากขอบคุณในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยให้คุณรู้สึกดีกับชีวิต มองโลกในแง่ดีมากขึ้น และมีทัศนคติเชิงบวกจนเกิดความตระหนักว่าปัญหาในการทำธุรกิจหลายๆ อย่างไม่ได้เลวร้ายจนแก้ไขไม่ได้อย่างที่คิด

 

หาเวลาพักสมองช่วงสั้นๆ

ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพหลายคนลืมที่จะหยุดพักสมองเมื่อตกอยู่ภายใต้ความเครียด หากคุณต้องการเป็นผู้นำที่มี Mindfulness ลองใช้เวลาไม่กี่นาทีต่อวันเพื่อตั้งสติด้วยการนั่งเงียบๆ ปล่อยใจให้ล่องลอยไปตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องตั้งใจทำสมาธิอย่างเต็มที่ก็ได้ แค่หายใจและปลดปล่อยความเครียดที่ทำให้คุณรู้สึกแย่ เพียงเท่านี้ก็ช่วยดึงสติให้กลับคืนมาได้แล้ว

 

สร้างสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน

ความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานมีความสำคัญมากสำหรับผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ เพราะสามารถช่วยตั้งสติและเตือนสติให้คุณตระหนักถึงความสำเร็จที่แท้จริงของชีวิต

ไม่ว่าจะทำงานหนักแค่ไหน ต้องไม่ลืมดูแลตัวเอง แบ่งเวลาให้กับความสนใจและงานอดิเรกอื่นๆ บ้าง รวมทั้งการใช้เวลาอยู่กับครอบครัวและเพื่อนฝูงที่ช่วยสนับสนุนให้คุณมาไกลได้ขนาดนี้ เพราะความสำเร็จของคุณไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำงานหนักเท่านั้น แต่ยังมีเบื้องหลังที่ประกอบด้วยผู้คน ประสบการณ์ และช่วงเวลาแห่งความสุขเหล่านี้เช่นกัน

 

Summary

Mindfulness หรือสติไม่ใช่พลังวิเศษที่ช่วยให้ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพหลีกเลี่ยงการเผชิญกับปัญหา ความผิดหวัง และความล้มเหลว แต่สามารถช่วยให้ฟื้นตัวจากความล้มเหลวและเอาชนะความยากลำบากได้ในที่สุด เพราะการมีสติจะช่วยให้ผู้นำค้นพบมุมมองใหม่จากความคิดสร้างสรรค์ สามารถจัดการกับความเครียด และเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้นำที่พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการสร้าง Mindfulness สำหรับผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการฝึกฝนโดยตรงด้วยการนั่งสมาธิ หรือจะเป็นการฝึกทางอ้อม เช่น การนั่งคิดทบทวนถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงในการทำธุรกิจของคุณเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายโดยไม่วอกแวกกับสิ่งรบกวนรอบข้าง การฝึกขอบคุณเรื่องราวดีๆ ในชีวิตเพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวก การหาเวลาพักสมองช่วงสั้นๆ เพื่อตั้งสติและจัดการความเครียดในระหว่างวัน หรือแม้แต่การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานให้เหมาะสม

สุดท้ายนี้ สติไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน แต่ต้องอาศัยความพยายามและวินัยในการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ถ้าพร้อมจะเป็นผู้นำที่มี Mindfulness แล้ว มาตั้งสติก่อนสตาร์ทอัพกันเถอะ!

อ้างอิง:

Affiliate Marketing คืออะไร พร้อมวิธีประยุกต์ใช้กับธุรกิจ Startup

Posted on by admin_beacon_2024

Affiliate Marketing กลยุทธ์ทางการตลาดที่ลงทุนไม่มาก แต่ได้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ โดยอาศัยตัวแทน นายหน้า เพื่อโฆษณาสินค้าและบริการ ทั้งนี้การทำ Affiliate Marketing เป็นกลยุทธ์ที่สร้างประโยชน์ให้ทั้งแบรนด์และนายหน้า แต่จะมีประโยชน์อย่างไร และทำยังไงทาง Katalyst ได้นำข้อมูลดีๆมาฝากในบทความนี้แล้ว

 

Affiliate Marketing คืออะไร

Affiliate Marketing คือ รูปแบบการทำการตลาดให้กับบุคคลหรือบริษัทอื่นด้วยการโปรโมตสินค้าและบริการผ่านช่องทางของเรา เช่น สื่อออนไลน์อย่าง Social Media หรือการสร้างเว็บไซต์และแอพลิเคชั่น โดยมีวัตถุประสงค์ให้กลุ่มลูกค้าเลือกซื้อสินค้าหรือสมัครสมาชิกจากแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้น ซึ่งเราจะได้รับค่าตอบแทนจากแบรนด์ที่เราทำการตลาดให้

 

องค์ประกอบของ Affiliate Marketing

สำหรับองค์ประกอบหรือผู้มีส่วนเกี่ยวของใน Affiliate Marketing แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักดังนี้

  • 1. Seller and product creator คือ เจ้าของผลิตภัณฑ์/บริษัท ที่ว่าจ้างให้บุคคลหรือบริษัททำการโปรโมตสินค้าและบริการผ่านช่องทางต่างๆ
  • 2. The affiliate or publisher คือ บุคคลหรือบริษัท ที่ทำการโปรโมตสินค้าและบริการให้กับผู้ว่าจ้าง ผ่านช่องทางของตนเอง โดยจะได้รับค่าตอบแทนจาก Seller ทั้งในรูปแบบของค่าจ้างหรือค่าคอมมิชั่นจากการขายสินค้า
  • 3. Customer คือ กลุ่มผู้บริโภคที่ติดตาม publisher ในช่องทางต่างๆ โดยซื้อสินค้าและบริการผ่านการโปรโมตของ publisher

รูปแบบรายได้ของ Affiliate Marketing

สำหรับรูปแบบรายได้จากการทำ Affiliate Marketing มีด้วยกันหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละบริษัท โดยรูปแบบรายได้มีดังนี้

  • 1. Pay per Sale (PPS) การจ่ายเงินหลังจากมีการซื้อสินค้าและบริการ โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ตามราคาของผลิตภัณฑ์ที่แบ่งมายัง Publisher
  • 2. Pay per Lead (PPL) รายได้จะเกิดขึ้นจากการเก็บ Lead ผ่านการสร้างลิงก์ให้ผู้บริโภคเข้าไปยังเว็บไซต์และลงทะเบียนสมัครสมาชิกกับทางแบรนด์
  • 3. Pay per Click (PPC) การจ่ายเงินจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้คลิกโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มนั้น ซึ่ง PPC จะไม่กำหนดว่าผู้คลิกต้องซื้อสินค้าหรือไม่ แค่เพียงคลิกโฆษณา Publisher ก็สามารถได้รายได้แล้ว

 

วิธีการทำ Affiliate Marketing กรณีศึกษา Tiktok

หนึ่งในวิธีการเริ่มต้นทำ Affiliate Marketing ที่ง่ายที่สุด คือการใช้แพลตฟอร์มโซเซียลมีเดียอย่าง Tiktok ซึ่งขั้นตอนการสร้างรายได้จากการตลาดประเภทนี้ไม่ยาก เพียงแค่เปลี่ยนตัวเองจากคนทั่วไปให้กลายเป็น Influencer ด้วยการเล่น Tiktok สำหรับขั้นตอนการทำ Affilitate Marketing ผ่าน Tiktok มีดังนี้

  • 1. วางแผนก่อนสร้างคอนเทนต์ เพื่อกำหนดแนวทางตัวเองว่าอยากเป็น Influencer ด้านไหน เช่น ด้านท่องเที่ยว, อาหาร หรือกีฬา เพราะความชัดเจนในการกำหนดแนวทาง จะช่วยให้แบรนด์มองเห็นช่องทางในการทำ Affiliate Marketing กับเรา
  • 2. มองหาช่องทางสร้าง Traffic สำหรับในช่วงแรกยอดการเข้าถึง (Reach) อาจจะยังน้อยอยู่ ดังนั้นหากต้องการทำ Affiliate Marketing การสร้าง Traffic จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แบรนด์เห็นความคุ้มค่าในการลงทุนกับเรา โดยแนวทางการสร้าง Traffic มีหลายวิธี เช่น การ แปะ URL Tiktok ในช่องทางโซเซียลมีเดียอื่น ศึกษาเวลาโพสต์ที่เหมาะสม ใช้แฮชแท็ก (Hashtag) หรือร่วมงานกับคนอื่นที่มีชื่อเสียง เป็นต้น

ด้วยสองขั้นตอนนี้ที่สร้างบุคลิกที่ชัดเจน (Character) และการสร้างฐานแฟนคลับจะทำให้มีโอกาสได้รับการติดต่อจากแบรนด์ ซึ่งหากได้รับการติดต่อแล้วขั้นตอนการทำ Affiliate Marketing ก็ไม่ยากเพียงแค่แปะลิงก์ URL ที่หน้าโปรไฟล์ หรือแปะโค้ดส่วนลดในคลิปวีดิโอ เพียงเท่านี้ก็มีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มแล้ว

Startup กับการทำ Affiliate Marketing

Affiliate Marketing เปรียบเสมือนช่องทางการหารายได้เสริมสำหรับ Startup ที่มีแพลตฟอร์มในมือทั้งในรูปแบบของเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เพียงแค่ปรับใช้สินทรัพย์ที่มีให้สร้างรายได้เพิ่มเติมผ่านการลงโฆษณาผ่านในแพลตฟอร์มตัวเอง

 

ข้อดีของการทำ Affiliate Marketing สำหรับ Startup

1. สร้างรายได้โดยไม่ต้องลงทุน

การทำ Affiliate Marketing คือการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้ว เพียงแค่เพิ่มการโฆษณาสินค้าและปรับ User Interface (UI) ให้ดึงดูดคลิกจากลูกค้า ซึ่งเจ้าของแพลตฟอร์มแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพียงแต่ประยุกต์ใช้สิ่งเดิมที่มีอยู่เพื่อสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น

2. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าในเชิงลึก

ไม่เพียงแต่ในด้านรายได้เท่านั้น แต่สิ่งที่เหล่าคนทำ Startup จะได้รับคือ ข้อมูล (Data) ในระดับ Micro Behavior ผ่านการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าบนแพลตฟอร์ม ความสนใจต่อสินค้าและปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งสามารถนำข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มาวิเคราะห์และปรับใช้ในการพัฒนาสินค้าของตัวเองให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

Affiliate Marketing กับ Startup กรณีศึกษา Shopback

Shopback เป็น Startup สัญชาติสิงคโปร์ที่นำกลยุทธ์ Affiliate Marketing มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจจนสามารถขยายจากสิงคโปร์สู่ มาเลเซีย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์และไทย ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายออนไลน์ เปรียบเสมือนห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่บนหน้าจอโทรศัพท์

โดย Shopback นำกลยุทธ์ Affiliate Marketing มาปรับใช้ผ่านการสร้างแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อเข้ากับ e-commerce ทั้ง Lazada, Sephora หรือแม้กระทั่ง Grab ซึ่งเมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าและบริการผ่าน Shopback ทาง Shopback จะได้ค่าคอมมิชชั่นการขายจากผู้ให้บริการเหล่านี้

สิ่งที่ทำให้ Shopback ประสบความสำเร็จผ่านการใช้ Affiliate Marketing คือ กระบวนการทำธุรกิจที่แตกต่าง โดย Shopback เลือกแบ่งค่าคอมมินชั่นส่วนนึงคืนกำไรสู่ลูกค้า สร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์ม ซึ่งล่าสุดทาง Shopback ได้คืนกำไรสู่ผู้บริโภคมากกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว

 

Summary

Affiliate Marketing เป็นหนึ่งในแนวทางการทำการตลาดและกระบวนการสร้างรายได้ การตลาดแบบพันธมิตร ที่สามารถสร้างกำไรผ่านการเพิ่มช่องทางการขาย หรือในกรณีของการเป็น publisher ก็สามารถสร้างรายได้ โดยแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย Affiliate Marketing จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้ผลประโยชน์ทั้ง seller และ publisher

อ้างอิง:

ทำไม Customer Centric ถึงสำคัญกับธุรกิจ Startup

Posted on by admin_beacon_2024

แม้ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีและการระดมเงินทุนจากภายนอกจะส่งผลต่อแนวโน้มการเติบโตของสตาร์ทอัพได้อย่างรวดเร็ว แต่หนึ่งในรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน คือ การมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเส้นทางของผู้บริโภคตั้งแต่ขั้นตอนก่อนจะเป็นลูกค้าจนกระทั่งตัดสินใจซื้อ รวมถึงการกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำด้วย

Shanthi Padmanabhan รองประธานฝ่าย Customer Success ของ Salesforce India กล่าวว่า “วิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้สตาร์ทอัพต้องลงทุนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้าและปรับปรุงธุรกิจให้ดีขึ้น สิ่งหนึ่งที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับบริษัทและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคือการเชื่อมต่อและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น”

Customer Centric คืออะไร

Customer Centric คือ แนวทางการทำธุรกิจที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางด้วยการทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าเป็นจุดสนใจหลักในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ช่วงแรกที่ลูกค้ารู้จักแบรนด์ไปจนถึงตอนตัดสินใจซื้อ ซึ่งบริษัทจำเป็นต้องวางระบบที่เอื้อต่อการสร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าให้ได้อย่างต่อเนื่อง

กุญแจสำคัญอยู่ที่การทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าและ Customer Journey ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถติดตามได้ว่าลูกค้าโต้ตอบกับธุรกิจของคุณอย่างไรโดยใช้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแรงจูงใจ ความพึงพอใจหรือความผิดหวังในแต่ละ Touchpoint ของเส้นทางการซื้อขาย

การมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางจึงไม่ใช่แค่การบริการลูกค้าด้วยความสุภาพ หรือส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างวัฒนธรรมการทำงานของบริษัทโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความพึงพอใจและความประทับใจให้กับลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งในทุกขั้นตอน

 

ความสำคัญของ Customer Centric

แม้ว่าลูกค้าจะเป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดมาโดยตลอด แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลได้เพิ่มอัตราการแข่งขันของธุรกิจออนไลน์ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 ที่ส่งผลให้การโต้ตอบและการบริการลูกค้าแบบเห็นหน้าเป็นไปได้ยากและมีข้อจำกัด นอกจากนี้ ลูกค้ายังมีอำนาจในการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการได้ดีที่สุดท่ามกลางทางเลือกจำนวนมากมายโดยค้นหาข้อมูลได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว

การมุ่งเน้นที่ลูกค้าจึงทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้บริษัทของคุณโดดเด่นเหนือกว่าบรรดาคู่แข่งในสายตาของลูกค้าปัจจุบันและว่าที่ลูกค้าในอนาคตด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • ช่วยสร้างความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์

    หากคุณไม่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง พวกเขาก็จะมีส่วนร่วมน้อยลงและหันไปสนใจบรรดาคู่แข่งของคุณแทน ในทางกลับกัน ถ้าคุณยกให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและสามารถสานต่อจนกลายเป็นความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ได้ในที่สุด ยืนยันด้วยสถิติจาก GetVoIP ดังนี้:

    • – 64% ของผู้บริโภคต้องการให้แบรนด์เชื่อมต่อกับพวกเขา
    • -ลูกค้าที่ให้คะแนนบริษัทที่มีการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้ามีแนวโน้มจะซื้อสินค้าและบริการของบริษัทนั้นมากขึ้น 34% รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะช่วยแนะนำบอกต่อบุคคลอื่นมากขึ้น 37%
    • -86% ของลูกค้ายินดีจ่ายแพงขึ้นเพื่อแลกกับประสบการณ์ดีเยี่ยมที่จะได้รับ
  • เพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาได้

    แนวทางการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าอยากรู้จักแบรนด์ของคุณมากขึ้น และยินดีให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความชอบและความต้องการของพวกเขา ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดเป้าหมายแคมเปญการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าตัวจริงมากขึ้น โดยไม่ต้องเสียเงินไปกับแคมเปญโฆษณาและกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ตอบโจทย์

  • ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

    ปัจจุบัน ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือและมักมองหารีวิวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการจากผู้ใช้จริงที่เผยแพร่ตามเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียต่างๆ ทำให้เสียงของลูกค้ามีพลังและดังขึ้นกว่าที่เคย

    Customer Centric จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างลูกค้าที่มีความเชื่อมั่นในแบรนด์ ยิ่งคุณสร้างลูกค้ากลุ่มนี้ได้มากเท่าไร ก็ยิ่งมีแนวร่วมที่ช่วยเป็นกระบอกเสียงที่ทรงพลัง ทั้งการแนะนำแบบปากต่อปาก การรีวิวติดดาว และการแสดงความคิดเห็นเชิงบวกลงในโลกออนไลน์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลลัพธ์ที่ประเมินค่าไม่ได้ เพราะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัทของคุณได้โดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท

    นอกจากนี้ การมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางยังช่วยให้คุณสามารถตอบสนองต่อคำติชมของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม เมื่อเกิดความคิดเห็นด้านลบเกี่ยวกับแบรนด์ การติดต่อกลับเพื่อแก้ไขความผิดพลาดและตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้สถานการณ์คลี่คลายและจบลงด้วยดี

    แต่ถ้าคุณล้มเหลวในการตอบสนองลูกค้าเพียงแค่คนเดียวก็อาจกลายเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ เมื่อข้อมูลเชิงลบเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณถูกส่งต่อไปทั่วโลกออนไลน์ เมื่อนั้นภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ใช้เวลาสร้างขึ้นมาหลายปีก็อาจเสียหายได้ภายในวันเดียว

ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

 

เพราะการสร้างประสบการณ์ที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกบริษัทไม่ใช่แค่องค์กรขนาดใหญ่ ปัจจุบัน มีสตาร์ทอัพหลายแห่งที่เริ่มให้ความสำคัญกับ Customer Centric มากขึ้นเรื่อยๆ และได้รับผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม

 

“จะทำสินค้า บริการ หรือนวัตกรรม สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องเข้าใจให้ได้ คือ ลูกค้าของเราจริงๆ แล้วต้องการอะไร และเราจะขยับธุรกิจไปตอบโจทย์กับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดได้ด้วยวิธีการแบบไหนบ้าง ยิ่งเราเข้าใจลูกค้ามากเท่าไร นั่นหมายถึงประตูโอกาสบานใหม่ที่จะเปิดกว้างขึ้นเท่านั้น”

 

ข้อความข้างต้นเป็นคำกล่าวของคุณพงษ์ลดา พะเนียงเวทย์ CEO ของ Freshket สตาร์ทอัพตลาดสดออนไลน์สัญชาติไทยที่ตั้งใจจะเป็นศูนย์รวมวัตถุดิบคุณภาพสำหรับลูกค้าที่เป็นกลุ่มร้านอาหารไว้แบบครบวงจรบนแพลตฟอร์มเดียว

ในช่วงเริ่มต้น Freshket ประสบปัญหาไม่มีลูกค้าสนใจใช้บริการมากนัก ทั้งที่คิดว่าได้พัฒนาแพลตฟอร์มให้มีสินค้าหลากหลายและวางระบบทุกอย่างไว้สมบูรณ์แล้ว จึงตัดสินใจลงพื้นที่ไปพูดคุยกับบรรดาเจ้าของร้านอาหารตัวจริงเสียงจริงวันละไม่ต่ำกว่า 10-20 ร้าน จนค้นพบคำตอบว่าร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการวัตถุดิบที่หลากหลาย เพราะมีรายการวัตถุดิบที่ต้องใช้เป็นประจำอยู่แล้ว สิ่งที่ลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการมากที่สุด คือ วัตถุดิบคุณภาพดี ราคาสมเหตุสมผล และบริการจัดส่งที่รวดเร็ว

เมื่อเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของลูกค้า Freshket ได้กลับมาปรับปรุงระบบซัพพลายเชน ด้วยการหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ราคาไม่ต่างจากไปซื้อเองที่ตลาด และวางระบบการจัดส่งให้รวดเร็วที่สุด ของถึงมือลูกค้าครบถ้วน ไม่เสียหาย มีเจ้าหน้าที่ QC หน้าคลังสินค้า พร้อมจัดเตรียมทีมงานซัพพอร์ตลูกค้าร้านอาหารตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุด) ในกรณีที่ลูกค้าได้รับของไม่ครบ Freshket จะดำเนินการจัดหาสินค้าใหม่ให้ภายใน 3 ชั่วโมง หรือหากได้รับวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพก็ยินดีคืนเงินให้ทันทีอีกด้วย

หลังจาก Freshket ใช้ Customer Centric ปรับปรุงรูปแบบธุรกิจให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้ามากขึ้น ก็ได้รับผลสำเร็จและมีการเติบโตทางธุรกิจอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบัน มีลูกค้าร้านอาหารสนใจใช้บริการผ่านแพลตฟอร์ม Freshket มากกว่า 4,500 แห่งแล้ว พร้อมขึ้นแท่นสตาร์ทอัพที่น่าจับตามองจนได้รับการระดมเงินทุนไปแล้วกว่า 93 ล้านบาท

 

Summary

ธุรกิจที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางมักจะแสวงหาและใส่ใจความคิดเห็นจากลูกค้า พยายามคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าในทุกขั้นตอน รวมทั้งคอยให้บริการและช่วยเหลือลูกค้าอย่างดีเยี่ยม เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าตลอดเส้นทางการขายให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ Customer Centric ยังเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญในการช่วยเสริมประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาด ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัทผ่านรีวิวเชิงบวก และการบอกต่อของลูกค้าที่มีความเชื่อมั่นอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ ท่ามกลางการแข่งขันในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าธุรกิจสตาร์ทอัพของคุณจะมีผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีที่ดีมากแค่ไหน ก็ยังต้องให้ความสำคัญกับการมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพราะถ้าปราศจากความเชื่อมั่นของลูกค้าแล้ว ธุรกิจของคุณก็อาจไปไม่รอดในระยะยาว

อ้างอิง:

[กรณีศึกษา] ขับเคลื่อนธุรกิจในยุคโควิดด้วย Digital Transformation

Posted on by admin_beacon_2024

Digital Transformation คำยอดฮิตที่หลายคนได้ยินในวงการธุรกิจมาตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งความสำคัญของ Digital Transformation เริ่มชัดเจนมากยิ่งขึ้นหลังเกิดวิกฤต COVID-19 ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกครั้งใหญ่ และ Digital Transformation นี้เองที่เป็นกุญแจสำคัญในการพาธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้

 

Digital Transformation คืออะไร

Digital Transformation คือ กระบวนการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในองค์กร ทั้งการเปลี่ยนกระบวนการทำงานและปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้องค์กรก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล โดยการทำ Digital Transformation แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Digitalization และ Digitization

 

1. Digitalization

Digitalization คือ การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ (Business Model) หรือเปลี่ยนกระบวนการทำงาน (Process) เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจผ่านรูปแบบธุรกิจใหม่และการค้นหาแหล่งรายได้ใหม่

 

2. Digitization

Digitization คือ การเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากแอนะล็อกสู่ดิจิทัล เพื่อลดการใช้ข้อมูลแบบออฟไลน์และปรับมาสู่การทำงานบน Cloud เพื่อให้ข้อมูลเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ

 

COVID-19 Disruption การเปลี่ยนแปลงที่นำมาสู่ Digital Transformation

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้หลายภาคธุรกิจได้รับผลกระทบ วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป ทั้งในด้านการบริหารธุรกิจ ช่องทางการค้า และแนวทางการทำการตลาด โดยแต่ละด้านมีผลกระทบดังนี้

1. การบริหารธุรกิจ

COVID-19 ส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบการบริหารธุรกิจ เมื่อต้องรักษาระยะห่าง การทำงานที่ออฟฟิศจึงเป็นอุปสรรค ดังนั้น ผู้ประกอบการหลายรายจึงต้องหาวิธีเพื่อปรับตัว เช่น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อตอบสนองการทำงานแบบ Work From Home และทำให้โปรแกรมการติดตามภาระงานอย่าง Asana หรือ Clickup เข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารงาน เป็นต้น

2. ช่องทางการค้า

บางธุรกิจที่ต้องขายสินค้าแบบออฟไลน์หรือธุรกิจในภาคการบริการเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดในครั้งนี้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลงหรือต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่ โดยหันมาจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์หรือเปลี่ยนธุรกิจเพื่อหารายได้ในช่องทางอื่นแทน

3. แนวการทำการตลาด

สำหรับแนวทางการทำการตลาดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากพฤติกรรมในการบริโภคของผู้คนเปลี่ยนไป ทำให้การทำตลาดบางประเภทถูกลดทอนความสำคัญลง เช่น

  • Experiential Marketing หรือการตลาดที่ให้ความสำคัญกับการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า เช่น ธุรกิจโรงแรมที่มีจุดขายคือกิจกรรมและการบริการ แต่เมื่อเกิดวิกฤต COVID-19 ผู้คนต้องเว้นระยะห่าง ดังนั้น การสร้างประสบการณ์ที่ใกล้ชิดกับลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แนวทางการตลาดแบบนี้จึงได้รับผลกระทบโดยตรง
  • Now-Oriented ของกลุ่ม Gen Y โดยคนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าที่สนใจในทันที ยอมจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด แต่เมื่อเกิดวิกฤตเช่นนี้พฤติกรรมการซื้อจึงเปลี่ยนไป กลุ่มคน Gen Y มีแนวโน้มที่จะวางแผนการเงินมากขึ้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน ดังนั้น การทำการตลาดสำหรับคนกลุ่มนี้จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

วิกฤต COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้ภาคธุรกิจตื่นตัวกับการนำ Digital Transformation มาปรับใช้ในองค์กร เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการภายในองค์กรและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

Digital Transformation ในยุค COVID-19 กรณีศึกษา: Locall.bkk

หากพูดถึงกรณีศึกษา (Case Study) ในการทำ Digital Transformation หลายคนคงนึกถึงบริษัทระดับโลกอย่าง Netflix ที่เปลี่ยนจากร้านเช่าวิดีโอสู่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง หรือ Fujiflim ที่ปรับตัวจากธุรกิจถ่ายภาพสู่การพัฒนาเทคโนโลยีภาพถ่ายทางการแพทย์

แต่ในครั้งนี้เราจะขยับเข้ามาศึกษาการทำ Digital Transformation ในแบบฉบับจับต้องได้ด้วยแนวคิดการทำธุรกิจอันแสนเรียบง่ายแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดอย่าง Once Again Hostel ที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เปลี่ยนจากโฮสเทลสู่แพลตฟอร์ม Derivery Hub ที่มีชื่อว่า “Locall.bkk”

 

จุดเริ่มต้นของการปรับตัวทางธุรกิจเมื่อถูก COVID Disruption

ธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤต COVID-19 และ Once Again Hostel ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ซึ่งทางโฮสเทลได้วางแผนปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อต่อสู้กับวิกฤตในครั้งนี้ โดยโมเดลการปรับตัวในธุรกิจได้ถูกปรับออกมาเป็น 3 แนวทาง ได้แก่

1. เปลี่ยนจากการพักชั่วคราว สู่การเป็นที่พักระยะยาว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่ตกค้างและให้คนไทยเช่าเพื่ออยู่อาศัย ปรับจาก Hostel สู่ Home เปลี่ยนแนวทางการบริหารให้สอดคล้องกับแผนระยะยาวมากขึ้น

2. ปรับพื้นที่ล็อบบี้ให้กลายเป็นครัวขนาดใหญ่ เพื่อให้บริการอาหารแบบ Delivery ในแบรนด์ “Once Again Hostel Presented By Rise”

3. เปลี่ยนธุรกิจด้วย Digital Transformation การปรับธุรกิจด้วยการสร้างแพลตฟอร์ม Locall.bkk บริการส่งอาหารในชุมชนสู่ประชาชนภายนอก เปลี่ยนจากธุรกิจที่พักสู่ Delivery Hub ในแบบฉบับอาหารพื้นถิ่น

 

ขอบคุณภาพจาก: Facebook Once Again Hostel

 

จากธุรกิจโฮสเทลสู่ Delivery Hub ด้วยการทำ Digital Transformation

การทำ Digital Transformation ของ Once Again Hostel เริ่มต้นจากความต้องการช่วยเหลือร้านอาหารบริเวณที่ตั้งใกล้เคียง ประกอบกับสถานที่ตั้งของโฮสเทลอยู่ในย่านที่มีร้านอาหารจำนวนมากอย่างเสาชิงช้า-ประตูผี จึงถือกำเนิด Locall.bkk เพื่อให้ทั้งโฮสเทลและชุมชนยังคงมีรายได้แม้ในสภาวะวิกฤตเช่นนี้

Locall.bkk เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ซื้อ-ขายอาหารภายในชุมชน โดยทำหน้าที่รวบรวม ติดต่อประสานงานการซื้อขายระหว่างร้านอาหารกับผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์อย่าง Facebook และ Instragram

ขอบคุณภาพจาก: Locall Thailand

 

กระบวนการทำ Digital Transformation ของ Once Again Hostel

1. Digitalization

การทำ Digitalization ของ Once Again Hostel คือ การเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่ ปรับวิธีคิดจากธุรกิจออฟไลน์สู่ออนไลน์ นำจุดเด่นของที่ตั้งโฮสเทลมาปรับใช้ ผนวกกับความต้องการช่วยเหลือชุมชน เปลี่ยนโฮสเทลสู่แพลตฟอร์ม Food Delivery

ทั้งนี้ การสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ไม่ได้สลับซับซ้อนอย่างชื่อที่สวยหรู แต่กลับเรียบง่ายและใช้ต้นทุนไม่สูง ผ่านการใช้สื่อ Social Media เป็นแพลตฟอร์มในการดำเนินงาน ไม่จำเป็นต้องสร้างเว็บไซต์หรือสร้างแอปพลิเคชันซึ่งช่วยลดต้นทุนในการปรับเปลี่ยนธุรกิจใหม่

2. Digitization

สำหรับการทำ Digitization ทาง Once Again Hostel ได้นำข้อมูลของร้านค้าจากออฟไลน์มาแปลงให้กลายเป็นคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับร้านและการทำการตลาดไปในตัว ทำให้ผู้คนรู้จักร้านค้าและเพิ่มโอกาสตัดสินใจซื้อ รวมทั้งยังช่วยให้สามารถปิดการขายบนแพลตฟอร์ม Locall.bkk ได้อีกด้วย

 

Summary

การทำ Digital Transformation เป็นอีกหนึ่งหนทางในการขับเคลื่อนธุรกิจในยุควิกฤต COVID-19 ผ่านการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ทั้งการเปลี่ยนกระบวนการทำงานไปจนถึงการปรับโมเดลธุรกิจเพื่อหาช่องทางรายได้ใหม่ ซึ่งตัวอย่างของ Locall.bkk ได้แสดงให้เห็นว่าการทำ Digital Transformation ไม่ต้องลงทุนเยอะอย่างที่คิด ขอเพียงแค่มีไอเดียก็พร้อมที่จะปรับตัวและฝ่าฟันวิกฤตในครั้งนี้ไปได้

อ้างอิง:

7 ข้อผิดพลาดที่ถูกมองข้ามในปีแรกของการเปิดบริษัท

Posted on by admin_beacon_2024

รู้หรือไม่ Startup กว่า 20% ล้มเหลวตั้งแต่ปีแรกของการเปิดบริษัท ความล้มเหลวของผู้ประกอบการเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยทั้งในด้านการตลาดและแนวทางการบริหารองค์กร โดยในบทความนี้เราจะมาทบทวนข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นก่อตั้งบริษัท เพื่อให้ธุรกิจของคุณไม่อยู่ใน 20% ที่ล้มเหลวตั้งแต่ปีแรกของการเปิดบริษัท

 

1. ขาดความเข้าใจในโมเดลธุรกิจ

หลายครั้งที่การทำ Startup เริ่มต้นจากกลุ่มคนที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน เช่น กลุ่ม DEV (Developer) ที่มีไอเดียและความรู้ด้านเทคโนโลยี สามารถช่วยกันพัฒนาสินค้าดีมีคุณภาพออกสู่ตลาดได้ แต่เพราะขาดความรู้ความเข้าใจในธุรกิจ จึงไม่สามารถปิดการขายหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการทำธุรกิจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัยมากกว่าแค่ตัวสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจึงควรทำความเข้าใจและกำหนดโมเดลธุรกิจของตัวเองอย่างชัดเจน ตั้งแต่การบริหารจัดการต้นทุนการผลิต การผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า รวมถึงการหาช่องว่างทางการตลาดเพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้ในระยะยาวด้วย

Lance Vanden Brook ผู้บริหาร Aria Insight ได้กล่าวถึงความผิดพลาดของ CyPhy Works Tech Startup ที่พัฒนาโดรนสำหรับการเกษตร สำรวจทรัพยากรทางธรรมชาติและการใช้งานในกองทัพเอาไว้ว่า ในช่วงแรกของการทำ Startup นั้น เขาให้ความสำคัญกับการสร้างโดรนด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากกว่าการทำความเข้าใจตลาด ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดเพราะโดรนของเขาไม่ตอบสนองต่ออุตสาหกรรม ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าอย่างตรงจุด และไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของตลาด จึงทำให้ CyPhy Works เป็นอันต้องจบลง

 

2. มองข้ามความสำคัญของข้อมูล

ในยุคที่ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็มีผู้ประกอบการหลายคนเลือกที่จะเชื่อสัญชาตญาณมากกว่าข้อมูล และนี่ถือเป็นข้อผิดพลาดครั้งสำคัญ เพราะข้อมูลช่วยให้การตัดสินใจนั้นแม่นยำมากขึ้นและยังช่วยลดความผิดพลาดในการทำธุรกิจด้วย

 

3. การทำการตลาดที่ผิดพลาด

การตลาดถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ ดังนั้น การกำหนดเป้าหมายและทิศทางจึงเป็นสิ่งสำคัญ หลายบริษัทที่เปิดใหม่อาจจะยังไม่มีข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ซึ่งส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำการตลาดได้ ทั้งไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายหรือรูปแบบโฆษณาที่ไม่ดึงดูดมากพอ

ความผิดพลาดจากการทำการตลาดส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างชัดเจน ทั้งในแง่ของเงินทุนที่ต้องเสียไปกับการทดลอง รวมถึงการขาดรายได้เพราะไม่มีการสั่งซื้อจากลูกค้า ดังนั้น สิ่งที่บริษัทเปิดใหม่ควรทำ คือ การศึกษาตลาดและผู้บริโภคให้ละเอียดมากขึ้น การกำหนดทิศทางการตลาด และการมุ่งเน้นวิธีการทำตลาดที่ไม่ใช้เงินเยอะแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่าง Growth Markting เป็นต้น

 

4. ยึดติดกับไอเดียตอนเริ่มต้นเปิดบริษัท

ผู้ประกอบการหลายคนยึดมั่นในไอเดียดั้งเดิมในการเริ่มต้นธุรกิจมากเกินไป แม้ความเชื่อในการทำธุรกิจจะเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งนี้ก็อาจย้อนกลับมาทำลายธุรกิจได้เช่นกัน เพราะหลายครั้งที่สินค้าหรือบริการไม่ตอบโจทย์การตลาดและผู้บริโภคตามที่วางแผนไว้ การเชื่อมั่นและยึดติดกับไอเดียเดิมมากเกินไปจึงอาจทำให้ขายสินค้าหรือบริการไม่ได้จนต้องล้มเลิกกิจการไปในที่สุด

ดังนั้น หากยอดขายสินค้าหรือบริการไม่ดีในช่วงปีแรกของการเปิดบริษัท และได้วิเคราะห์แล้วว่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค สิ่งที่ควรทำ คือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าหรือบริการโดยนำหลักการ Pivot มาใช้เพื่อเริ่มต้นศึกษาตลาดและออกแบบสินค้าหรือบริการใหม่ พร้อมปรับทิศทางธุรกิจให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้มากที่สุด

5. ให้ความสำคัญกับการหาทุนมากกว่าการขาย

เงินทุนเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ซึ่งการทำ Startup ส่วนใหญ่มักจะหาทุนจากการประกวดหรือระดมทุนจากนักลงทุน (Venture Capitalist) หรือจาก Crowd Funding เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินในการทำธุรกิจต่อไป โดยมี Startup จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสำคัญกับการหาทุนเป็นหลักมากกว่าการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ดังนั้น ธุรกิจจึงอยู่รอดได้เพราะเงินทุนมากกว่ารายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ หากทุนหมด โอกาสที่ธุรกิจจะจบตามเงินทุนก็มีสูงเช่นเดียวกัน

 

6. การบริหารจัดการเงินลงทุนที่ผิดพลาด

ต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว Startup หลายรายเมื่อได้เงินทุนมามักนำไปลงทุนกับสิ่งที่ยังไม่จำเป็นต่อบริษัท ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาทางการเงินในอนาคต หรือการลงทุนกับสิ่งที่ไม่สร้างโอกาสหรือผลกำไรให้กับบริษัท เช่น การเช่าออฟฟิศในสถานที่ที่แพงมากเกินไปอย่างในย่าน CBD (Central Business District) ซึ่งเป็นการสร้างต้นทุนโดยไม่จำเป็น หรือการทุ่มเม็ดเงินจำนวนมหาศาลไปกับการโฆษณามากกว่าการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีเพื่อสร้างกำไรให้กับบริษัท เป็นต้น

7. ขาดประสบการณ์ในการบริหารทีม

Startup หลายรายเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มเพื่อนที่มีความคิดเดียวกัน แต่การเปิดบริษัทและการทำงานจริงนั้นต่างจากการประกวดแข่งขันอย่างสิ้นเชิง เพราะในช่วงปีแรกของการเปิดบริษัทเพื่อเริ่มต้นทำธุรกิจนั้น หากทีมไม่มีผู้นำที่ดีแล้วอาจส่งผลให้เกิดปัญหาภายในได้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดทิศทางของธุรกิจ การปรับปรุงพัฒนาสินค้า หรือการจัดการความสัมพันธ์ของคนในทีม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ Startup ล้มเหลวตั้งแต่ปีแรกได้ทั้งสิ้นเพราะขาดประสบการณ์ในการบริหารทีม

 

Summary

 

การเปิดบริษัทหรือการทำ Startup ในปีแรกมีหลายโจทย์สำคัญที่ต้องเผชิญ ทั้งในด้านการขาย การพัฒนาสินค้าหรือบริการ ไปจนถึงการบริหารจัดการทีม หากสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยปิดประตูความล้มเหลวในปีแรกของการเปิดบริษัทและเพิ่มประสบการณ์ในการทำธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้

ที่มา:

5 เหตุผลที่ธุรกิจควรใช้ Data Driven Marketing วางแผนการตลาด

Posted on by admin_beacon_2024

Data Driven Marketing เมื่อการตลาดขับเคลื่อนด้วยข้อมูล แนวทางการทำธุรกิจก็ต้องปรับตาม ตั้งแต่กระบวนการคิดผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการออกแบบประสบการณ์ของลูกค้า (User Experience) ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ข้อมูลทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการและนักการตลาดยุคใหม่ควรให้ความสำคัญและนำข้อมูลมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ

 

Data Driven Marketing คืออะไร

Data Driven Marketing คือ การทำการตลาดที่นำข้อมูลมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดผ่านการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อเจาะหาข้อมูลเชิงลึก ทั้งในด้านพฤติกรรมและสถิติที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค กระบวนการคิดและการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า

 

ตัวอย่างการใช้งาน Data Driven Marketing

จากสถิติพบว่า 40% ขององค์กรระดับโลกใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนธุรกิจเป็นหลัก และ 64% ของนักการตลาดยังใช้ข้อมูลเพื่อค้นหาประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการทำแคมเปญแต่ละครั้งอีกด้วย โดยตัวอย่างการใช้งาน Data Driven Markeitng มีดังนี้

  • A/B Testing คือ การทดสอบเพื่อวัดผลลัพธ์ทางการตลาดผ่านการสร้างชิ้นงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน 2 ชิ้น ตั้งแต่รูปแบบการทำโฆษณาไปจนถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทดสอบว่าชิ้นงานไหนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากนั้น จึงเก็บข้อมูลเพื่อปรับใช้ในการทำการตลาดต่อไป
  • Customer Journey Mapping / Analysis คือ ขั้นตอนการสำรวจและวิเคราะห์ประสบการณ์ของลูกค้าที่มีต่อสินค้า ตั้งแต่การพบเจอสินค้าไปจนถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งการมีข้อมูลของลูกค้าจะทำให้วางแผน Customer Journey ได้ตรงตามความต้องการลูกค้าและเพิ่มโอกาสการตัดสินใจซื้อมากยิ่งขึ้น
  • Website Personalization คือ การนำข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าที่มีต่อเว็บไซต์มาปรับปรุงเพื่อออกแบบให้ตรงตามพฤติกรรมของลูกค้ามากที่สุด เช่น หากทราบว่าลูกค้าคลิกสินค้าประเภทไหนบ่อย ก็ปรับตำแหน่งสินค้านั้นให้พบเห็นง่ายมากขึ้น เพื่อความสะดวกของลูกค้าและเพิ่มโอกาสปิดการขาย เป็นต้น
  • Focus on Micro-Moment คือ การให้ความสำคัญกับช่วงเวลาเล็กๆ ในชีวิตประจำวันของลูกค้าเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับใช้ในการทำการตลาด เช่น การเลือกทานอาหารกลางวัน Micro Moment คือ การเลือกสถานที่ทานข้าว, เมนูอาหาร หรือผู้ร่วมทาน เป็นต้น ซึ่ง Micro Moment จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อ ดังนั้น การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวจะสามารถเพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้
  • Hyper-Personalization คือ การทำการตลาดที่พัฒนาจาก Personalization ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด เจาะลึกถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า กล่าวคือ ไม่ใช่แค่รู้ว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไร แต่การทำตลาดแบบนี้จะรู้ว่า ลูกค้า “ชอบ” อะไร ปัจจัยอะไรที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้านั้นๆ เช่น ลูกค้าบางคน “ชอบ” สินค้าลดราคา หรือลูกค้าบางคน “ชอบ” สินค้าที่มีจำกัด (Limited) เป็นต้น

5 เหตุผลที่ธุรกิจควรใช้ Data Driven Marketing

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับความหมายของการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและการนำมาปรับใช้งานจริง หากใครที่ยังไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้จะดีกับธุรกิจยังไง วันนี้ KATALYST จะขอยก 5 เหตุผลที่ธุรกิจควรใช้ Data Driven Marketing ในการทำการตลาด

 

1. Data ช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

จากสถิติพบว่า นักการตลาดกว่า 76% ตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์บนพื้นฐานของข้อมูล และยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไร การตัดสินใจก็จะยิ่งแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น ถือเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการตัดสินใจด้วยข้อมูล (Data-Driven Decision Making)

ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์จำเป็นต้องมีข้อมูลโดยละเอียด ตั้งแต่พฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคไปจนถึงกระบวนการขายและการรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้า จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระบบ วิเคราะห์หาจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก (Insight) และทำความเข้าใจข้อมูลจนเกิดเป็นความรู้ (Wisdom) จนพัฒนาสู่กลยุทธ์ที่แม่นยำในที่สุด

โดยตัวอย่างการวิเคราะห์และตัดสินใจเชิงกลยุทธ์มีขั้นตอนดังนี้

  • Descriptive Analytic: การวิเคราะห์เพื่อหาคำอธิบายเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัท เป็นการบรรยายภาพกว้างเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์โดยรวมก่อนวางกลยุทธ์ทางการตลาด
  • Diagnostic Analytic: เป็นการวินิจฉัยว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีสาเหตุจากอะไร เพื่อให้เห็นที่มาก่อนที่จะหาวิธีการไปแก้ไขสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ในปัจจุบัน
  • Predictive Analytic: การวิเคราะห์ถึงอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัท โดยเน้นไปที่การคาดการณ์แนวโน้มผ่านข้อมูลและสถิติเพื่อหาความเป็นไปได้และเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ในอนาคต
  • Prescriptive Analytic: เป็นการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายหลังจากเข้าใจสถานการณ์ ทราบสาเหตุและคาดการณ์อนาคตแล้ว ลำดับต่อมาคือการหาสิ่งที่ต้องทำหรือวิธีการดำเนินการเพื่อแก้ไขและรับมือกับเหตุการณ์ในอนาคต

 

2. Data ช่วยให้รู้จักและเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค

การเก็บข้อมูลทำให้นักการตลาดเข้าใจถึงพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภคซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำธุรกิจ ตั้งแต่การเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าหรือการทำให้ลูกค้ากลายเป็นลูกค้าประจำ (Customer Loyalty) โดยข้อมูลที่นำมาใช้ทำความเข้าใจลูกค้านั้นอาจมาจากข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Data) และพฤติกรรมการใช้งานสื่อที่เก็บรวบรวมผ่านเครื่องมืออย่าง Social Listening Tools

สำหรับการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์พฤติกรรมนั้นควรให้ความสำคัญกับ Micro Movement หรือรายละเอียดการตัดสินใจยิบย่อยของลูกค้า เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวสะท้อนพฤติกรรมที่ซ่อนอยู่ในการตัดสินใจซื้อ ทำให้นักการตลาดเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น

 

3. เพิ่มความคุ้มค่าของผลตอบแทนในการลงทุน (ROI) ด้วย Data

นักการตลาดสามารถเพิ่มผลตอบแทนในการลงทุน (Return on Investment: ROI) ให้มากขึ้นด้วยการนำ Data มาปรับใช้ในการทำตลาดประเภทแคมเปญ การทำโฆษณาผ่านโซเซียลมีเดียอย่าง Facebook และ Google Adwords เนื่องจากการทำตลาดประเภทนี้จำเป็นต้องใช้เม็ดเงินในการทดสอบความแม่นยำของแคมเปญ

ดังนั้น หากนักการตลาดเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (Audience) ทั้งในด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิต การตัดสินใจเลือกคำเพื่อค้นหาสินค้า (Keyword) ไปจนถึงจิตวิทยาในการเลือกกดคลิกโฆษณาแล้ว จะทำให้การทำโฆษณาแม่นยำและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจากการลองผิดลองถูก โดยจาก สถิติ พบว่าการใช้ Data Driven Marketing ในการทำแคมเปญช่วยเพิ่ม ROI ได้มากขึ้น 5-8 เท่า สะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลช่วยเพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุนได้อย่างแท้จริง

4. Data ช่วยในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์

หนึ่งในความผิดพลาดของผู้ประกอบการ คือ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายล้มพับไปตั้งแต่ปีแรกในการตั้งบริษัท แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ผ่านการนำข้อมูลมาปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าสามารถรวบรวมได้ผ่านการเก็บข้อมูลสอบถามลูกค้าโดยตรง (Feedback) หรือสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าว่า สินค้าประเภทไหนที่มีอัตราการซื้อซ้ำน้อย จนไปถึงการใช้ Social Listening Tools เพื่อสำรวจสิ่งที่ลูกค้าพูดถึงผลิตภัณฑ์บนโลกออนไลน์แล้วนำมาปรับปรุงและพัฒนาสินค้าให้ดีมากยิ่งขึ้น

 

5. รักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า

Data Driven Marketing ช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) ผ่านการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ รักษาสิ่งที่ลูกค้าถูกใจและปรับปรุงแก้ไขในที่สิ่งลูกค้าไม่ชอบ เพื่อช่วยเพิ่มความพึงพอใจและสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูกค้าที่มีต่อแบรนด์

นอกจากนี้ ข้อมูลยังสามารถช่วยรักษาฐานลูกค้าเก่าผ่านการทำการโฆษณาแบบ Retargeting ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าและบริการซ้ำ ทั้งนี้ การทำโฆษณาแบบดังกล่าวต้องอาศัยข้อมูลและความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อลดต้นทุนการทำโฆษณาและรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย

 

Summary

 

Data Driven Marketing เป็นรูปแบบการทำการตลาดที่สำคัญแห่งอนาคต เป็นการพัฒนาธุรกิจในด้านความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในทุกแง่มุมเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำตลาด พัฒนาสินค้า และรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค

สำหรับผู้ประกอบการรายใดที่สนใจนำ Data Driven Marketing มาปรับใช้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องศึกษาก่อนทำการตลาดด้วยข้อมูล เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เพื่อป้องกันการทำผิดกฎหมาย รวมถึงการศึกษา Data Driven Mindset เพื่อให้องค์ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเป็นหลัก

สุดท้ายนี้ นอกเหนือจากการทำตลาดด้วยข้อมูลแล้ว ยังมีอีกหลายแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งสามารถอ่านบทความสาระความรู้เกี่ยวกับ Startup ได้ที่ KATALYST เราพร้อมพัฒนาและเติบโตเคียงข้างสตาร์ทอัพไทย

ที่มา:

Aging society กับโอกาสทางธุรกิจของ Startup ไทย

Posted on by admin_beacon_2024

ในปัจจุบันประเทศไทยได้กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ปัจจุบันสถิติผู้สูงอายุในปี 2563 อยู่ที่ 17.57% ซึ่งจากการคาดการณ์ในปี 2564 สัดส่วนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20% และเข้าสู่เกณฑ์สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (ประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20% ) Aging Society จึงเปรียบเสมือนอนาคตอันใกล้ เป็นความเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับโอกาสทางธุรกิจ

 

Aging Society กับความเปลี่ยนแปลงในสังคม

 

Aging Society หรือสังคมผู้สูงอายุ เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในด้านประชากร เมื่อจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น สวนทางกับประชากรวัยรุ่นที่ลดน้อยลง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในครั้งนี้ ส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจซึ่งขับเคลื่อนด้วยวัยทำงาน เมื่อแรงงาน (Labor) น้อยลงทำให้ประเทศเสียโอกาสการเติบโตด้านเศรษฐกิจตามไปด้วย

ทั้งนี้ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้ส่งผลเสียเสมอไป เพราะเมื่อโครงสร้างประชากรส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลง กำลังซื้อและพฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนตาม ทำให้เกิดช่องว่างทางการตลาดจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนหรือหาช่องทางทำกำไรจากผู้บริโภคกลุ่มผู้สูงอายุที่ถือว่าเป็นตลาดใหญ่แห่งใหม่ ซึ่งมีโอกาสพัฒนาสู่เศรษฐกิจสูงวัย (Silver Economy) และ เศรษฐกิจอายุวัฒน์ (Longevity Economy)

Aging Soiciety ความเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมโอกาส

เมื่อวิเคราะห์ถึงโอกาสที่มาจากความเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุ จะสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก คือ การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว และการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น

โอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
สำหรับในระยะยาวเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในด้านภาพรวมของสังคม ทั้งด้านจำนวนประชากร และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ ซึ่งส่งผลกระทบในระยะยาวต่อเศรษฐกิจและสังคม

  • ประชากรลดน้อยลง คนแต่งงานมีลูกน้อยลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจและผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้บริโภคจะมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนไปยังผู้สูงอายุมากขึ้น และกลุ่มที่มี กำลังซื้อหลักอย่างวัยทำงานก็จะลดลงเรื่อยๆ
  • ผู้คนใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ประชาชนแข็งแรงมากขึ้น อายุยืนมากขึ้น ส่งผลกระทบในระยะยาว ในส่วนของภาคอุปโภคบริโภคและภาคการเกษตร ที่ต้องออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น การปรับแปลงเกษตรทั่วไป สู่ฟาร์มเกษตรอาหารปลอดสารพิษ หรือ การผลิตสินค้าของผู้สูงอายุในจำนวนที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

โอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น
ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น เปรียบได้กับปัจจัยเร่งที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างรวดเร็วกว่า โดยความเปลี่ยนแปลงระยะสั้นจะเน้นไปที่พฤติกรรมที่ปฏิบัติได้ทันที อย่างการเรียนรู้เทคโนโลยีและการลงทุน เป็นต้น

  • การขยายวัยเกษียณอายุ รายได้และกำลังซื้อของประชาชนจะเพิ่มขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย กลุ่มคนผู้สูงอายุจะเข้ามามีบทบาทในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มมากยิ่งขึ้นในทันที
  • การลงทุน การออมเงินเพื่อเตรียมพร้อมเกษียณเพิ่มขึ้น ในส่วนนี้เทรนด์ที่กำลังมาแรงจะเห็นได้จากการเกิดขึ้นของกองทุน RMF และ LTF ที่สนับสนุนให้คนลงทุนตั้งแต่ก่อนเกษียณ
  • การเปิดรับเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ โดยจากสถิติพบว่า กลุ่มคนผู้ใช้ Facebook ในช่วงอายุระหว่าง 55-64 ปีมีมากถึง 1.8 ล้านบัญชี และจากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุใช้ไลน์ในการบริโภคสื่อและข่าวสารมากขึ้น 50% ซึ่งในส่วนนี้ส่งผลโดยตรงต่อภาคธุรกิจ ทั้งการปรับตัวและทำการตลาดออนไลน์เพื่อรองรับตลาดผู้สูงอายุ

โอกาสการทางธุรกิจจาก Aging Society

สำหรับการสร้างโอกาสทางธุรกิจจาก Aging Society เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุทั้งความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวและสั้น

 

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล (Real Estate Tokenization)

 

Real Estate Tokenization คือ สินทรัพย์ในรูปแบบดิจิทัลที่อ้างอิงมูลค่าจากอสังหาริมทรัพย์ โดยมีเทคโนโลยี Blockchain ในการจัดการ ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เป็นหนึ่งทางเลือกที่ผู้สูงอายุเลือกใช้ในการลงทุน เพื่อสร้าง Passive Income

Real Estate Tokenization อนาคตที่ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้สูงอายุ ทั้งการลงทุน ออมเงินเพื่อเตรียมพร้อมการเกษียณอายุ อีกทั้งยังสอดคล้องกับการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของผู้สูงอายุอีกด้วย

นอกจากนี้ Real Estate Tokenization ยังมีจุดเด่นที่ปรับรูปแบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบเดิม จากที่ผู้บริโภคต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อซื้อ สู่การลดต้นทุนในการลงทุนแต่เพิ่มจำนวนนักลงทุนแทน (Volume) เปลี่ยนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้จับต้องง่ายมากยิ่งขึ้น และเพิ่มโอกาสในการลงทุนของผู้สูงอายุที่ไม่มีกำลังซื้อมากพอในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์แบบเก่า

 

ตัวอย่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล

ในตอนนี้ Tokenization Real Estate Assest ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว โดย Elevated Returns บริษัทจัดการสินทรัพย์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการทำ Tokenization Real Estate Assest ด้วยการเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์เป็น Token โดยเริ่มต้นจากโครงการขายรีสอร์ตที่รัฐโคโลราโด (Colorado) ด้วยมูลค่ากว่า 18 ล้านอีเธอเรียม (Ethereum) หรือประมาณ 7 แสนล้านบาท

 

ธุรกิจของตกแต่งบ้านแบบ Universal Design

 

สำหรับธุรกิจตกแต่งบ้านเป็นโอกาสที่มาพร้อมกับวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้คนวัยดังกล่าวไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านไปทำงานแต่กลับใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้น การออกแบบและตกแต่ง บ้านเพื่ออำนวยความสะดวกจึงเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าจับตามอง

การออกแบบและตกแต่งบ้าน แบบ Universal Design เพื่อให้ทุกคนภายในบ้านสามารถใช้พื้นที่ร่วมกันได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น การทำงานของร่างกายจึงมีประสิทธิภาพลดลง เช่น การเดินและการทรงตัวที่ไม่มั่นคงเหมือนก่อน จึงเกิดการตกแต่งบ้านเพื่ออำนวยความสะดวก ตั้งแต่การติดตั้งราวจับ การรีโนเวทบ้านให้ผู้สูงอายุอยู่ชั้นล่างเพื่อสะดวกในการเดิน เป็นต้น

โดยโอกาสทางธุรกิจของตกแต่งบ้านนั้น ผู้ที่จับจ่ายใช้สอยที่แท้จริงไม่ใช่ผู้สูงอายุ แต่เป็นบุตรหลานที่ปรับปรุงบ้านเพื่อให้ผู้สูงอายุสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตภายในบ้านมากขึ้น

ตัวอย่างธุรกิจตกแต่งบ้าน

Deesawat แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ในไทย ได้ปล่อยเฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ โดยเริ่มต้นจากเก้าอี้ (Brace Stool) ที่ออกแบบโดยคำนึงถึงผู้สูงอายุ เช่น การออกแบบที่แขนด้านหลังและด้านหน้าให้เหลื่อมกันเพื่อใช้เป็นราวจับเก้าอี้ ซึ่งช่วยให้อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุเป็นต้น

 

ธุรกิจด้านสุขภาพ

จากแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่ผู้สูงอายุหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น ทั้งการออกกำลังกายและการเลือกรับประทานอาหาร รวมไปถึงธุรกิจในด้านการบริการดูแลสุขภาพ เช่น บริการ Home Care ดูแลผู้สูงอายุภายในบ้าน เป็นต้น

โดยหนึ่งในธุรกิจที่ตอบโจทย์เรื่องความเปลี่ยนแปลงในการดูแลสุขภาพ คือ ธุรกิจด้านอาหารเพื่อสุขภาพ เมื่อผู้คนหันมาใส่ใจอาหารที่รับประทานมากขึ้น ดังนั้นโอกาสการเติบโตของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพจึงโตตามไปด้วย

ตัวอย่างธุรกิจด้านสุขภาพ

สำหรับธุรกิจด้านสุขภาพโดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เป็นธุรกิจที่เติบโตในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีร้านอาหารที่รองรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่าง Silver Cuisine ที่ออกแบบเมนูให้สอดคล้องกับโภชนาการของผู้สูงอายุ ทั้งการเลือกใช้ปริมาณเนื้อสัตว์ที่พอดี รวมถึงการลดการใช้โซเดียมเป็นต้น

ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้คนที่เพิ่งเข้าสู่วัยเกษียณ โดยผู้คนกลุ่มนี้มีกำลังซื้อแต่ในวัยทำงานอาจจะไม่มีเวลาเที่ยว ดังนั้นเมื่อถึงวัยเกษียณก็พร้อมที่จะออกท่องเที่ยว จึงสอดคล้องกับแนวโน้มการตลาดด้านท่องเที่ยวที่เผยข้อมูลว่า เทรนด์การท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ (Word is going to be grey) กำลังมาแรงในปี 2020

ดังนั้นการออกแบบธุรกิจการท่องเที่ยวให้ตอบสนองต่อวิถีผู้สูงอายุจึงเป็นโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น การจัดทริปท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ มีกิจกรรมอย่างนวดแผนโบราณ ฝึกโยคะ การประคบสมุนไพร เป็นตัวชูโรงในการดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้

โดยการพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ไม่เพียงแต่มีมุ่งเน้นที่กลุ่มผู้สูงอายุในประเทศเท่านั้น แต่ผู้สูงอายุชาวต่างชาติ ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสเข้ามาใช้บริการธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีหลายประเทศทั่วโลกที่มีประชากรกลุ่มเกษียณ ในอัตราส่วนถึง 1 ใน 4 จนไปถึง 6 ของประชากรประเทศทั้งหมด เช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเป้าหมายที่มีขนาดใหญ่และสามารถสร้างโอกาสให้กับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในไทย

ตัวอย่างธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

สำหรับประเทศไทยมีธุรกิจหลายแห่งที่เริ่มต้นนำเทรนด์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมาปรับใช้ เช่น Local Alike Startup สายท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่นำเสนอชุมชนพื้นถิ่น พร้อมกับแพ็กเกจดูแลสุขภาพอย่างการทำสปาและโยคะ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ท่องเที่ยวชมธรรมชาติ สัมผัสวัฒนธรรม และได้ดูแลสุขภาพผ่อนคลายร่างกายไปพร้อมกับการท่องเที่ยว

นอกจาก Local Alike แล้วยังมี Heathticket เว็บไซต์สำหรับรวมแพ็กเกจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งการจองสปา รวมถึงการจองโรงพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุต่างประเทศ ที่ต้องการรับบริการทางการแพทย์ และท่องเที่ยวพักผ่อนในเมืองไทยในคราวเดียวกัน

 

Summary

 

Aging society หรือสังคมผู้สูงอายุ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ที่มาพร้อมกับโอกาสทางธุรกิจของ Startup ในไทย การปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจทั้งในด้านของสินค้าและบริการ รวมถึงการทำการตลาดเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และด้วยความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวเช่นนี้ หากธุรกิจไหนที่ปรับตัวหรือสามารถหาช่องทางการทำธุรกิจกับผู้สูงอายุได้ แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจในระยะยาวก็ไม่ไกลเกินเอื้อม

PDPA คืออะไรและ Startup ควรให้ความสำคัญกับอะไรบ้าง

Posted on by admin_beacon_2024

ในปัจจุบันข้อมูล (Data) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ทั้งในด้านการตลาดและการบริหารจัดการธุรกิจ บริษัทไหนที่มีข้อมูลของลูกค้าจำนวนมากเท่าไร ยิ่งสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันมากเท่านั้น และความสำคัญข้อมูลนี้เองจึงเป็นที่มาของ PDPA

 

PDPA คืออะไร

PDPA (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) คือ กฎหมายที่คุ้มครองความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล โดยในกำหนดให้การจัดเก็บข้อมูลต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าข้อมูลทุกครั้ง รวมถึงเจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการถอนความยินยอมได้ทุกเวลา และสำหรับผู้เก็บข้อมูลมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลเหล่านั้น

 

คำจำกัดความและขอบเขตของข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) คือข้อมูลที่สามารถระบุถึงตัวตนของบุคคลนั้น ตั้งแต่ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, เลขประจำตัวประชาชน ไปจนถึง E-mail โดยสิ่งเหล่านี้ล้วนถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั้งสิ้น

 

ข้อมูลส่วนบุคคลใช้ทำอะไรได้บ้าง

สำหรับภาคธุรกิจแล้ว ข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ ทั้งในด้านการวิเคราะห์หา Insight ของลูกค้า เพื่อนำไปในใช้ในด้านการตลาด รวมถึงการพัฒนาสินค้าให้ตอบสนองตามความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ

ถึงแม้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นผลดีต่อธุรกิจ แต่ในทางกลับกันหากไม่มีมาตรการป้องกันที่เพียงพอ ก็อาจนำมาสู่การถูกโจรกรรมข้อมูล และนำไปใช้ข้อมูลในทางที่ผิด ซึ่งจากประเด็นนี้ส่งผลให้เกิด PDPA ขึ้นมาในประเทศไทย

ผลกระทบจาก PDPA สู่ Startup

 

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าข้อมูลส่วนบุคคล ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการทำการตลาดและการพัฒนาสินค้า ดังนั้นผลกระทบที่ได้รับจึงขยายไปวงกว้าง เช่น การทำการตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) อย่าง Facebook Ads และ Google Ads เมื่อข้อมูลมีอยู่จำกัด โอกาสที่จะทำโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายก็เป็นไปได้ยาก

เมื่อการทำการตลาดออนไลน์แม่นยำน้อยลง ย่อมส่งผลกระทบต่อช่องทางในการขาย รวมถึงต้นทุนในการทำโฆษณาที่ต้องอาศัยการทดสอบ (A/B Testing) บ่อยขึ้น เพื่อที่จะได้ผลลัพธ์ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายดังเดิม ผลกระทบจึงมากกว่าด้านการตลาด แต่ยังรวมถึงต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

 

การเตรียมตัวสำหรับ Startup กับ PDPA

 

ถึงแม้จะได้รับผลกระทบอย่างไรก็ตามธุรกิจก็ต้องปรับตัว โดยการเตรียมความพร้อมสำหรับการบังคับใช้ PDPA ของภาคธุรกิจเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ PDPA และบทบาทของธุรกิจ ซึ่งในทางกฎหมายแบ่งบทบาทของผู้ถือครองข้อมูล (ธุรกิจ) ออกเป็น 2 บทบาทดังนี้

1. Data Controller (ผู้ควบคุมข้อมูล) ผู้ควบคุมข้อมูล คือ ผู้ที่เก็บรวบรวมข้อมูลมีบทบาทและหน้าที่ในการตัดสินใจเกี่ยวกับข้อมูล เช่น การส่งต่อข้อมูลไปวิเคราะห์ หรือเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ เป็นต้น

2. Data Processor (ผู้ประมวลผลข้อมูล) สำหรับผู้ประมวลผลข้อมูลมีบทบาทหน้าที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ภายใต้คำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูล โดยธุรกิจที่มีบทบาทนี้ เช่น บริษัทเกี่ยวกับ Data Analysis หรือผู้ให้บริการในด้าน Cloud เป็นต้น

นอกจากบทบาทแล้วสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมพร้อมเพื่อรองรับ PDPA แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

1. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

  • จัดทำ Privacy Policy เช่น แจ้งรายละเอียดกับลูกค้าก่อนเก็บข้อมูล ตั้งแต่อธิบายข้อมูลส่วนตัวที่เก็บ ไปจนถึงอธิบายสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมการให้ข้อมูลของลูกค้า เป็นต้น
  • จัดการแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ เช่น การขอจัดเก็บ Cookie ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ เพื่อนำข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ามาใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจ เป็นต้น
  • จัดเก็บข้อมูลพนักงาน ในส่วนนี้ HR ต้องเป็นผู้ดำเนินการในการขอความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลของพนักงาน เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน

2. การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

กำหนดนโยบายในการดำเนินการด้านข้อมูลส่วนบุคคล (Standard Operating Procedure) เช่น การเก็บช่องทางการติดต่อข้อมูลของลูกค้า ในการส่ง Direct Marketing หลังจากการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าเสร็จ หรือ การปรับรูปแบบการใช้ข้อมูล ลดการนำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้แต่มุ่งเน้นไปที่สถิติโดยรวมแทน เป็นต้น

3. มาตรการด้านรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

  • กำหนดแนวทางการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เช่น การรักษาความลับ (Confidentiality) การป้องกันด้านเทคนิค (Technical Safeguard) และมาตรการป้องกันทางกายภาพ (Physical Safeguard) รวมถึงควบคุมการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล (Access Control) เป็นต้น
  • กำหนดนโยบายระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูล (Data Retention) โดยผู้ประกอบการควรกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลให้ชัดเจน และเมื่อครบกำหนดควรทำลายเอกสารที่มีข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูล
  • สร้างระบบแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากผู้ไม่หวังดี เช่น การแจ้งเตือนผ่าน E-mail เมื่อมีผู้พยายามเข้าถึงข้อมูลหลายครั้งจนผิดปกติ หรือการ Login เพื่อเข้าถึงข้อมูลจากสถานที่อื่นและเครื่องอื่น (Device) เป็นต้น

4. การส่งต่อหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

ในกรณีที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องส่งต่อหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ไปยังผู้ให้บริการภายนอกหรือ Thrid Party ควรมีการทำสัญญาการรักษาข้อมูลตามกฎหมายของ PDPA รวมถึงควรมีกระบวนการรับคำร้องจากผู้ให้ข้อมูลด้วย

การปรับตัวของ Startup กับ PDPA

 

หลังจากทราบวิธีเตรียมตัวเพื่อให้บริษัทตอบรับกับกฎหมาย PDPA แล้ว ต่อมาคือการปรับตัวในด้านการตลาด ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจในด้านการตลาดและการพัฒนาสินค้าและบริการ ดังนั้น เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลมีน้อยลง ก็ถึงเวลาที่ธุรกิจต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน

หลังจากทราบวิธีเตรียมตัวเพื่อให้บริษัทตอบรับกับกฎหมาย PDPA แล้ว ต่อมาคือการปรับตัวในด้านการตลาด ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจในด้านการตลาดและการพัฒนาสินค้าและบริการ ดังนั้น เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลมีน้อยลง ก็ถึงเวลาที่ธุรกิจต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน

 

1. Heatmap

 

สำหรับธุรกิจไหนที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง Heatmap เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ เช่น ผู้ชมเว็บไซต์มาจากช่องทางไหน (โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์) อ่านตรงส่วนไหนของเว็บไซต์บ่อย หรือ มีการคลิกไปที่ผลิตภัณฑ์ไหนมากที่สุด เพื่อปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมกับพฤติกรรมส่วนใหญ่ของลูกค้าที่เข้าชมเว็บไซต์ โดย ประโยชน์ของ Heatmap มีดังนี้

  • เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า ภายในเว็บไซต์แบบละเอียด ลงลึกถึงแต่ละส่วนของหน้าเว็บไซต์ ทั้งการคลิกหรือสินค้าที่ลูกค้าใช้ระยะเวลาในการอ่านนานเป็นพิเศษ
  • ปรับปรุงเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น เมื่อทราบพฤติกรรมของลูกค้าบนเว็บไซต์แล้ว จะช่วยให้การปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ (UX/UI) มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
  • ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ได้ ในส่วนนี้คือการนำข้อมูลหน้าสินค้าที่ลูกค้าใช้งานมากที่สุด มาปรับใช้การตลาด เช่น ปรับตำแหน่งสินค้าในเว็บไซต์ให้เห็นชัดมากขึ้น หรือลดจำนวน การผลิตในสินค้าที่ลูกค้าไม่ค่อยให้ความสนใจ เป็นต้น

2. Social Listening Tools

 

ในส่วนของ Social Listening Tools นั้นเป็นเครื่องมือในการสำรวจว่าลูกค้ากำลังพูดถึงแบรนด์อย่างไรบนโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการทราบถึงความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ โดยหลักการนำเครื่องมีนี้มาใช้ส่วนใหญ่มีด้วยกัน 3 วัตถุประสงค์ (Objective) ดังนี้

  • การปรับกลยุทธ์ในการสร้าง Brand Awareness โดยหลังจากที่แบรนด์รู้แล้วว่ามุมมองของลูกค้าต่อแบรนด์เป็นในลักษณะไหน ซึ่งหากไม่ตรงตาม Brand Awareness Stragy ก็ถึงเวลาปรับปรุงกลยุทธ์ใหม่ ให้เป็นไปตามที่แบรนด์ต้องการ รวมถึงวิเคราะห์จุดยืนความเป็นแบรนด์ให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น
  • การพัฒนาสินค้าตาม Customer Feedback สิ่งนี้เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่พาธุรกิจเติบโตไปได้ หากสามารถพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ โอกาสในการเพิ่ม Market Share ก็จะสูงตามไปด้วย
  • การวิเคราะห์หา Keyword ในส่วนนี้จะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการทำการตลาดออนไลน์ โดยเฉพาะการทำ SEM และ SEO หากทราบว่ากลุ่มลูกค้าใช้คำอะไรในการพูดถึงสินค้า ก็จะสามารถปรับแนวทางการใช้ Keyword เพื่อให้ลูกค้าค้นหาแบรนด์เจอบนโลกออนไลน์ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

 

3. Fanpage Karma

 

เมื่อเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้น้อยลง ถึงเวลานำข้อมูลจากคู่แข่งมาใช้ให้เป็นประโยชน์ โดย Fanpage Karma เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่งทั้งบน Facebook, Instagram และ Twitter รวมถึงการสำรวจ Social Trend และ Topic เพื่อนำมาปรับใช้ในการสร้างคอนเทนต์แบบ Real Time โดยแนวทางการนำ Fanpage Karma มาปรับใช้มีดังนี้

  • เปรียบเทียบ Content ทั้งรูปแบบของโพสต์และความถี่ในการลงโพสต์ ศึกษาว่าคู่แข่งที่ประสบความสำเร็จมีแนวทางการทำ Content และการวางกลยุทธ์ในการโพสต์อย่างไร เพื่อนำมาเปรียบเทียบและปรับปรุง Content บนหน้า Facebook Page ให้มีประสิทธิภาพ
  • เปรียบเทียบ Engagement เพื่อดูว่าการทำ Content แบบ Organic ประเภทไหนที่ประสบความสำเร็จ เพื่อลดต้นทุนในการทำโฆษณาผ่านเฟสบุ๊ก (Facebook Ads)

 

Summary

 

PDPA ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของธุรกิจ ทั้งการเตรียมพร้อมปรับรูปแบบการเก็บข้อมูลเพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมาย รวมถึงการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเมื่อข้อมูลที่มีลดน้อยลง ในยุคที่ธุรกิจขับเคลื่อนด้วย Big Data การปรับกลยุทธ์เพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ สิ่งเหล่านี้ยังถือเป็นโจทย์ครั้งสำคัญที่เหล่าผู้ประกอบการ Startup ต้องแก้ปัญหาเพื่อให้ธุรกิจเติบโตต่อไปในอนาคต

ที่มา: