Category: KATALYST

Cloud Computing เพิ่ม Productivity ในธุรกิจได้อย่างไร

Posted on by admin_beacon_2024

Cloud Computing เป็นหนึ่งในระบบที่ถูกหยิบยกนำมาใช้งานกันโดยแพร่หลาย ตั้งแต่บริษัทยักษ์ใหญ่ไปจนถึงสตาร์ทอัพ เนื่องจากคุณสมบัติและความสามารถที่ตอบโจทย์การทำงานที่หลากหลาย อีกทั้งยังสามารถเพิ่ม Producticity ให้กับองค์กรได้อีกด้วย

 

Cloud Computing คืออะไร

Cloud Computing คือ ระบบการจัดการและเชื่อมต่อข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ช่วยลดความยุ่งยากในการกระจายและดาวน์โหลดข้อมูล ซึ่งระบบ Cloud Computing มีหลายประเภทดังนี้

  • IaaS (Infrastructure as a Service) คือ การบริการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานในองค์กรเพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันในการทำงาน เช่น Google Drive, Dropbox และ Microsoft Azure
  • PaaS (Platform as a Service) เป็นบริการจัดเก็บข้อมูลสำหรับสายงาน Developer โดยเฉพาะ ซึ่ง Cloud ประเภทนี้จะเน้นไปที่การจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นในการพัฒนาเว็บไซต์, ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน
  • SaaS (Software as a Service) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานโดยใช้ระบบ Cloud ซึ่งสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมลงเครื่องเหมือนซอฟต์แวร์ประเภทอื่น แต่จะเชื่อมต่อข้อมูลและทำงานผ่านระบบ Cloud ยกตัวอย่างเช่น Hubport, Slack และ Saleforce
  • FaaS (Functions as a Service) เป็นระบบที่ช่วยแบ่งเบาภาระของ Developer ในการทดสอบการทำงานของ Code ที่ต้องใช้เวลานานในการทดสอบ ซึ่งการใช้ FaaS ทาง Developer สามารถอัปโหลด Code เพื่อให้ Faas ทำการทดสอบการทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยตัวอย่างบริการของ Faas เช่น AWS Lambda และ Google Cloud Function

ประโยชน์ของการใช้งาน Cloud Computing

  • ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เช่น ต้นทุนจากการจัดเก็บข้อมูล (Storage) ซึ่งในอดีตต้องลงทุนซื้อ Hardware อย่าง Hard Disk Drive เพื่อจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากในการทำธุรกิจ แต่ปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้สามารถจัดเก็บได้ในระบบ Cloud ซึ่งนอกจากต้นทุนที่ตำ่กว่าแล้ว ยังสามารถขยายความจุได้มากกว่าเดิมด้วย
  • รองรับการขยายธุรกิจ เนื่องจากระบบ Cloud สามารถเพิ่มพื้นที่จัดเก็บได้ เอื้อต่อการขยายฐานข้อมูล
  • ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน การเชื่อมต่อข้อมูลผ่านซอฟต์แวร์อย่าง Slack หรือ Dashboard ของ ClickUp ทำให้ทุกคนทั้งภายในและภายนอกองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก ไม่ซับซ้อน การทำงานจึงรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทำให้ลดระยะเวลาการค้นหาและส่งต่อไฟล์งาน
  • ความปลอดภัยของข้อมูล โดยผู้ให้บริการ Cloud Computing ส่วนใหญ่มักมีระบบ Cloud Security ผ่านการทำงานของ AI และระบบ Database Signature ที่ตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูลอยู่เสมอ อีกทั้งการเข้าถึงข้อมูลในระบบ Cloud เจ้าของข้อมูลและระบบจะได้รับการแจ้งเตือนอยู่เสมอ จึงเป็นไปได้ยากที่จะถูกโจรกรรมข้อมูลทางธุรกิจ

Cloud Computing เพิ่ม Productivity ในธุรกิจได้อย่างไร

 

1. ลดการสื่อสารที่ซับซ้อนภายในทีม

จากสถิติพบว่าการสื่อสารที่ซับซ้อนภายในทีม จะลดประสิทธิภาพการทำงานถึง 86% ทำให้เสียเวลางานโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นการใช้ระบบ Cloud ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ จึงช่วยลดการสื่อสารในประเด็นที่ไม่จำเป็นได้

ยกตัวอย่างเช่น การขอไฟล์ข้อมูล ถ้าหากถูกจัดเก็บใน Cloud ซึ่งสมาชิกในทีมสามารถเข้าถึงไฟล์นั้นๆได้ ก็จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ทันที ไม่ต้องผ่านกระบวนการสื่อสารที่ซับซ้อนโดยเปล่าประโยชน์ เป็นต้น

โดย นิตยสาร Forbes ได้สำรวจธุรกิจเกี่ยวกับการใช้ Cloud Computing ในการทำงาน พบว่าธุรกิจกว่า 64% ที่ใช้ระบบ Cloud นั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน โดยทีมสามารถจัดการภาระงาน (Task) ได้อย่างดีและรวดเร็วมากขึ้น

 

2. ปรับธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวคิด Lean Management

Lean Thinking หรือ Lean Management เป็นอีกหนึ่งแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เน้นการสร้าง ประสิทธิภาพและผลประโยชน์ให้กับองค์กร ด้วยคุณภาพที่สูงสุด (Quality) ต้นทุนที่ตำ่ที่สุด (Cost) และระยะเวลาการผลิตที่สั้นที่สุด (Delivery)

โดย Cloud Computing เข้ามีบทบาททั้งการเพิ่มคุณภาพการทำงานผ่านการลดการสื่อสารที่ซับซ้อน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นในการทำธุรกิจ อย่างการจ้าง Outsoucre และทำงานผ่านระบบ Cloud แทนการจ้างพนักงานประจำเพิ่ม รวมถึงลดระยะเวลาการผลิต ยกตัวอย่างเช่น การนำระบบ FaaS มาช่วยฝ่าย Deverloper ในการทำงานลดระยะเวลาในการทดสอบ Code เป็นต้น

 

3. สนับสนุนเทรนด์ Bring Your Own Device

 

Bring Your Own Device (BYOD) กำลังเป็นกระแสที่มาแรงในการทำธุรกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งบริษัทกว่า 87%ให้ทีมเลือกใช้เครื่องมือในการทำงานด้วยตัวเอง เพื่อแก้ไขปัญหาการทำงานในระบบที่ตัวเองไม่ถนัด เช่น บางคนถนัดใช้ Mac OS หรือบางคนถนัดใช้ Microsoft Windows ซึ่งหากทีมสามารถใช้ระบบที่ตัวเองถนัด จะช่วยทำให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้ระบบใหม่

โดยระบบ Cloud Computing เข้ามาเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ในทุกระบบ ส่งผลให้ไม่ว่าสมาชิกในทีมจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน แต่ก็ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน

 

4. Remote Working เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

 

Remote Working หรือการทำงานที่ไหนก็ได้ เป็นรูปแบบการทำงานที่หลายบริษัทเริ่มนำมาปรับใช้ ซึ่งจากการสำรวจของ Airtasker พบว่าการทำงานแบบ Remote Working จะช่วยลดความเครียดให้กับทีม

โดยการทำ Remote Working มีแนวโน้มที่จะเป็นเทรนด์สำคัญแห่งอนาคต ซึ่ง Cloud จะเข้ามามีบทบาทในการเป็นสะพานเชื่อมข้อมูลระหว่างทีม ทำให้ทีมสามารถเข้าถึงข้อมูลในการทำงานได้ โดยไม่ต้องเข้าบริษัท ช่วยทำให้การทำงานแบบ Remote Working เป็นไปได้จริงและมีประสิทธิภาพ

 

 

5. ลดต้นทุนในการจัดการทีม

Productivity ในการทำธุรกิจ นอกเหนือจากด้านการทำงานของทีมแล้ว การจัดการต้นทุนให้คุ้มค่า ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนถึงคุณภาพของธุรกิจ โดยการใช้ Cloud Computing ช่วยลดต้นทุนในการจัดการ ทั้งในด้านข้อมูล การจัดระเบียบองค์กร จนไปถึงทำการงานแบบอัตโนมัติขั้นสูง (Advance Automation) เช่น การจัดการเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบความปลอดภัย เป็นต้น

 

Summary

Cloud Computing เป็นอีกหนึ่งระบบที่มีแนวโน้มสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ เพราะนอกจากความสะดวกในการใช้งานแล้ว ระบบดังกล่าวยังเอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจอีกด้วย ทั้งการทำ Lean Managemet และการ Scale Up ผ่านคอนเซปต์อย่าง Remote Working สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา:

“Wellness Tech” ตอบโจทย์เทรนด์ธุรกิจใหม่ เมื่อคนหันมาใส่ใจสุขภาพ

Posted on by admin_beacon_2024

Wellness Tech เป็นหนึ่งในตลาดที่น่าสนใจสำหรับสายสตาร์ทอัพทั้งในไทยและต่างประเทศ ทั้งแนวโน้มทางการตลาด พฤติกรรมของคน และการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยจาก ผลสำรวจพบว่าคนไทยกว่า 45.39% หันมาใส่ใจด้านสุขภาพมากขึ้น ทั้งด้านการออกกำลังกายและด้านการบริโภคอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ Wellness Tech ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในการประกอบธุรกิจ

 

Wellness Tech คืออะไร

Wellness Tech คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และสังคม โดยเทคโนโลยีดังกล่าวถูกนำมาปรับใช้ตั้งแต่ด้านการเมืองไปจนถึงการทำธุรกิจ เช่น การดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ หรือการทำธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพเช่น วิตามินและอาหารเสริม เป็นต้น

โดยรูปแบบของ Wellness Tech สามารถแบ่งออกเป็นได้ 8 ประเภทดังนี้

 

8 รูปแบบ Wellness Tech

1. อาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage)

อาหารและเครื่องดื่มถือเป็น Wellness Tech ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่คำนึงถึงสุขภาพจากการบริโภค ทั้งการลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์และเลือกบริโภคแต่ที่ดีต่อร่างกาย เช่น อาหารออร์แกนิก (Organic) หรือ พืชประเภท Non-GMO เป็นต้น

ยกตัวอย่างสตาร์ทอัพสาย Food & Beverage เช่น Daily Harvest ที่ให้บริการด้านการจัดจำหน่ายวัตถุดิบและอาหารแบบออร์แกนิก พร้อมการจัดส่งถึงหน้าบ้าน เป็นต้น

2. วิตามินและอาหารเสริม (Vitamins & Supplement)

วิตามินและอาหารเสริม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีสตาร์ทอัพอย่าง Care/of ได้พัฒนารูปแบบธุรกิจ โดยการคัดเลือกวิตามินที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล (Personalized) ผ่านการทำแบบสอบถาม จากนั้นจึงวิเคราะห์และนำเสนอวิตามินที่เหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละคน

นอกจาก Care/of แล้ว ในไทยเองก็มี Vitaboost สตาร์ทอัพที่มีบริการดูแลสุขภาพด้วยผู้เชี่ยวชาญ พร้อมส่งวิตามินให้กับผู้บริโภคแบบ Home Service ซึ่งลูกค้าไม่ต้องเลือกวิตามินเอง แต่ทาง Vitaboost จะเลือกวิตามินที่ดีและตรงตามความต้องการของร่างกายลูกค้ามาให้ถึงบ้าน

 

3. โภชนาการอาหารเพื่อการออกกำลังกาย (Active Nutrition)

สำหรับโภชนาการอาหารเพื่อการออกกำลังกาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อผู้ชื่นชอบการออกกำลังกาย ซึ่งมีความต้องการอาหารเสริมทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย ทั้งในด้านการสร้างกล้ามเนื้อ หรือเพิ่มการเผาผลาญให้กับร่างกาย โดยสตาร์ทอัพที่เข้ามามีบทบาทในด้านนี้ คือ Foodspring ซึ่งพัฒนาอาหารเสริม ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ออกกำลังกาย เช่น อาหารเสริมเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ เป็นต้น

4. เทคโนโลยีทางโภชนาการ (Nutrition Tech)

เทคโนโลยีทางโภชนาการส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ออกแบบระบบโภชนาส่วนบุคคล เพื่อให้รูปแบบการบริโภคเหมาะสมกับสุขภาพของแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น Viome บริษัทที่นำข้อมูลด้านชีวเคมีของลูกค้า มาวิเคราะห์เพื่อแนะนำเรื่องการควบคุมอาหาร เป็นต้น

5. ฟิตเนส (Fitness)

ฟิตเนสกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากเปิดบริการให้คนมาออกกำลังกายแล้ว ยังมีสตาร์ทอัพหลายรายที่เล็งเห็นช่องทางในเทรนด์นี้ อย่าง JAXJOX สตาร์ทอัพที่พัฒนาอุปกรณ์ออกกำลังกาย ด้วยแนวคิด Home Gym and Fitness Studio ผ่านระบบคำนวณความแข็งแรง และการวางโปรแกรมการฝึกเพื่อให้ทุกคนสามารถเล่นฟิตเนสได้อย่างมีประสิทธิภาพจากที่บ้าน

6. การนอนหลับ (Sleep)

การนอนหลับให้เพียงพอเป็นหนึ่งปัจจัยที่เสริมคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น โดยมีหลายบริษัทที่เข้ามาลงทุนในด้านนี้ เช่น Sleepace สตาร์ทอัพที่นำเสนอเทคโนโลยีด้านการนอนหลับ เพื่อให้ผู้คนนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ด้วยเทคโนโลยีอย่าง Sleep Dot ที่ตรวจจับการนอน ทั้งการเคลื่อนไหวและอัตราการเต้นของหัวใจ หรือ NOX ที่ตรวจจับสภาพแวดล้อมภายในห้องนอน และสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมต่อการนอนหลับ เป็นต้น

7. สุขภาพจิต (Mental Wellness)

สุขภาพของจิตใจเป็นหนึ่งธุรกิจที่ได้มีความน่าสนใจ ทั้งจากไทยและต่างประเทศ โดยในไทยมีสตาร์ทอัพที่ช่วยให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตจากผู้เชี่ยวชาญอย่าง OOCA หรือต่างประเทศก็มีแอปพลิเคชันที่ช่วยฝึกสมาธิอย่าง Head Space หรืออุปกรณ์ติดตามอารมณ์อย่าง Woe Bot เป็นต้น

8. การท่องเที่ยวและบริการเชิงสุขภาพ (Travel & Hospitality)

สำหรับการท่องเที่ยวและการบริการในที่นี้หมายถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น การจัดโปรแกรมดูแลออกกำลังกาย พร้อมกับพักผ่อนในสถานที่ต่างๆ หรือในไทยเองก็มีการท่องเที่ยวโดยผนวกกับศาสตร์อย่างการนวดแผนไทย นวดผ่อนคลาย เป็นต้น

 

แนวโน้มของ Wellness Tech ในอนาคต

Wellness Tech เป็นที่พูดถึงมากขึ้นหลังจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (UAE) จัดตั้ง รัฐมนตรีกระทรวงความสุข ซึ่งมีนโยบายมุ่งเน้นการสร้างและรักษาความสุขของคนในประเทศ นอกจาก UAE แล้ว ทางสหภาพยุโรป (EU) ได้มีนโยบายทางเศรษฐกิจที่ผลักดันความสุขและความสมบูรณ์ของประชาชนอีกด้วย (Economy of Wellbeing)

สำหรับด้านธุรกิจ Wellness Tech ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2019 มี Startup 97 ราย ได้รับการลงทุนมากกว่า 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6 หมื่นล้านบาท โดยจากการคาดการณ์ ระหว่างปี 2020-2025 อุตสาหกรรมด้าน Wellness Tech จะเติบโตขึ้น 5.29% ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 180 ล้านล้านบาท

 

Wellness Tech กับโอกาสของ Startup ชาวไทย

ไม่เพียงแต่ Startup ต่างประเทศเท่านั้น สำหรับประเทศไทย Wellness Tech มีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นเพื่อสอดรับกับสังคมผู้สูงวัย (Aging Society) โดยทาง Ruckdee Consultancy ได้เผยข้อมูลว่าประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของคนสูงอายุมากเป็นอันดับ 3 ของโลก คิดเป็น 15.8% ของประชากร และมีโอกาสเพิ่มสูงถึง 37.1% ในปี 2050

สิ่งที่ยืนยันถึงโอกาสอันใกล้ของ Wellness Tech คือ มูลค่าของตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 3.4% ต่อปี ตลอดระยะเวลา 5 ปี (2014-2018) ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 190,219 ล้านบาท หรือในส่วนของการท่องเที่ยวแบบ Wellness Tourism ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องปีละ 7% ในช่วงปี 2013-2015 หรือกว่า 3.2 แสนล้านบาท สูงเป็นอันดับที่ 13 ของโลก

จากสถิติทั้งหลายที่กล่าวมาถือเป็นสัญญาณที่ดี ในการลงทุนด้าน Wellness Tech ทั้งมูลค่าทางการตลาดและแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ Startup สร้างนวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาด

Summary

เมื่อสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ Wellness Tech จึงเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คน และสร้างโอกาสให้กับสตาร์ทอัพในการทำธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อวิถีชีวิตของผู้คน ซึ่งทั้งมูลค่าของตลาดที่เพิ่มขึ้นและการสนับสนุนจากภาครัฐ เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าอนาคตของ Wellness Tech สดใสอย่างแน่นอน

ที่มา:

5 ประโยชน์ของระบบ AI กับการประยุกต์ใช้ในธุรกิจ

Posted on by admin_beacon_2024

ในปัจจุบันระบบ AI เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยจากการคาดการณ์พบว่า ในปี ค.ศ. 2027 มูลค่าตลาด AI จะเพิ่มขึ้นถึง 267 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 8 แสนล้านบาท โดยในบทความนี้ KATALYST จะพาคุณลงลึกเรื่อง AI ว่ามีประโยชน์อย่างไรในการทำธุรกิจ

 

ทำความเข้าใจ AI เบื้องต้น

AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ คือ เทคโนโลยีด้านระบบการประมวลผลที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูล ทั้งเรียนรู้ชุดคำสั่งและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของ AI ทำให้สามารถนำมาต่อยอดและพัฒนาธุรกิจ ทั้งในด้านการบริหารจัดการและการตลาดได้

สำหรับรูปแบบการทำงานของ AI มีการเชื่อมโยงองค์ประกอบซ้อนกันหลายอย่างทั้ง Machine Learning และ Deep Learning โดยแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดดังนี้

  • Machine Learning คือ การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยใช้ข้อมูลเป็นสื่อการเรียนรู้ ซึ่งจะเน้นไปที่การจดจำลักษณะเด่นเพื่อจำแนกความแตกต่างของข้อมูลเป็นหลัก
  • Deep Learning คือ การเรียนรู้ของระบบคอมพิวเตอร์ผ่านการจำลองรูปแบบการประมวลผลของสมองมนุษย์ โดยใช้โครงข่ายคล้ายกับเซลล์ประสาทในการกรองข้อมูลเชิงลึก ซึ่งสามารถคาดการณ์และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้อีกด้วย

โดยองค์ประกอบของ AI ยังสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามรูปแบบของกระบวนการนำ AI มาใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น

  • Natural Language Processing: NLP คือ การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและประมวลผลภาษามนุษย์ ทั้งรูปแบบตัวอักษรและเสียงพูด โดยตัวอย่างการใช้ NLP ในธุรกิจ เช่น Siri ของ Apple หรือ Alexa ของ Amazon เป็นต้น
  • Computer Vision คือ การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพื่อจำแนกความแตกต่าง อย่างตำแหน่งที่ตั้งหรือลักษณะของวัตถุในภาพ โดยตัวอย่างธุรกิจที่นำ Computer Vision มาปรับใช้ เช่น Waymo ที่สร้างรถบรรทุกอัจฉริยะไร้คนขับเพื่อขนส่งสินค้าของบริษัท Google เป็นต้น
  • Robotics คือ การออกแบบและพัฒนาเครื่องกลหรือหุ่นยนต์ให้สามารถตอบโจทย์การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างการใช้ Robotics ในธุรกิจ เช่น หุ่นยนต์ในสายการผลิตอุตสาหกรรม และ Drone สำหรับขนส่งสินค้า เป็นต้น
  • Expert System คือ การสร้างความชำนาญเฉพาะทางให้กับระบบคอมพิวเตอร์ โดยป้อนข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญให้กับระบบ เพื่อให้ AI สามารถทำงานแทนผู้เชี่ยวชาญได้ เช่น ระบบซื้อขายหุ้น หรือ ระบบวินิจฉัยโรค เป็นต้น

5 ประโยชน์ของ AI กับการใช้งานในทางธุรกิจ

 

1. AI ช่วยให้การทำ Personalized Marketing แม่นยำมากขึ้น

การทำ Personalized Marketing คือ การทำการตลาดที่ออกแบบเฉพาะบุคคล จากประสบการณ์ของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย และด้วยคุณสมบัติของ AI ในการประมวลผลและคาดการณ์ข้อมูล ทำให้การทำการตลาดแบบ Personalized Marketing นั้นแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างการใช้ AI ในการทำ Personalized Marketing จะเห็นได้จาก Starbucks โดย Startbucks นั้นเริ่มใช้ AI เพื่อเสนอส่วนลดให้กับสมาชิกผ่าน E-mail โดยสินค้าที่มีส่วนลดจะเป็นเมนูที่ใกล้เคียงกับเมนูที่ลูกค้าสั่งประจำ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความชอบของลูกค้า ซึ่งการส่งส่วนลดในเมนูที่ลูกค้าชอบ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าที่ Starbucks

2. สำรวจพฤติกรรมลูกค้าผ่านระบบ Facial Recognition

Facial Recognition เป็นหนึ่งในประโยชน์ของ AI โดยระบบดังกล่าวคือ ความสามารถในด้าน Computer Vision ซึ่งสามารถจดจำใบหน้าของมนุษย์ หรือจำแนกและสำรวจตำแหน่งของสิ่งของภายในพื้นที่ได้ โดยการนำ Facial Recognition มาปรับใช้ในธุรกิจ ช่วยให้การสำรวจพฤติกรรมของลูกค้านั้นแม่นยำมากขึ้น จะเห็นได้จากกรณีศึกษาของ Walmart ที่เปลี่ยนร้านค้าธรรมดา ให้เป็นร้านค้าแห่งอนาคตด้วย AI

Walmart นำ AI เข้ามาใช้ในการจัดการร้านค้า โดยเฉพาะระบบ Facial Recognition ซึ่งระบบดังกล่าวทำงานโดยการจดจำใบหน้าลูกค้า จากนั้นจึงติดตามพฤติกรรมของลูกค้าภายในร้าน เช่น เมื่อลูกค้าหยิบขนมปังออกจากชั้นวางจนหมด ระบบจะแจ้งเตือนพนักงานให้มาเติมขนมปังบนชั้นวาง ซึ่งช่วยลดการเสียโอกาสในการขายสินค้า ในกรณีที่สินค้าหมด เป็นต้น

 

3. Robotics อนาคตแห่งการขนส่งสินค้า

การใช้งาน Robotics หรือหุ่นยนต์ในธุรกิจนั้นมีมานานแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคการผลิตเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันการใช้งานหุ่นยนต์มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ผ่านการป้อนคำสั่งในส่วนของ Machine Learning โดยเฉพาะในด้านขนส่งสินค้า (Delivery Robot) ซึ่งมีหลายแบรนด์เริ่มต้นใช้งานจริงแล้วอย่าง JD.Com

โดยในกรณีของ JD.Com สิ่งที่น่าสนใจคือ พวกเขาเป็นธุรกิจ E-Commerce เจ้าใหญ่ในประเทศจีน ซึ่งการขนส่งสินค้าบางครั้งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากภูมิประเทศที่ไม่อำนวย ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่งที่นานขึ้น ดังนั้นการใช้โดรนขนส่งสินค้าจึงเป็นทางออกของปัญหาดังกล่าว ซึ่งช่วยลดระยะเวลาจากเดิม 2 ชั่วโมงให้เหลือเพียงแค่ 20 นาที เท่านั้น

 

4. AI ตัวช่วยจัดการปัญหาคลังสินค้า

ในบางธุรกิจที่มีสินค้าในคลังจำนวนมาก อาจจะไม่รู้ว่าสินค้าไหนมีประสิทธิภาพ หรือสินค้าไหนที่ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น AI จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการปัญหาคลังสินค้า ด้วยระบบการวิเคราะห์ข้อมูล คลังสินค้า ซึ่งทาง H&M ได้นำ AI มาแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายมากกว่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1 หมื่น 2 พันล้านบาท

H&M ประสบปัญหาด้านคลังสินค้า เนื่องจากพวกเขามักมีสินค้าที่ขายไม่ออกจนทำให้ต้องนำสินค้ามาลดราคาเพื่อระบายสินค้าออก ซึ่งจากการใช้ AI วิเคราะห์จึงพบว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สินค้าขายไม่ออก คือ พวกเขามีกลยุทธ์ในการวางสินค้าที่คล้ายคลึงกัน 4,288 สาขาทั่วโลก

หลังจากทราบปัญหาดังกล่าว H&M จึงใช้ระบบ AI ในการทำ Localization ผ่านการ วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละสาขา เพื่อจัดวางสินค้าให้ตรงตามความต้องลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น ร้าน H&M สาขา Stockholm พบว่าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และสินค้าที่ราคาแพงมักขายได้มากกว่าสินค้าราคาถูก ซึ่งการพบ Insignt ของลูกค้าจะช่วยลดปัญหาสินค้าไม่ตอบโจทย์ลูกค้าในที่สุด

 

5. AI กับการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้า

การวิจัยและพัฒนาสินค้า (Research and Development) เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน โดย AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัย เพื่อนำไปพัฒนาให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยหนึ่งในตัวอย่างการพัฒนาสินค้าด้วย AI ที่น่าสนใจมาจากแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Coca Cola

Coca Cola ใช้ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า และนำข้อมูลมาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าในที่สุด โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจาก AI คือ Cherry Sprite ซึ่งข้อมูลในการผลิตสินค้า ได้มาจากการวิเคราะห์พฤติกรรมของวัยรุ่นในการกดน้ำดื่ม ซึ่งลูกค้ามักจะผสมรสชาติน้ำดื่มเอง โดย AI ได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และคาดการณ์ส่วนผสม จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ Cherry Sprite ในที่สุด

 

Summary

ประโยชน์ของ AI ในการทำธุรกิจมีหลายด้าน ทั้งในด้านการทำการตลาด ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจพฤติกรรมลูกค้ามากยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งใช้ AI เพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาภายในร้าน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับธุรกิจ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีเทคโนโลยีอีกมากที่ช่วยพัฒนาธุรกิจอย่าง Blockchian และ Big Data ที่พร้อมเป็นส่วนเติมเต็มให้ธุรกิจพัฒนาอย่างยั่งยืน

Entrepreneurship พัฒนาแนวคิดแบบผู้ประกอบการ ฉบับ Startup

Posted on by admin_beacon_2024

สำหรับคุณแล้ว การจะเป็นผู้บริหารธุรกิจที่ดีได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?

ในบทความนี้เราจะพูดถึงหนึ่งในคุณสมบัติที่จะช่วยนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จที่มีขื่อว่า Entrepreneurship สิ่งนี้คืออะไร? และเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจอย่างไร? หาคำตอบได้ที่นี่!

 

Entrepreneurship สำคัญอย่างไรต่อการทำธุรกิจ

Entrepreneurship คือ ความเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งแสดงออกผ่านแนวความคิดและการกระทำของแต่ละบุคคล โดยคนที่มีความเป็นผู้ประกอบการมักจะมี Entrepreneurial Mindset หรือแนวคิดของผู้ประกอบการอยู่ภายในตัว

แล้วแนวคิดของผู้ประกอบการมีลักษณะอย่างไร?

  • มี Leadership สูง เป็นผู้นำในการตัดสินใจได้อย่างดีเยี่ยม
  • มองภาพรวมธุรกิจได้รอบด้าน มีแผนการรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเสมอ
  • มีความกล้าในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
  • มองเห็นโอกาสในการต่อยอดในการสร้างธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม “คนที่มี Entrepreneurship ไม่จำเป็นต้องเป็นนักธุรกิจธุรกิจเสมอไป ใครๆ ก็สามารถมีได้แม้ไม่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง” ยกตัวอย่างเช่นพนักงานบริษัท ถ้าหากมีแนวคิดดังกล่าวก็สามารถแก้ไขปัญหา สร้างคุณค่าให้กับองค์กร และกลายเป็นคนที่มีคุณภาพภายในองค์กรนั้นๆ ได้เช่นเดียวกัน

 

ตัวอย่าง Entrepreneurship จาก 3 Founder แห่ง AirBnB

Nathan BlecharczykBrian Chesky และ Joe Gebbia สามผู้ก่อตั้ง AirBnB คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการมี Entrepreneurship อยู่ในตัว และนำมาปรับใช้จนสามารถสร้างธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกได้ โดยพวกเขาหาโอกาสและพัฒนาไอเดียจากรูปแบบธุรกิจบริการที่พักอาศัยอย่างโรงแรม สู่การเปลี่ยนพื้นที่ว่างภายในห้องพักให้สามารถทำเงินได้ด้วยตัวเอง

เดิมทีธุรกิจห้องพักมักจะอยู่ในรูปแบบของโรงแรม หรืออพาร์ทเมนต์ แต่พวกเขาสามารถมองเห็นโอกาสในการเปิดให้นำพื้นที่ว่าง หรือห้องว่างมาเพื่อเป็นที่พักอาศัยได้ ผ่าน Platform ของพวกเขา

ซึ่งในปัจจุบัน AirBnB มี Host กว่า 4,000,000 รายที่เปิดให้บริการที่พักภายใน Platform

AirBnB จึงสามารถเริ่มธุรกิจโรงแรมของตัวเองได้ โดยแทบจะไม่ต้องลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ด้วยตัวเอง เพียงแค่มองหาโอกาส ใช้ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์กับลูกค้าเท่านั้น

เรามาดูตัวอย่างการใช้ Entrepreneurship เพื่อบริหารธุรกิจจาก Founder ทั้ง 3 นี้กัน

  • จุดเริ่มต้นของธุรกิจที่เริ่มต้นมาจากมุมมองที่แตกต่าง

จุดเริ่มต้นของ AirBnB เริ่มต้นจากปัญหาที่ Brian Chesky และ Joe Gebbia นั้นประสบปัญหาด้านค่าเช่าที่พักในปี 2007 จึงทำการแบ่งพื้นที่ภายในบ้านพักของตัวเองเพื่อเปิดให้คนอื่นมาเช่าพักเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายหมุนเวียน

หลังจากที่มีคนมาเช่า พวกเขากลับได้ไอเดีย และชักชวน Nathan Blecharczyk เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ และต่อยอดมันขึ้นมาจนกลายเป็น AirBnB ขึ้น

แต่หนทางสู่ความสำเร็จนั้น กลับไม่ได้เรียบง่ายเหมือนไอเดียที่วางไว้

การเปิดตัวในปี 2008 ผลตอบรับของ AirBnB ไม่ได้ดีตามคาด ด้วยอคติจากนักลงทุนที่ว่า “ทำไมถึงต้องยอมให้คนแปลกหน้าเข้ามาพักภายในบ้านของตัวเอง”

จนกระทั่งไอเดียของพวกเขาก็เข้าตา Paul Graham ผู้ก่อตั้ง Y Combinator ทำให้พวกเขาสามารถระดมทุนจำนวนมหาศาล และกลายเป็น AirBnB อย่างที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้

Note: Y Combinator คือ Startup Accerelator ที่คอยให้สนับสนุนเพื่อ “เร่ง” อัตราการเติบโตและเพิ่มมูลค่าธุรกิจ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ที่ทำให้ Dropbox และ AirBnB ประสบความสำเร็จในทุกวันนี้

  • มองเห็นภาพรวมธุรกิจได้รอบด้าน และมีแผนการรองรับความเสี่ยง

อย่างที่หลายๆ คนทราบกันดี ในช่วงปีที่ผ่านมาการระบาดของ COVID-19 นั้นได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปยังธุรกิจท่องเที่ยว และการโรงแรม ซึ่งรวมถึง AirBnB ด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ Brian Chesky จึงตัดสินใจปรับ Service ของแอปพลิเคชันให้ตอบโจทย์กับสถานการณ์มากขึ้น โดยการให้บริการ Online Experience เช่น ท่องเที่ยวปารีส ชมคอนเสิร์ต หรือแม้แต่การเรียนทำอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งหมด

ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 สามารถกลับมาทำกำไรได้ หลังจากที่ขาดทุนมาตลอดทั้งปี

รวมไปถึงการตัดสินใจนำ AirBnB เข้าสู่ IPO ท่ามกลางภาวะวิกฤตทั้งที่ใครๆ ก็บอกว่าเสี่ยง แต่ Brian Chesky กลับประเมินว่า หากสามารถฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้ จะสามารถกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดดได้อีกครั้ง

ผลจากการตัดสินใจเข้า IPO นี้ ทำให้หุ้นของ AirBnB ราคาขึ้นกว่า 2 เท่าภายในวันแรกที่เปิดตัว (ราคาเดิมอยู่ที่ 68 ดอลลาร์ ปิดตลาดในวันแรกที่ราคา 144.71 ดอลลาร์ หรือประมาณ 4,452 บาท) และได้รับการจัดอันดับให้เป็นหุ้นในกลุ่มชั้นเยี่ยม

ปัจจุบันมีนักลงทุนได้ทำการประเมินว่า ภายในปี 2024 มูลค่ากิจการของ AirBnB จะสามารถแซงหน้ากิจการโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Marriott International ที่ปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาทได้

นี่คือสิ่งที่สะท้อนถึงการมี Entrepreneurship อยู่ในตัวของ Brian Chesky ผ่านการเลือกวิธีแก้ไขปัญหาที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบธุรกิจเดิม ในเมื่อผลิตภัณฑ์ไม่สามารถสร้างรายได้ แทนที่จะจมกับปัญหา เขาเลือกสร้างสินค้าใหม่แต่ยังคงเอกลักษณ์เดิมไปพร้อมกับมองหาเส้นทางในอนาคตของแบรนด์ไปพร้อมๆ กัน

แนวทางการพัฒนา Entrepreneurship ในตัวเอง

1. มองให้เห็นโอกาสที่อยู่รอบตัว

“โอกาสอยู่รอบตัว” ประโยคนี้ไม่ได้เป็นคำกล่าวเกินจริงแต่อย่างใด การหมั่นสังเกตสิ่งรอบตัวจะช่วยให้เรามองเห็นปัญหาและโอกาสที่ซุกซ่อนอยู่รอบตัว ซึ่งคนที่มีแนวคิดผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักหยิบปัญหาที่เจอ มาแก้ไขและสร้างโอกาสในการทำธุรกิจต่อไป

ยกตัวอย่างกรณีของแอปพลิเคชันเรียกรถโดยสารสาธารณะชื่อดังอย่าง UBER

สำหรับต่างประเทศนั้น ในวันที่มีหิมะตกหนักจะทำให้หารถแท็กซี่นั้นยากมาก ซึ่ง Garrett Camp กับ Travis Kalanick นั้นก็ประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน

จึงเป็นเหตุให้พวกเขาได้ไอเดียว่า “จะดีแค่ไหนถ้าสามารถเรียกรถโดยสารสาธารณะด้วยโทรศัพท์มือถือจากที่ไหนก็ได้?” และจึงนำแนวคิดนี้มาพัฒนาแอปพลิเคชัน ทำให้ UBER ถือกำเนิดขึ้น

จากโอกาสเล็กๆ ที่มองเห็นจากปัญหาที่เกิดขึ้นรอบตัว จึงทำให้ UBER ประสบความสำเร็จอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

2. คิดแตกต่าง

ไม่เพียงแค่หมั่นสังเกตเท่านั้น แต่ Entrepreneurship ต้องคิดต่างจากคนอื่นด้วย หากทุกคนคิดเหมือนกันหมด ธุรกิจหรือนวัตกรรมก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยลง ซึ่งการฝึกความคิดต่างสามารถทำได้ด้วยการตั้งโจทย์จากคนรอบตัว คอยดูว่าคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร จากนั้นจึงลองศึกษาโจทย์ให้รอบด้านมากขึ้น และมองหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ ก็จะช่วยฝึกนิสัยการคิดต่างได้

ยกตัวอย่างเช่น Nikos Scarlatos CEO ของ PARKGENE สตาร์ทอัพจากประเทศกรีซ ที่มองการแก้ไขปัญหาที่จอดรถไม่พอแตกต่างจากคนอื่น คนส่วนใหญ่เมื่ออยากทำธุรกิจเกี่ยวกับที่จอดรถ มักจะสร้างลานจอดรถ แต่เขามองต่าง เขามองว่าพื้นที่จอดรถนั้นมีอยู่เต็มไปหมด ขึ้นอยู่กับว่าจะจอดรถได้หรือเปล่า

ดังนั้นเขาจึงสร้าง PARKGENE แอปพลิเคชันให้เช่าที่จอดรถ เปลี่ยนพื้นที่ว่างภายในบ้านให้กลายเป็นที่จอดรถ ในรูปแบบ Peer-to-Peer นอกจากนี้ Nikos ยังพัฒนาธุรกิจให้แตกต่างด้วย Blockchain โดยสร้างเหรียญ PARKGERE ให้คนที่ใช้แอปพลิเคชันนั้นใช้ชำระค่าบริการ ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าทั้งด้านธุรกิจและในตลาด Cryptocurrency

3. กล้าเผชิญกับอุปสรรค

การทำธุรกิจมักมาพร้อมกับอุปสรรคเสมอ ดังนั้นคนที่ต้องการพัฒนา Entrepreneurship เมื่อเจออุปสรรคไม่ควรหนีปัญหา แต่ควรหาทางรับมือและแก้ไขปัญหาเพื่อให้ผ่านอุปสรรคไปได้ ซึ่งการเผชิญอุปสรรคบ่อยครั้งจะช่วยฝึกความคิดสร้างสรรค์และฝึกทักษะในการแก้ไขปัญหาไปในตัว

ยกตัวอย่างเช่น Steve Jobs หลังจากโดน Apple บริษัทที่เขาก่อตั้งไล่ออกในปี 1985 แต่ด้วยความเป็นผู้ประกอบการในตัว เขาไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค โดยเขาก่อตั้ง NeXT บริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยขึ้น ซึ่งสุดท้ายในปี 1997 หลังจาก Apple ประสบปัญหาทางการเงิน พวกเขาต้องยอมซื้อบริษัท NeXT เพื่อดึงตัว Steve Jobs กลับไปบริหารเหมือนเดิม

4. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

การตั้งเป้าหมายมีไว้เพื่อให้สำรวจตัวเองว่าพัฒนามากขึ้นแค่ไหน หากเป้าหมายในการทำธุรกิจหรือการดำรงชีวิตชัดเจน จะช่วยเสริมความมั่นใจระหว่างทาง และเป็นเครื่องยืนยันว่าเส้นทางที่เลือกเดินนั้นถูกต้องแล้วโดยการตั้งเป้าหมายสามารถฝึกได้ง่ายๆ ตั้งแต่เรื่องเล็กๆในชีวิตประจำวัน อย่างการตั้งเวลาตื่นนอนหรือการออกกำลังกาย เป็นต้น

หากจะยกใครสักคนเป็นตัวอย่างในการฝึกตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน คงหนีไม่พ้น Elon Musk เพราะชายคนนี้เป็นคนที่เอาจริงเอาจังกับเป้าหมายจนนำมาปรับใช้ในธุรกิจ อย่างล่าสุดที่เขามีเป้าหมาย ในการช่วยเหลือมนุษยชาติ จนเกิด SpaceX ธุรกิจที่ศึกษาด้านอวกาศ รวมถึงการพัฒนาบริษัทด้านพลังงานสะอาดอย่าง Tesla และ Solarcity ที่ช่วยลดการปล่อยมลภาวะ ยืดอายุโลกใบนี้ให้นานยิ่งขึ้น

5. ฝึกการตัดสินใจให้เด็ดขาด

การฝึกตัดสินใจถือเป็นหัวใจสำคัญของ Entrepreneurship เนื่องจากการทำธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับการตัดสินใจ ซึ่งการตัดสินใจส่วนใหญ่มักไม่มีโอกาสให้แก้ตัวเป็นครั้งที่สอง ดังนั้นความเด็ดขาดจึงเป็นหัวใจสำคัญที่สนับสนุนการตัดสินใจ เพราะถ้าตัดสินใจผิดก็ต้องพร้อมรับมือและแก้ไข ไม่มีลังเลหรือเสียใจที่ตัดสินใจพลาดไป มีแต่การเดินหน้าแก้ไขปัญหาเท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น Ben Horowiz นักลงทุนและผู้เขียนหนังสือ “The Hard Thing About Hard Things: Building a Business When There Are No Easy Answers” หนังสือที่เล่าประสบการณ์การตัดสินใจที่ยากในการทำธุรกิจหลายครั้ง ทั้งการปลดพนักงานเพื่อพยุงบริษัทที่ใกล้ล้มละลาย หรือการเลือกขายหุ้นบริษัท Loudcloud เพื่อช่วยให้บริษัทรอดพ้นในวิกฤต Dot Com

โดยในการตัดสินใจแต่ละครั้งของ Ben Horowiz มีจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ เขาพร้อมรับมือกับผลตอบรับในการตัดสินใจเสมอ ไม่ว่าการสร้างความเชื่อมั่นใจกับพนักงานที่ยังอยู่ หรือการตระเวนขายหุ้นเพื่อให้บริษัทอยู่รอด โดยเขาได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับทักษะจำเป็นต่อประสบความสำเร็จของธุรกิจ คือ “ความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ในสถานการณ์ที่ทุกทางเลือกนั้นล้วนเลวร้ายไปซะหมด”

 

Summary

Entrepreneurship หรือแนวคิดของผู้ประกอบการ เป็นสิ่งที่เสริมศักยภาพของภายในบุคคล ทั้งคนที่มีและไม่มีธุรกิจของตัวเอง หากแนวคิดนี้มีในนักธุรกิจก็จะสร้างธุรกิจที่แตกต่างหรือมีความสามารถในการแก้ไขปัญหา แต่ถ้าอยู่ในพนักงาน คนคนนั้นก็จะกลายเป็นคนสำคัญขององค์กร

สำหรับใครที่พบว่าตัวเองไม่มีลักษณะของ Entrepreneurship ก็อย่าเสียใจไป เพราะแนวคิดนี้เป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ ขอแค่เพียงตั้งใจ มีวินัย และลงมือทำอย่างจริงจัง ก็จะสามารถเพิ่มแรงผลักดันให้ไปสู่ความสำเร็จได้

ที่มา:

Beacon VC นำทัพลงทุนกับ Jitta สตาร์ทอัพไทยสร้าง WealthTech

Posted on by admin_beacon_2024

Beacon VC บริษัทเงินร่วมลงทุนของธนาคารกสิกรไทย ประกาศนำการลงทุนครั้งใหญ่มูลค่ารวมกว่า 200 ล้านบาทกับ Jitta สตาร์ทอัพแถวหน้าของไทยผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านการลงทุนให้ผู้ใช้งานจากทั่วโลก โดยเป็นการลงทุนระดับ Pre-Series A ของสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเวลานี้ ตั้งเป้าพัฒนานวัตกรรมอัจฉริยะด้านการลงทุน ผลักดัน WealthTech ในประเทศไทยให้เติบโต และขยาย Jitta สู่ตลาดต่างประเทศ

นายธนพงษ์ ณ ระนอง (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด เปิดเผยว่า “Beacon VC เห็นแนวโน้มและศักยภาพในการเติบโตของตลาดในกลุ่มเทคโนโลยีการลงทุน (WealthTech) ซึ่งกำลังมีบทบาทและความสำคัญมากขึ้นในตลาดทั่วโลก ในยุคดอกเบี้ยต่ำเช่นในปัจจุบัน โดย Jitta ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้อย่างโดดเด่นที่สุด ด้วยอัลกอริทึมวิเคราะห์หุ้นที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าประทับใจได้ในระยะยาวและยังมีฐานผู้ใช้งานที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือผู้ก่อตั้งและทีมงานของ Jitta ที่มุ่งมั่นสร้างเทคโนโลยีเพื่อผู้ใช้งานอย่างแท้จริง”

“โซลูชั่นของ Jitta ที่พัฒนาขึ้น นับเป็นสตาร์ทอัพจำนวนน้อยรายในประเทศไทย ที่มีศักยภาพในการสเกลหรือขยายการบริการไปในตลาดต่างประเทศทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เรามั่นใจว่า Jitta สามารถเป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติไทยที่จะก้าวขึ้นมาสร้างปรากฏการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและผลักดันให้วงการสตาร์ทอัพไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับสากล”

Beacon VC ถือเป็นหนึ่งในกองทุน Venture Capital ไทยที่ลงทุนในสตาร์ทอัพมากที่สุดขณะนี้ โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการลงทุนไปแล้ว 5 บริษัททั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ Beacon VC มีนโยบายมุ่งเน้นลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจของธนาคาร หรือส่งเสริมความสามารถในการให้บริการของธนาคารกสิกรไทย

การลงทุนครั้งนี้นับเป็นการลงทุนที่มีมูลค่าสูงสุดสำหรับสตาร์ทอัพไทยในรอบการลงทุน Pre-Series A โดย Beacon VC ในฐานะผู้นำการลงทุนครั้งนี้จะสนับสนุนให้ Jitta ขยายและพัฒนาธุรกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำนวัตกรรมการลงทุนที่เข้าใจง่ายสะดวก และมีประสิทธิภาพมาช่วยสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวอย่างยั่งยืนให้กับนักลงทุนทุกกลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายและความมุ่งมั่นของธนาคารกสิกรไทย

นายตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ (ที่ 3 จากขวา) ประธานบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Jitta เปิดเผยว่า “วิสัยทัศน์ของ Jitta คือช่วยให้นักลงทุนได้ประโยชน์สูงสุด เราจึงสร้างนวัตกรรมการลงทุนที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงข้อมูลการลงทุนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สร้างผลตอบแทนดี ด้วยวิธีการที่เรียบง่าย ดังนั้นการเข้าเป็นพันธมิตรกับ Beacon VC ที่ได้ให้การสนับสนุนทั้งเงินทุนและโอกาสทางธุรกิจครั้งนี้ จะช่วยให้ Jitta สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ก้าวขึ้นเป็นผู้นำบริการด้าน WealthTech ได้ โดยเป้าหมายจากนี้เราจะขยายทีมพัฒนา เพื่อเน้นการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาต่อยอดนวัตกรรมอย่างเข้มข้นมากขึ้น พร้อมเปิดข้อมูลวิเคราะห์หุ้นให้ครบ 16 ประเทศ เพื่อครอบคลุม 95% ของหุ้นทั่วโลก รวมถึงเปิดบริการผลิตภัณฑ์ใหม่ และการขยายตลาดไปยังประเทศสิงคโปร์และอินเดียในปีนี้”

Jitta เป็นสตาร์ทอัพแถวหน้าของไทย เป็นผู้นำด้าน WealthTech มีทีมงานพัฒนาที่แข็งแกร่งสร้างเทคโนโลยี Big Data วิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจและความเหมาะสมในการลงทุนบนพื้นฐานการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investing) ตามหลักการของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่ว่า

“ลงทุนในบริษัทที่ยอดเยี่ยม ในราคาที่เหมาะสม” ทั้งนี้ เทคโนโลยีจัดอันดับหุ้นน่าลงทุน Jitta Ranking ได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถสร้างผลตอบแทนชนะดัชนีตลาด จึงถูกนำไปใช้ต่อยอดเป็นกลยุทธ์การลงทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนต่างๆ เพื่อบริหารจัดการเงินให้นักลงทุนที่ต้องการ โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 2,200 ล้านบาท

นอกจากนี้ เรายังเตรียมเปิดให้บริการ Jitta Wealth ซึ่งเป็นกองทุนที่บริหารจัดการด้วยเทคโนโลยี ลงทุนในหุ้นตามการวิเคราะห์จัดอันดับของ Jitta Ranking เน้นลงทุนระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ดำเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการขอใบอนุญาตการจัดการกองทุนส่วนบุคคล จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยจะเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในไตรมาสที่สองของปีนี้ ซึ่งมั่นใจว่า Jitta Wealth จะเป็นทางเลือกใหม่ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนรายย่อยอย่างมาก เพราะการใช้เทคโนโลยีทำให้สามารถบริหารกองทุนได้มีประสิทธิภาพสูงกว่า มีค่าบริหารจัดการต่ำกว่าเพียง 0.5% ต่อปี และเป็นธรรมแก่นักลงทุนมากที่สุด ด้วยการคิดค่าธรรมเนียมเพียง 10% ของกำไร อีกทั้งยังสร้างโอกาสและกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนในประเทศไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา สะดวกสบายตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนอย่างดีที่สุดด้วยบริการออนไลน์” นายตราวุทธิ์ กล่าวสรุป

ข้อมูลจากรายงาน BCG Global Asset Management 2561 สรุปมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การดูแล (assets under management) สุทธิทั่วโลกในปี 2560 ว่ามีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,500 ล้านล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้า 12% โดยสหรัฐอเมริกาและจีนเป็นประเทศที่มีสินทรัพย์ภายใต้การดูแลสูงสุด สำหรับประเทศไทยมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การดูแลสุทธิ 6 ล้านล้านบาท เติบโต 7.6% โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี จึงทำให้มีความต้องการของการจัดการบริหารเงินทุนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในรูปแบบใหม่ที่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการ (WealthTech) เพื่อความคุ้มค่า ลดความเสี่ยง และสร้างผลกำไรที่ดีกว่าในระยะยาว ซึ่งตรงกับแนวโน้มพฤติกรรมของนักลงทุนในปัจุบัน

ทำความรู้จัก Blockchain และทิศทางที่ส่งผลต่อธุรกิจในอนาคต

Posted on by admin_beacon_2024

จากกระแสสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ที่ราคาพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้เทคโนโลยี Blcokchain ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการลงทุนและการนำมาปรับใช้ประโยชน์กับธุรกิจ โดยในบทความนี้ KATALYST จะไขข้อสงสัยว่า Blockchain คืออะไร และเทคโนโลยีจะส่งผลต่อธุรกิจอย่างไรในอนาคต

 

Blockchain คืออะไร

Blockchain คือ เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล (Data Structure) ที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายผ่านการเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกจะส่งต่อข้อมูลไปยังทุกคนในเครือข่าย ซึ่งยากต่อการปลอมแปลงข้อมูล เพราะทุกคนจะรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ส่งผลให้ Blockchain เป็นเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง

Blockchain เกี่ยวข้องอะไรกับสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency)

ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมาสกุลเงินดิจิทัลได้รับความสนใจจากผู้คนมากยิ่งขึ้น จากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ทั้ง Bitcoin และ Ethereum ซึ่งมีหลายปัจจัยมารองรับทั้งค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงหรือการกว้านซื้อจากนักลงทุนสถาบัน

สิ่งที่เชื่อมต่อระหว่างสกุลเงินดิจิทัลกับ Blockchain คือ พื้นฐานของระบบที่ต้องเข้ารหัสผ่านคอมพิวเตอร์ โดยไม่รวมข้อมูลไว้ที่ใดที่หนึ่ง แต่จะกระจายข้อมูลไปยังเครือข่ายต่างๆ โดยทุกข้อมูลจะเชื่อมโยงกันทั้งระบบ

Blockchain เข้ามามีบทบาทในการเพิ่มความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ครอบครองสกุลเงินดิจิทัล ทั้งจำนวนเงินและจำนวนครั้งในการโอน โดยกระจายข้อมูลไปให้ทุกคนในเครือข่ายรับรู้ถึงประวัติการทำธุรกรรม ส่งผลให้สกุลเงินดิจิทัลมีความโปร่งใส และปลอดภัยต่อการถูกปลอมแปลงข้อมูล

 

Blockchain ทำอะไรได้บ้างนอกจากเรื่องสกุลเงินดิจิทัล

ในปัจจุบัน Blockchain ถูกใช้งานในหลายอุตสาหกรรม ด้วยคุณสมบัติที่สามารถจัดเก็บและเชื่อมโยง ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ สำหรับตัวอย่างธุรกิจที่เริ่มนำ Blockchain มาใช้งานมีดังนี้

ธุรกิจการเงิน
สำหรับธุรกิจการเงินกับ Blockchain สามารถนำมาต่อยอดในกระบวนการทำงาน ทั้งการเสริมความปลอดภัยในด้านการจัดเก็บข้อมูล และช่วยลดขั้นตอนในการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยทางธนาคาร ReiseBank AG ในประเทศเยอรมนี ได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาช่วยในการโอนเงินข้ามประเทศ ซึ่งลดระยะเวลาจาก 1-3 วัน เหลือเพียง 20 วินาทีเท่านั้น

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
Blockchain เข้ามาพัฒนาและสร้างโอกาสในการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งด้านการทำ Smart Contract ที่ช่วยตรวจสอบข้อมูลและลดตัวกลางในการทำสัญญา ไปจนถึงการเปลี่ยนรูปแบบการซื้อขาย แปลงสินทรัพย์เป็น Token และซื้อขายผ่านระบบ ICO (Inital Coin Offering) ซึ่งเป็นระบบการระดมทุนแบบดิจิทัล โดยเสนอซื้อขาย Token ผ่านระบบ Blockchain

ตัวอย่างการใช้งานจริง Elevated Returns บริษัทจัดการสินทรัพย์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการทำ Tokenization Real Estate Assest ด้วยการเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์เป็น Token โดยเริ่มต้นจากโครงการขายรีสอร์ตที่รัฐโคโลราโด (Colorado) ด้วยมูลค่ากว่า 18 ล้านอีเธอเรียม (Ethereum) หรือประมาณ 7 แสนล้านบาท

ธุรกิจการแพทย์
ในด้านธุรกิจการแพทย์ Blockchain เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการข้อมูล ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายประวัติคนไข้ ทำให้การส่งต่อการรักษา (Refer) สะดวกมากยิ่งขึ้น หรือการสอนหุ่นยนต์กู้ภัย ที่สามารถสอนหุ่นยนต์เพียงตัวเดียว แต่สามารถใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการกระจายความรู้ไปสู่หุ่นยนต์ตัวอื่นๆ ได้ ทำให้ลดระยะเวลาการป้อนคำสั่งให้กับหุ่นยนต์ทุกตัว

ตัวอย่างการใช้ Blockchain ในธุรกิจการแพทย์จริง เช่น Patientory สตาร์ทอัพสายสุขภาพนำ Blockchain มาใช้ในการเก็บข้อมูลสำคัญทางการแพทย์ของผู้ป่วย หรือ Farmatrust สตาร์ทอัพจากลอนดอนที่ใช้ Blockchain ในการตรวจสอบที่มาของยาแต่ละชนิด เพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลของยา และเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

 

วิธีการนำ Blockchain มาใช้ในการพัฒนาธุรกิจ

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าธุรกิจขนาดใหญ่หลายเจ้า เริ่มหันมาใช้ Blockchain ในการดำเนินงาน ซึ่งแท้จริงแล้ว Blockchain ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่จำกัดเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่สามารถปรับใช้กับธุรกิจทั่วไปได้ด้วย โดยตัวอย่างการใช้งาน Blockchain ในธุรกิจมีดังนี้

 

1. พัฒนารูปแบบการทำสัญญา

Blockchain สามารถนำมาปรับใช้ในการทำสัญญาระหว่างธุรกิจ ผ่านการทำ Smart Contract หรือสัญญาดิจิทัล โดยสัญญาดังกล่าวจะเป็นรูปแบบที่สามารถดำเนินงานได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง นอกจากนี้ Smart Contract ยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรพนักงานในการตรวจสอบเอกสาร โดยข้อมูลจะถูกตรวจสอบผ่านเครือข่าย ทำให้ลดระยะเวลาและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

2. ลดระยะเวลาและต้นทุนในการทำธุรกรรมทางการเงิน

ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการเป็นเวลานาน และต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับตัวกลางอย่างธนาคารหรือสถาบันทางการเงินทำให้ต้นทุนในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น หากปรับมาใช้ Blockchain ในการทำธุรกรรมทางการเงิน ด้วยระบบ Peer to Peer ที่ไม่ต้องผ่านตัวกลาง จะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าว นอกจากนี้ Blockchain ยังสามารถบันทึกและติดตามที่มาของเงินได้อีกด้วย ทำให้ลดขั้นตอนการตรวจสอบที่มาของเงิน ช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดเวลาและต้นทุนในการทำธุรกรรม

 

3. รู้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้ามากขึ้น

ในอนาคตที่มีแนวโน้มการใช้งาน Blockchain มากขึ้น โดยในการทำธุรกรรม ผู้คนจะมี Digital ID ของตัวเอง และ Digital ID นี้เอง จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทราบพฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมที่เกิดจาก Blockchain ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นพฤติกรรมลูกค้าที่พบจึงเป็นพฤติกรรมที่แท้จริง

การที่เราทราบข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริง ทำให้เราสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งด้านการตลาดไปจนถึงการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น

 

Summary

Blockchain คือ หนึ่งในเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเข้ามาช่วยและอาจเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ เช่นเดียวกับ API และ Big Data โดย Blockchain นำมาซึ่งโอกาสทั้งในด้านการลดระยะเวลาและต้นทุน ไปจนถึงการทำการตลาด โดยในปัจจุบันมีหลายธุรกิจที่เริ่มนำ Blockchain มาใช้งาน ซึ่งผลลัพธ์ก็พิสูจน์แล้วว่า Blockchain สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้จริง ทั้งนี้ไม่ใช่แค่ธุรกิจรายใหญ่เท่านั้น แต่ Startup ก็สามารถนำ Blockhain เข้ามาใช้ในการพัฒนา Product & Service ได้เช่นเดียวกัน

Smart Agriculture การเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

Posted on by admin_beacon_2024

ภาคการเกษตรเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งสร้างงานอันดับ 1 ของประเทศ ถึงแม้ว่าภาคการเกษตรจะมีความสำคัญมากแค่ไหน แต่รายได้ของเกษตรกรกลับสวนทาง เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนรายได้สุทธิจากการเกษตร ที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ไม่ถึง 50% ของรายได้ในครัวเรือน สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่ภายใน หนึ่งในนั้นคือปัญหาการควบคุมผลผลิตและต้นทุนที่สูงเกินไป ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วย Smart Agriculture

 

Smart Agriculture คืออะไร

 

Smart Agriculture หรือ Smart Farm คือ การเกษตรแบบใหม่ ที่เปลี่ยนวิธีการดำเนินงานแบบเก่า มาใช้ข้อมูล (Data) และเทคโนโลยีในการบริหารงานเกษตร เพื่อค้นหาวิถีการทำงานให้เหมาะสมและสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่ยั่งยืน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เพิ่มกำไรให้มากยิ่งขึ้น

 

หัวใจหลักของการทำ Smart Agriculture

  • ข้อมูล เป็นพื้นฐานในการทำการเกษตร โดย Smart Agriculture ต้องพึ่งพาข้อมูลในการวิเคราะห์ หาแนวทางที่ดีที่สุดในการทำงาน รวมถึงคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หากมีข้อมูลมากเพียงพอก็จะสามารถลดปัญหา และนำไปสู่การพัฒนาผลผลิตให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
  • เทคโนโลยี เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรแม่นยำมากขึ้น ผ่านการนำเทคโนโลยีมาวิเคราะห์ปัจจัยทางการผลิต ทั้งสภาพอากาศและค่าดิน นอกจากนี้เทคโนโลยียังช่วยลดขั้นตอนและลดต้นทุนการใช้แรงงานในการทำการเกษตร

ตัวอย่างเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ด้าน Smart Agriculture

  • Drone (โดรน) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการบินเพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่ เพื่อนำไปวิเคราะห์และหาแนวทางการจัดการพื้นที่ ตัวอย่างโดรนที่ใช้ในการทำเกษตร เช่น Droneseed และ Sense Fly เป็นต้น
  • Climate Condition Monitoring เป็นเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ผ่านเซนเซอร์ที่ติดตั้งภายในสวน ซึ่งเซนเซอร์จะเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมและส่งต่อไปยัง Cloud เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไป ตัวอย่างเครื่องมือในด้านนี้ เช่น allMeteo และ Pycno เป็นต้น
  • Greenhouse Automation สำหรับฟาร์มที่ทำการเกษตรแบบโรงเรือน ระบบนี้จะช่วยในการจัดการงานให้อัตโนมัติ ด้วยการตรวจจับสภาพแวดล้อมภายในผ่านเซนเซอร์ เช่น อุณหภูมิ แสง และดิน ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ด้าน Greenhouse Automation เช่น Growlink และ GreenIQ เป็นต้น
  • Crop Management ระบบการจัดการการเพาะปลูก โดยวิเคราะห์ตั้งแต่สภาพหน้าดิน แร่ธาตุในดิน ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ไปจนถึงอุณหภูมิ ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงในการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ด้านการจัดการการเพาะปลูก เช่น Arable และ Semios เป็นต้น
  • Predictive Analytic ระบบการคาดการณ์ล่วงหน้า เป็นการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการทำ Data Analytics เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ผลการผลิตล่วงหน้า ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเพาะปลูก ตัวอย่างผู้ให้บริการด้าน Predictive Analytics เช่น SoilScout และ Crop Performace เป็นต้น
  • Management System ระบบการจัดการฟาร์ม เป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนการจัดการจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ ด้วยการเชื่อมต่อและรวบรวมข้อมูลจากระบบ IoT ที่ติดตั้งภายในฟาร์ม ลงในแอปพลิเคชัน ทำให้เกษตรกรสามารถติดตามผลผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่ช่วยด้านการจัดการฟาร์ม เช่น Cropio และ FarmLogs
  • Cattle Monitoring ระบบติดตามและจัดการสัตว์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการดูแลสัตว์ภายในฟาร์ม เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำปศุสัตว์ โดยระบบดังกล่าวช่วยติดตามข้อมูลตั้งแต่ ตำแหน่งที่อยู่ ไปจนถึงสุขภาพของสัตว์ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ด้าน Cattle Monitoring เช่น SCR by Alflex และ Cowlar เป็นต้น

ความเป็นไปได้ของ Smart Agriculture ในประเทศไทย

ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงการเกษตรไปสู่ Smart Agriculture จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ให้กับเกษตรกรมากมาย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การทำ Smart Agriculture ให้เป็นจริง ยังเป็นหนทางอีกยาวไกล เนื่องจากระบบดังกล่าว พึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีจำนวนมาก ซึ่งการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกรรายย่อยยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก

อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการสร้างระบบที่ค่อนข้างสูง การจัดซื้ออุปกรณ์ รวมถึงค่าบำรุงรักษา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นต้นทุนแฝง (Hidden Cost) ในการสร้าง Smart Agriculture โดยประเด็นด้านต้นทุนและภาระหนี้สินของครอบครัว เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญที่พาเกษตรกรไทยไปไม่ถึงฝัน

 

เป็นไปได้ยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้

หากจะกล่าวว่า Smart Agriculture เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้จริงในไทย คงเป็นคำกล่าวที่เกินจริงไปสักหน่อย ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคหลายอย่าง แต่ก็มีหลายภาคส่วนเข้ามาผลักดันให้ Smart Agriculture เกิดขึ้นจริงในไทย โดยทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้ผลักดันเทคโนโลยีให้เข้าถึง Startup สาย AgriTech หรือ AgTech และพี่น้องเกษตรกรมากยิ่งขึ้น

โครงการที่ NIA จัดตั้งเป็นโครงการที่สนับสนุนด้านนวัตกรรม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) อย่าง AI, Sensor, IoT และ Big Data รวมถึงการนำนวัตกรรมที่ได้ไปทดลองใช้งานจริงกับเกษตรกร ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาความเข้าใจด้านเทคโนโลยีของเกษตรกรมากยิ่งขึ้น อย่างน้อยเมื่อเกษตรกรเข้าใจและเล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี ก็ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้าง Smart Agriculture ให้เป็นจริงมากยิ่งขึ้น

ไม่เพียงแต่การร่วมมือจากหน่วยงาน NIA เท่านั้น แต่ที่สิ่งที่จะผลักดันให้ Smart Agriculture เกิดขึ้นได้จริงในเมืองไทย คือ การสร้าง Roadmap ที่จะกำหนดขอบเขต และแนวทางการพัฒนาอย่างจริงจัง ทั้งจากภาครัฐและเอกชน

โดยภาครัฐต้องสนับสนุนผ่านการลงทุน สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมในราคาที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนในการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกร นอกจากนี้ยังต้องกระตุ้นให้เกิด Ecosystem ในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรภายในประเทศ สนับสนุนกลุ่ม Startup ในไทย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเทคโนโลยี และสร้างโอกาสให้ Startup ไทยเติบโตต่อไป

ตัวอย่างการทำ Smart Agriculture ในไทย กรณีศึกษา Deva Farm

Deva Farm เป็นหนึ่งในข้อพิสูจน์ที่ทำให้เห็นว่า Smart Agriculture สามารถเกิดขึ้นจริงได้ในประเทศไทย โดยฟาร์มนี้ปลูกพืชเมืองหนาวอย่าง ฮอป (Hop) ด้วยการเพาะปลูกแบบโรงเรือนที่ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีแทบทั้งหมด และเป็นการทำเกษตรโดยแทบไม่ต้องใช้คนในการเพาะปลูก

ทาง Deva Farm เริ่มต้นวางระบบด้วยการซื้ออุปกรณ์ด้าน IoT ทั้งหมดตั้งแต่ ระบบวัดอุณหภูมิ ความชื้น ค่าความเข้มแสง ความเร็วลม โดยวางระบบให้ทุกอย่างทำงานสอดคล้องกัน ผ่านการเขียน Python เชื่อมต่อ IoT ผ่าน API แล้วนำมาแสดงผลบน Dashboard ของ Grafana ซึ่งสามารถควบคุมการทำงานภายในฟาร์มได้ผ่านแท็บเล็ตเพียงตัวเดียว

ตัวอย่างระบบการทำงานภายใน Deva Farm

Deva Farm ใช้เซนเซอร์ในการทำงานเป็นหลัก เช่น หากอุณหภูมิสูงกว่าที่ตั้งค่าไว้ เซนเซอร์ที่ตรวจจับได้ จะพ่นหมอกไอน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิ หรือ ระบบการใส่ปุ๋ย ที่ปรับสูตรใส่อัตโนมัติ ตามค่าความชื้นอากาศที่เซนเซอร์วัดได้ในแต่ละวัน เป็นต้น ส่วนเกษตรกรจะมีหน้าที่แค่ดูภาพรวมภายในฟาร์ม แก้ไขปัญหาและซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ เท่านั้น ทำให้ฟาร์มนี้สามารถทำงานได้โดยแทบไม่ต้องใช้แรงงานคน

 

Summary

Smart Agriculture การเกษตรอัจฉริยะที่พร้อมเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรให้สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก แต่สามารถเป็นไปได้ในประเทศไทย เพียงแค่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงเกษตรกรเพื่อสร้าง Ecosystem ให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

KATALYST Talk: Brad Phaisan, CEO Of OmniVirt

Posted on by admin_beacon_2024

สรุปสาระสำคัญจากงาน KATALYST Talk: Brad Phaisan, CEO of OmniVirt

ในวันที่ 12 มกราคม 2564 ทาง KATALYST เชิญคุณแบดด์ ปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ (Brad Phaisan) CEO แห่ง OmniVirt สตาร์ทอัพคนไทยสัญชาติอเมริกา ที่สร้างระบบโฆษณาเสมือนจริง Virtual Reality ให้กับแบรนด์ดังระดับโลกหลายเจ้า มาร่วมแชร์ประสบการณ์ในการทำ Startup ที่ซิลิคอนวัลเลย์ (Silicon Valley) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน

คุณ Brad Phaisan เป็นคนไทย เติบโตในประเทศไทย เริ่มต้นอาชีพด้วยการทำงานที่ Microsoft ในประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงไปทำงานต่อที่ Google ซึ่งที่ Google นี้เองเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิด OmniVirt ขึ้น จากการเข้าโปรแกรม Y Combinator หลักสูตรอบรมผู้บริหารสตาร์ทอัพ ที่มอบทั้งเงินทุน ความรู้และ Connection ที่ดีให้กับคุณ Brad Phaisan

OmniVirt เกิดขึ้นจากความรู้และความเชี่ยวชาญจากการทำงานด้านโฆษณาให้กับ Google จึงเกิดเป็นสตาร์ทอัพด้านโฆษณาขึ้น แต่เมื่อสำรวจตลาดและศึกษาคู่แข่งจึงพบว่าทุกคนทำโฆษณาคล้ายกันหมด ดังนั้น OmniVirt จึงเลือกทำเพื่อสร้างความแตกต่าง คือ การทำโฆษณาเสมือนจริง Virtual Reality หรือ VR

ตกผลึกแนวคิดการทำ Startup จาก คุณ Brad Phaisan
จากประสบการณ์ของคุณ Brad Phaisan ที่ทำสตาร์ทอัพสัญชาติไทยในอเมริกา ทำให้ตกผลึกแนวคิดมากมายที่มีประโยชน์ต่อการทำสตาร์ทอัพ ซึ่งสามารถสรุปแนวคิดได้ดังนี้

1. บริษัทต้อง Global ตั้งแต่ระดับโครงสร้าง
การทำสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จในระดับสากล โครงสร้างบริษัทต้องสากลตามไปด้วย ตั้งแต่การจดทะเบียนบริษัทที่ต้องจดในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทั้งในด้านกฎหมายและด้านธุรกิจ ในส่วนนี้เหมาะสำหรับธุรกิจแบบ B2B ที่ต้องอาศัยความเชื่อใจในการทำธุรกิจร่วมกัน

นอกจากการจดทะเบียนแล้ว ทีมต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) ที่เป็นสากล เพื่อให้องค์กรเกิดความเข้าใจในจุดหมายร่วมกัน ซึ่งทาง OmniVirt ยึดหลักวิสัยทัศน์ที่มองธุรกิจในระดับสากล เป็นหนึ่งในเกณฑ์การรับคนเข้าร่วมทีมอีกด้วย

ส่วนสตาร์ทอัพในไทย หากต้องการสร้างความเป็น Global ต้องเริ่มตั้งแต่การสร้างสินค้าและบริการให้แตกต่าง และสามารถรองรับได้ในระดับสากล เปลี่ยนจากเทคโนโลยีปลายน้ำสู่ต้นน้ำ โดยเริ่มจากการขยายบริการไปยังระดับภูมิภาคก่อน ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการก้าวสู่ระดับสากลต่อไป

2. พัฒนาสินค้าให้รองรับกับความต้องการ
OmniVirt ในวันที่เริ่มต้นจากศูนย์ พวกเขาหาลูกค้าจาก Connection และการทำ Digital Marketing เช่น ทำ SEO ใน Keyword ที่เกี่ยวกับ VR และอัปโหลดคลิปวิดีโอลง YouTube ซึ่งวิธีที่สองทำให้พวกเขาได้ลูกค้าเจ้าใหญ่อย่าง The New York Times

หลังจากมีโอกาสได้ติดต่อเข้าไปขายงานกับลูกค้าแล้ว ลำดับต่อมาคือการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ดังนี้

1. สอบถามความต้องการ แล้วจึงสร้างผลิตภัณฑ์

สำหรับข้อนี้สิ่งที่สตาร์ทอัพจะได้คือ ความต้องการของลูกค้าโดยตรง ลดระยะเวลาในการลองผิดลองถูก ทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงประเด็น

2. เสนอไอเดีย และให้ลูกค้าทดลองใช้

ในส่วนของข้อนี้สตาร์ทอัพจะนำเสนอไอเดียให้กับลูกค้า แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างและประโยชน์ในการเลือกใช้สินค้า เช่น โฆษณาแบบ VR สามารถใช้กับการขายรถยนต์ได้ ด้วยการถ่ายรอบคัน เป็นต้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวลูกค้ามักจะเสนอไอเดียของพวกเขากลับมา ทำให้สตาร์ทอัพสามารถนำไอเดียดังกล่าวไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Virgin ได้เสนอไอเดียเรื่อง การนำ VR ไปใช้ถ่ายโฆษณาในเครื่องบิน พร้อมฟีเจอร์ Interactive เป็นต้น

ทั้งนี้ทาง OmniVirt มักเลือกวิธีการพัฒนาสินค้าแบบที่ 2 เป็นหลัก เพราะนอกจากการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสินค้าแล้ว สิ่งที่ได้รับกลับมาคือ ไอเดียของลูกค้า ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนาบริการต่อได้ โดยการเลือกไอเดียที่มาพัฒนาบริการต่อ มีหลักดังนี้

1. ต้องตอบโจทย์ลูกค้าหลายเจ้า พัฒนาหนึ่งครั้งแต่สามารถสร้างโอกาสในการขายได้มากกว่าเดิม เพราะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้หลายราย

2. ต้องมี Impact ทั้งจำนวนเม็ดเงินที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีความสำคัญต่อความจำเป็นและประสบการณ์ในการใช้งานของลูกค้า (User Experience) ที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด

3. ระยะเวลาต้องพอดี ไม่ใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงที่นานเกินไป

3. การแก้ปัญหาคู่แข่งเยอะ
อย่างที่รู้กันดีว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเต็มไปด้วยสตาร์ทอัพ ยิ่งธุรกิจในด้านสื่อโฆษณายิ่งคู่แข่งเยอะ แต่การที่คู่แข่งเยอะกลับส่งผลดีต่อ OmniVirt พวกเขาจัดการแก้ปัญหาจำนวนคู่แข่งที่มาก ด้วยการหาจุดยืนและจุดขายของบริการ พร้อมทั้งสร้างจุดแข็งไปในตัว

จุดยืนของ OmniVirt

ถึงแม้ว่าคู่แข่งด้านธุรกิจโฆษณาจะมีอยู่เต็มอุตสาหกรรมไปหมด แต่ OmniVirt สร้างจุดยืนด้วยการสร้างโฆษณาแบบ VR เปลี่ยนโฆษณาธรรมดาให้เป็นโฆษณาเสมือนจริง ซึ่งจุดยืนนี้ของพวกเขาช่วยลดจำนวนคู่แข่งแบบเดิมไปได้มาก แถมสร้างโอกาสจากความแตกต่างของบริการด้วย

จุดขายของ OmniVirt

สิ่งที่เป็นจุดขายและทำให้ OmniVirt แตกต่างจากโฆษณาแบบ VR เจ้าอื่นคือ การแสดงผลบนแพลตฟอร์มของลูกค้า โดยทั่วไปแล้วการทำโฆษณาแบบ VR ต้องแสดงผลบนแพลตฟอร์มพิเศษที่รองรับอย่าง YouTube VR หรือต้องใส่อุปกรณ์พิเศษที่สามารถแสดงผล VR ซึ่งจุดนี้เป็นช่องว่างและเป็นโอกาสในการสร้างจุดขายของ OmniVirt ด้วยการสร้างโฆษณา VR ที่สามารถแสดงผลได้ในแพลตฟอร์มของตัวลูกค้าเองอย่างเช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน โดยไม่ต้องแสดงผ่านแพลตฟอร์มอื่น

จุดแข็งของ OmniVirt

เนื่องจากบริการของ OmniVirt เป็น Technology ที่คู่แข่งรายใหญ่สามารถพัฒนาและเข้ามาแข่งขันแย่งลูกค้าได้ ดังนั้น OmniVirt จึงเลือกที่จะสร้างจุดแข็งของตัวเองผ่านการสร้าง Ecosystem อย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (Publisher) ที่ซึ่งกลุ่มธุรกิจนี้ต้องการให้ผู้ชมโฆษณาอยู่ในแพลตฟอร์มหรือเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อขายคอนเทนต์ ซึ่ง Ecosystem กลุ่มนี้กลายมาเป็นจุดแข็งที่ทำให้ OmniVirt แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ที่ต้องลงโฆษณา VR ผ่าน Native App

4. การสร้างทีมให้แข็งแกร่ง
สำหรับ OmniVirt เริ่มต้นสร้างทีมให้แข็งแกร่งตั้งแต่การคัดเลือกคน ด้วยสมการที่คุณ Brad ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกคน คือ 1+1 ต้องมากกว่า 2 หนึ่งแรกก็คือตัวคุณแบดด์เอง บวกอีกหนึ่งคือคนที่เลือกเข้ามา ซึ่ง 2 คนนี้เมื่อรวมกันแล้วต้องสามารถสร้างสิ่งใหม่ที่ไปได้ไกลกว่า แล้วคนต่อๆ มาก็จะอยู่ในรูปแบบสมการแบบนี้ไปเรื่อยๆ

นอกจากคัดเลือกคนเข้าทีมแล้ว คุณ Brad ยังมีวิธีในการบริหารทีมให้แข็งแกร่ง ด้วย 3 แนวคิดดังนี้

1. ทีมต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) เดียวกัน โดยเฉพาะทีมจากประเทศไทย ต้องมีวิสัยทัศน์ในการแสดงศักยภาพของคนไทยให้ก้าวไกลระดับโลก และนอกจากนี้วิสัยทัศน์ที่ทั้งทีมไทยและอเมริกาต้องมีร่วมกัน คือ วิสัยทัศน์ในการสร้างโฆษณาแบบใหม่ที่แตกต่างจากเจ้าอื่นในตลาด เพื่อทำให้ OmniVirt เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

2. ลดช่องว่างระหว่างทีม ด้วยการสร้างประสบการณ์ทำงานร่วมกัน เนื่องจาก OmniVirt มีทีมทั้งที่ไทยและอเมริกา ดังนั้นจึงมีช่องว่างระหว่างทีมทั้งระยะทางและระยะเวลา ซึ่งทางคุณ Brad แก้ไขปัญหาด้วยการส่งพนักงานใหม่จากไทย ไปทำงานร่วมกันกับทีมที่อเมริกา ไปศึกษากระบวนการทำงานตั้งแต่ การคุยกับลูกค้า ไปจนถึงการถ่ายสินค้า จะทำให้ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้และเข้าใจกระบวนการทำงานของทีม และทำให้ทีมแข็งแกร่งมากขึ้น

3. ต้องทำงานแทนแผนกอื่นได้ โดยทีมของ OmniVirt จะถูกฝึกให้สามารถทดแทนซึ่งกันและกัน ทั้งการเสนอไอเดีย และการช่วยทำงานในตำแหน่งอื่น ซึ่งข้อนี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้และเติบโตภายในบริษัท เป็นการสร้างช่องว่างให้สมาชิกในทีมสามารถเติบโตในสายงานอื่นได้

สิ่งที่คุณ Brad Phaisan ฝากไว้ให้กับสตาร์ทอัพไทย
หัวใจของการเติบโตสตาร์ทอัพไทยในต่างประเทศ คือ ต้องเปลี่ยนจากการรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ไปสู่การสร้างเทคโนโลยีเพื่อไปสู้กับต่างประเทศ โดยเริ่มต้นจากการสร้างเทคโนโลยีเพื่อบุกตลาดระดับภูมิภาคก่อน จะเป็นบันไดก้าวแรกที่ทำให้สตาร์ทอัพไทยก้าวไปสู่ระดับสากลได้

ถ้า Smart City เกิดขึ้นจริง ธุรกิจอะไรจะเติบโต

Posted on by admin_beacon_2024

Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงแห่งโลกอนาคต ที่พัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยี ปรับแนวคิดในการพัฒนาเมืองจากการพัฒนาเชิงกายภาพ สู่การพัฒนาศักยภาพชีวิตของคนเมืองด้วยเทคโนโลยี

การพัฒนาเมืองสู่ Smart City นอกจากผู้คนที่ได้รับผลประโยชน์แล้ว ยังมีอีกหลายภาคส่วนที่ได้ประโยชน์ เช่น สิ่งแวดล้อม สภาพสังคม และภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่มีปัจจัยเอื้อต่อการสร้างรายได้ในการพัฒนาครั้งนี้ แต่จะมีธุรกิจไหนได้ประโยชน์บ้างไปดูกัน

 

Smart City คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ

Smart City คือ เมืองที่ออกแบบและพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการจัดการเมือง ทั้งด้านกายภาพและในเชิงโครงสร้าง รวมถึงบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเอื้อต่อการเพิ่มศักยภาพโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คน อีกทั้งยังช่วยลดการใช้งานทรัพยากรที่ไม่จำเป็น ลดมลภาวะทำให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืน

สิ่งที่ทำให้ Smart City น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เนื่องมาจากแนวโน้มการพัฒนาเมืองใหญ่หรือมหานครระดับโลก เริ่มหันมาให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้ดีขึ้น ทั้ง San Francisco, New York และ London นอกจากนี้มูลค่าทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับ Smart City ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากสถิติพบว่ามีการเติบโตถึงปีละ 19% คิดเป็นมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 3.48 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2026

ดังนั้นไม่เพียงแค่ประชาชนเท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์จากความอัจฉริยะของเมือง แต่ภาคธุรกิจเองก็ได้รับโอกาสผ่านการทำธุรกิจเชื่อมโยงกับการพัฒนาเมือง เช่นกัน ซึ่งทำให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับเมืองที่พัฒนาขึ้นนั่นเอง

หัวใจหลักของการพัฒนาเมืองสู่ Smart City

ดังที่กล่าวไปข้างต้น ธุรกิจที่จะเติบโตได้ในยุคที่เมืองธรรมดาเปลี่ยนเป็นเมืองอัจฉริยะ ต้องเป็นธุรกิจที่ตอบสนองต่อแบบแผนหรือหัวใจของการพัฒนาเมืองสู่ Smart City ซึ่งมีปัจจัยหลักดังนี้

  • Healthcare ระบบของเมืองอัจริยะต้องเอื้อต่อสุขภาพของประชาชนภายในเมือง ทั้งในด้านบริการสาธารณสุข และการพัฒนาขีดจำกัดทางการแพทย์ให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
  • Security ความปลอดภัยในที่นี้ เริ่มตั้งแต่ความปลอดภัยในการดำรงชีวิต เช่น ความปลอดภัยบนท้องถนน ไปจนถึงความปลอดภัยทางด้านข้อมูลส่วนบุคคล
  • Engagement เมืองที่อัจฉริยะประชาชนต้องสามารถเข้าถึงทรัพยากรและการใช้งานได้ด้วย และสามารถเชื่อมต่อวิถีชีวิตเข้ากับเทคโนโลยีภายในเมือง ให้เมืองเป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต ให้มีความสะดวกสบายยิ่งขึน
  • Environment สิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืน เมืองอัจฉริยะต้องสามารถควบคุมการใช้พลังงานให้เหมาะสม ลดการใช้พลังงานที่สิ้นเปลื้องและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และหันมาใช้พลังงานสะอาดในการขับเคลื่อนเมือง

 

โอกาสในการเติบโตจาก Smart City

สำหรับโอกาสในการเติบโตจาก Smart City มีผู้ประกอบการหลายรายที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทั้งกลุ่มธุรกิจและ Tech Startup โดยได้รับโอกาสที่แตกต่างกันทั้งพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงและโครงสร้างเมืองที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจ จากการคาดการณ์ผู้ที่ได้รับโอกาสในการเติบโตของ Smart City มีดังนี้

 

ธุรกิจด้านการแพทย์

สุขภาพเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการพัฒนาเมือง โดยธุรกิจทางการแพทย์ที่ได้รับผลประโยชน์จาก Smart City นั้นเป็นธุรกิจที่อำนวยความสะดวกในการรักษาผู้ป่วย จำพวก HealthTech ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษาผู้ป่วย ตั้งแต่การวินิจฉัยตลอดจนการดูแลผู้ป่วย

ธุรกิจด้าน HealthTech มีหลายตัวอย่างที่น่าสนใจ และสอดรับกับการพัฒนาเมือง ทั้งในเรื่องการเข้าถึงระบบการรักษาที่สะดวกของผู้ป่วย และการรักษาที่ออกแบบเพื่อตอบสนองต่อผู้ป่วยในแต่ละรายมากขึ้น (Personalized Medicine) ยกตัวอย่างเช่น Ping An Good Doctor แอปพลิเคชันจากประเทศจีน ที่ช่วยให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ทางไกล และมีระบบจัดยาตามคำสั่งแพทย์พร้อมจัดส่งยาถึงที่พัก เป็นต้น

ตัวอย่างธุรกิจด้านการแพทย์: Babylon Health

Babylon Health เป็น HealthTech สัญชาติอังกฤษ ที่เปลี่ยนการพบแพทย์ให้สะดวกสบายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ด้วยการพัฒนาระบบ Healthcheck ด้วยเทคโนโลยี AI ที่วิเคราะห์ข้อมูลจาก Database ในระดับ Deep Learning ส่งผลให้บริการให้คำปรึกษากับผู้ป่วยด้วย AI นั้นแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านระบบ Chat Bot และสามารถติดตามสุขภาพประจำวัน (Health Tracker) เพื่อดูแลสุขภาพของผู้ป่วยให้ดีตลอดวัน

ด้วยเทคโนโลยีและบริการของ Babylon Health ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการรักษาเบื้องต้น และยังสามารถติดตามสุขภาพให้ผู้ใช้งาน Living Smart and Healthy โดยสิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันว่า Bablylon Health นั้นมีโอกาสพัฒนาใน Smart City คือ แผนพัฒนา (Roadmap) Smart City ของเมืองลอนดอน ที่นายกเทศมนตรีอย่าง Sadiq Khan ให้การสนับสนุนในการพัฒนาเมืองให้อัจฉริยะ ด้วยพื้นฐานระบบ 5G สนับสนุนระบบนิเวศของเทคโนโลยี (Technology Ecosystem) และนวัตกรรม AI ซึ่ง Bablylon Health ก็เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีโอกาสได้รับการสนับสนุนในแผนพัฒนานี้ด้วยเช่นกัน

 

ธุรกิจด้านพลังงานสะอาด

เมื่อเกิด Smart City พลังงานสะอาดกลายเป็นพลังงานหลักที่ขับเคลื่อนเมือง เพื่อลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เมืองและผู้อยู่อาศัยใช้พื้นที่ได้นานยิ่งขึ้น โดยธุรกิจด้านพลังงานสะอาดที่ได้รับประโยชน์ มีตั้งแต่โรงไฟฟ้า ไปจนถึงรถยนต์ไฟฟ้า

โดยธุรกิจประเภทนี้จะสอดคล้องกับการพัฒนาโครงการของรัฐ ที่ริเริ่มการนำ Smart Grid หรือระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจริยะ เชื่อมต่อการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านเทคโนโลยี มาวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้กระแสะไฟฟ้าของประชาชน และจ่ายให้พอดี เพื่อควบคุมการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม

ตัวอย่างธุรกิจด้านพลังงานสะอาด: Iberdrola

Iberdrola เป็นธุรกิจพลังงานสะอาดจากประเทศสเปน ที่ดำเนินธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลม และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประหยัดพลังงานทั้งระบบควบคุมไฟท้องถนนไปจนถึง Smart Grid โดย Iberdrola ลงทุนมากกว่า 600 ล้านยูโร หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เพื่อพัฒนา 40 เมืองในประเทศสเปนให้เป็น Smart City ร่วมกับภาครัฐ ผ่านการปรับระบบการจ่ายไฟแบบ Smart Grid

โดย Iberdrola แตกต่างจากธุรกิจไฟฟ้าประเภทอื่นคือ พวกเขาไม่รอเวลาให้ภาครัฐพัฒนาเมือง แต่เลือกที่จะทุ่มทุนเพื่อนำร่องในการพัฒนา เพื่อผลประโยชน์ในอนาคต ซึ่ง 40 เมืองที่บริษัทลงทุนพัฒนาระบบ Smart Grid ไปนั้น เป็นเมืองแถบชนบททั้งสิ้น หากมองในระยะยาว เมื่อเมืองเหล่านั้นได้รับการสนับสนุนและพัฒนาจากรัฐแล้ว Iberdrola ก็จะกลายเป็นกำลังหลักในการควบคุมระบบจ่ายไฟของทั้ง 40 เมือง

Tech Startup

Smart City หลายแห่งของโลกพัฒนาร่วมกับเทคโนโลยีของภาคเอกชน Tech Startup หลายรายเข้ามามีบทบาทในด้านนี้ โดยเทคโนโลยีที่ถูกใช้งานในหลายเมือง เช่น แอปพลิเคชันหาที่จอดรถ หรือระบบ Smart Analytic ที่แก้ปัญหารถติด เป็นต้น

หากจะยกตัวอย่างธุรกิจด้าน Tech Startup ที่เข้ามามีบทบาทชัดเจนในการพัฒนาเมืองให้อัจฉริยะมากขึ้น ต้องเป็น JustPark แอปเคชันหาที่จอดรถจากประเทศอังกฤษ โดยทำงานร่วมกับระบบ Navigation อย่าง Google Maps และ Waze เพื่อค้นหาที่ว่างให้ผู้ใช้งาน นำเสนอผลแบบ Real-Time เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่จอดรถที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้ประชาชนได้ใช้งานที่จอดทุกคนโดยไม่ต้องเสียเวลาวนรถหาที่จอด

ตัวอย่าง Tech Startup: Liluna

Liluna เป็น Tech Startup จากเมืองไทย ที่ให้บริการแชร์ค่าเดินทางด้วยระบบ Ride Sharing ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหารถติด ประหยัดพลังงานและลดภาวะที่เกิดจากรถยนต์ โดยรูปแบบการให้บริการของ Liluna ตอบสนองต่อการพัฒนาเมืองไปสู่ Smart City ทั้งในด้านการเข้าถึงระบบคมนาคมที่สะดวกขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้อยู่อาศัย และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

สำหรับ Smart City ในประเทศไทย ทาง Liluna เองก็ได้เข้าร่วมโครงการด้าน Smart City จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) และได้ลงนาม MOU ร่วมกับบริษัท Kan Koon ในการพัฒนาเมืองขอนแก่นเพื่อมุ่งไปสู่ Smart City จากทั้งสองโครงการ เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าในอนาคต Liluna จะเป็นกำลังหลักในการพัฒนาเมืองสู่ Smart City อย่างแน่นอน

 

Summary

Smart City เป็นแนวทางการพัฒนาเมืองแห่งอนาคต เมืองที่ออกแบบโดยคำนึงถึงผู้อาศัยและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยี ที่นำ Big Data มาปรับใช้สร้างเมือง และสำหรับภาคธุรกิจ Smart City ถือเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมเมือง ด้วยการหาช่องทางการดำเนินธุรกิจที่สามารถพัฒนาไปพร้อมกับเมืองได้ จะส่งผลให้ธุรกิจสามารถเติบโตอย่างยั่งยืน

Voice Commerce สร้างโอกาสทำกำไรให้ธุรกิจออนไลน์ด้วย Voice search

Posted on by admin_beacon_2024

Voice search เป็นพฤติกรรมใหม่ในการค้นหาของผู้บริโภค เทคโนโลยีมากมายถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองพฤติกรรมนี้ ทั้ง Alexa, Google Assistant และ Apple Siri ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจ E-commerce

E-commerce เป็นธุรกิจที่พึ่งพาพฤติกรรมของผู้บริโภค ตั้งแต่การค้นหาสินค้าไปจนถึงการซื้อสินค้า โดย Voice search จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจประเภทนี้ ซึ่งสร้างโอกาสทางการตลาด และเพิ่มช่องทางการทำกำไรให้กับธุรกิจ จนเกิดการพัฒนาจาก E-commerce สู่ Voice Commerce

 

Voice Commerce เทรนด์ใหม่รับกระแส Voice search

Voice Commerce คือ พัฒนาการของพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้า จากการพิมพ์สู่การสั่งซื้อสินค้าด้วยเสียง ระบบจะประมวลผลและขั้นตอนการสั่งซื้อได้ทันที โดยไม่ต้องคลิกผ่านหน้าเว็บไซต์ ซึ่งมีข้อได้เปรียบมากกว่าพฤติกรรมการสั่งซื้อแบบเดิม ทั้งในด้าน Keyword การค้นหาสินค้า และประสบการณ์ซื้อสินค้าที่ดีมากกว่า โดย Voice Commerce ทำงานผ่าน 3 ขั้นตอนดังนี้

  1. เริ่มต้นใช้งานคำสั่งเสียงผ่านอุปกรณ์ที่รองรับ Voice Search เช่น สมาร์ทโฟน Amazon Echo, Google Home, Apple Home Pod
  2. คำที่ใช้ต้องเป็นประโยคคำสั่ง หรือ มี Keyword สำคัญในประโยค เช่น คำว่า “ค้นหา”, “สั่งซื้อ” หรือ”ใกล้ฉัน” เป็นต้น
  3. ใช้โทนเสียง หรือน้ำเสียงที่เหมือนกันทุกครั้งในการใช้งาน เพื่อให้ระบบจดจำเสียงของเราและป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นเข้าสู่ระบบได้

ในปัจจุบันกระแส Voice Commerce เติบโตขึ้นพร้อมกับอุปกรณ์ Voice Assistant ซึ่ง Juniper Research ได้เปิดเผยการคาดการณ์ว่าในปี 2023 จำนวนการใช้งาน Voice Assistant จะสูงถึง 8,000 ล้านครั้งต่อปี ซึ่งสอดรับกับข้อมูลยอดขายอุปกรณ์ Voice Assistant ของประเทศไทยที่เติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 2017 จนในปัจจุบันมียอดขายมากกว่า 66 ล้านตัว และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ล่าสุดอุปกรณ์ Voice Assistant ชื่อดังอย่าง Google Home ได้ร่วมกับ Walmart เปิดบริการสั่งซื้อสินค้าด้วยเสียงผ่าน Google assistant โดยผู้ประกอบการทั้งสองรายได้พัฒนาการซื้อสินค้าไปอีกระดับ ด้วยการนำเทคโนโลยี AI ร่วมกับการรวบรวมฐานข้อมูลจำนวนมาก (Big Data) เพื่อสร้างระบบจดจำพฤติกรรมการซื้อลูกค้า เช่น ปริมาณการซื้อหรือยี่ห้อสินค้า ที่ผู้บริโภคมักซื้ออยู่ประจำ เป็นต้น ทำให้การจับจ่ายใช้สอยสะดวกมากยิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค

ประโยชน์และโอกาสของธุรกิจ Voice Commerce จาก Voice search

 

หัวใจหลักของธุรกิจ Voice Commerce คือ เทคโนโลยี Voice search ที่ทำให้เกิดโอกาสในการขายสินค้ามากขึ้น ทั้งในด้านการสั่งซื้อสินค้า ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็ว ลดขั้นตอนการค้นหา สร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าที่ออกแบบเฉพาะบุคคล (Personalizing buying experiences) ด้วยระบบจดจำเสียงและลักษณะการซื้อสินค้า

นอกจากนี้ Voice search ยังส่งผลดีต่อการทำการตลาดแบบ Inbound Marketing โดยช่วยเสริมเรื่อง SEO ให้กับเว็บไซต์ ทำให้ Keyword ถูกค้นหาง่ายมากยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสในทั้งในด้านการทำตลาดและการปิดการขายภายในเว็บ

สรุปประโยชน์ของธุรกิจ Voice Commerce

  • สร้าง Brand Loyalty ผ่านการสร้างประสบการ์ณซื้อส่วนบุคคล (Personalizing buying experiences) ที่ระบบสามารถจดจำลูกค้าได้ ส่งผลให้เกิดความประทับใจในการซื้อสินค้า
  • ทำให้การซื้อขายง่ายขึ้น ผ่านความสะดวก รวดเร็วในการให้บริการ ทำให้ลูกค้าสบาย ลดขั้นตอนการซื้อที่ยุ่งยากให้ง่ายด้วยการพูดสิ่งที่ต้องการ
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสต๊อกสินค้า จากการพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้า ทั้งการเลือกใช้คำ (Keyword) และประเภทสินค้าที่ลูกค้าซื้อบ่อย ทำให้สามารถจัดสต๊อกสินค้าเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มที่ใช้ Voice search ได้พอเหมาะและมีประสิทธิภาพ
  • เพิ่มยอดขาย ลดขั้นตอนและระยะเวลาการสั่งซื้อ โดยข้อนี้พิสูจน์มาแล้วจาก Domino’s Pizza ที่เพิ่มฟังก์ชั่นการสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งผลตอบรับคือยอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 5 แสนออเดอร์

 

ธุรกิจ Voice Commerce ต้องทำอะไรบ้างเพื่อรองรับ Voice search

Voice commerce ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง แต่ต้องผ่านการพัฒนาระบบและรูปแบบการใช้งานให้รองรับ Voice search โดยสิ่งที่ธุรกิจต้องปรับตัวมีดังนี้

  • เพิ่มอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานด้วยคำสั่งเสียง เช่น Amazon Echo หรือ Google Home เป็นต้น
  • เปลี่ยน Keyword จากภาษาเขียนเป็นภาษาพูดหรือ ปรับให้เป็นประโยคสนทนามากขึ้น ทั้งเนื้อหาเว็บไซต์และภาษาที่ใช้ในบทความ
  • ปรับความเร็วของเว็บไซต์ (Page Speed) ให้รองรับพฤติกรรมการค้นหาที่รวดเร็วของ Voice search เพื่อลดปัญหาการรอคอยของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพในด้าน SEO
  • ในกรณีที่มีเว็บไซต์ของตัวเอง ควรพัฒนาฟีเจอร์เว็บไซต์ให้รองรับคำสั่งเสียง

ตัวอย่างการใช้งาน Voice Commerce กรณีศึกษา 7-Eleven

สำหรับตัวอย่างการใช้งาน Voice Commerce ในครั้งนี้เป็นการเชื่อมต่อระหว่าง E-Commerce จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ โดยไม่ต้องมีแพลตฟอร์มเว็บไซต์ ซึ่งธุรกิจที่สามารถทำได้คือ 7-Eleven

7-Eleven ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เปลี่ยนโฉมการซื้อสินค้าแบบใหม่ ด้วยการเปิดรับคำสั่งสินค้าด้วยเสียงผ่านระบบที่ชื่อว่า 7 Voice เฉพาะ Amazon Alexa และ Google Home เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน 7 Now และสมัครสมาชิก ก็สามารถสั่งสินค้าด้วยเสียงได้แล้ว โดยระบบจะจดจำที่อยู่ของผู้สั่งและสามารถติดตามสถานะสินค้าแบบเรียลไทม์อีกด้วย

ถึงแม้ว่ายังไม่มีสถิติรองรับเกี่ยวกับการเพิ่มบริการ Voice Commerce ของ 7-Eleven ว่าสามารถทำกำไรหรือเพิ่มรายได้มากขึ้นเท่าไร แต่อย่างน้อยการปรับมาใช้ Voice Commerce ก่อนเจ้าอื่น ก็ทำให้ 7-Eleven สามารถดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤติโควิด-19 ได้โดยแทบไม่ต้องปรับตัวเลย

 

Summary

Voice search เป็นอีกหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีที่ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปรับตัว และถือเป็นการสร้างโอกาสในการทำกำไรผ่านพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ผ่านการเปลี่ยนรูปแบบจาก E-commerce สู่ Voice Commerce ที่ตอบสนองพฤติกรรมและอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพียงแต่ธุรกิจต้องพัฒนาทั้งในด้านการทำการตลาดและแพลตฟอร์ม ให้รองรับกับโอกาสเข้ามาจากพฤติกรรมผู้บริโภคเท่านั้นเอง